วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

การปฐมพยาบาลกีฬาเซปักตะกร้อ (GE การออกกำลังกาย)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกีฬาเซปักตะกร้อ
หลักการฝึกสอนกีฬา  ตอนที่ 25 (การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บในกีฬาตะกร้อ)
การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับนักกีฬาเซปักตะกร้อ
    1. ตะคริว (Cramp)
    แนวการรักษา หยุดพักทันที จากนั้นเหยียดและยืดกล้ามเนื้อมัดนั้น ให้เต็มที่ประมาณ 5-10 นาที เมื่ออาการกล้ามเนื้อคลายการเกร็งตัวแล้ว จึงนวดต่อด้วยนํ้ามันนวดด้วยอุ้งมือเบา ๆ ห้ามจับหรือขยำ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งเกิดตะคริวได้อีกหลังจากนั้นให้บริหารกล้ามเนื้อมัด นั้นเป็นพิเศษ เข่น นักกีฬาเกิดตะคริวที่น่องขณะเล่นกีฬา ให้นักกีฬาพักทันที ถอดรองเท้า ถุงเท้าออก ให้หมด นั่งหรือนอนราบให้เข่าอยู่ในท่าเหยียดตรง จากนั้นเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ มัดนั้นให้เต็มที่ ประมาณ 5-10 นาที เมื่ออาการกล้ามเนื้อคลายการเกร็งตัวแล้ว อาการปวดลดลงให้นอนควํ่าทา นํ้ามันนวดด้วยอุ้งมือเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้มาหล่อเลียงกล้ามเนื้อมัดนั้นมากขึ้น
    2. กล้ามเนื้อบวม (Muscle Swelling)
    แนวการรักษา เมื่อมีอาการระยะแรก ให้หยุดออกกำลังกายทันที พักผ่อนโดยวางอวัยวะที่ปวดในแนวราบไม่ยกสูงเหนือระดับหัวใจ และไม่พันผ้ายืดเพื่อหวังลดบวม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรต้องส่งแพทย์เพื่อพิจารณารักษาต่อไป ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัด เพื่อเปิดข่องเยื่อบุกล้ามเนื้อเพื่อระบายความตันภายในซ่องให้ลดลงโดยเร็ว
    3. กล้ามเนื้อซํ้า (Contusion)
    แนวการรักษา เมื่อได้รับการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อจากการกระทบกระแทกให้หยุดพักทันที พร้อมกับประคบนํ้าแข็งประมาณ 10 - 15 นาที เพือปัองกันไม่ให้เลือดออกหรือออกน้อยที่สุด  จากนั้นใช้ผ้ายืดพันทับกล้ามเนื้อมัดนั้น เพื่อจะได้มีแรงกดและหยุดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดนั้น หลังจากนั้น 1 - 2 วัน ให้ประคบร้อนหรือนวดด้วยนํ้ามันที่ร้อนเบา ๆ เพื่อให้เลือดที่ออกกระจายตัว และถูกดูดซึมกลับไปในที่สุด จะได้ไม่มีการยืดติดด้วยพังผืดที่เกิดจะทำให้ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ เสียไป
    4. กล้ามเนื้อฉีกขาด (Rupture, strain)
    แนวการรักษา เมื่อนักกีฬากล้ามเนื้อฉีกขาด ให้นักกีฬาหยุดเล่นกีฬาทันทีพักประคบด้วย นั้าแข็ง 15 - 20 นาที พัก 5 นาที สลับกันไปเรื่อย ๆ จนอาการบวมไม่เพิ่มขึ้น และใช้ผ้ายืดรัดให้เกิด แรงกดบริเวณนั้น ต้องระวังไมให้แน่นจนเกินไปและให้ยกส่วนปลายสูงขึ้น เพื่อไห้เลือดไหลกลับสู่หัวใจ ได้สะดวก เป็นการลดอาการบวมด้วย หลังจาก 1 - 2 วัน ให้ประคบด้วยความร้อน เพื่อให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว จะได้ดูดซับเอาเลือดที่ออกกลับไป เมื่อเริ่มมีกล้ามเนื้อฉีกขาดควรตรวจดู โดยเร็ว โดยการคลำเพื่อดูระดับการฉีกขาด ถ้าเป็นระดับที่ 1 ประมาณ 3 วันจะหาย ถ้าเป็นระดับที่ 2 หลังจากการปฐมพยาบาลแล้วต้องทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดนั้นอยู่นิ่ง ๆ เพื่อให้การหายมีแผลเป็นหรือ พังผืดจับบริเวณที่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อน้อยที่สุด โดยการตรึงด้วยแถบพลาสเตอร์ (เผือกอ่อน) 3 สัปดาห์ ก็จะหายเป็นปกติ ถ้ามีการเคลื่อนไหวจะทำให้มีแผลเป็นใหญ่และพังผืดเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อจะลดลงไป ถ้าตรวจโดยใช้นิ้วมือคลำพบร่องบุ๋มใหญ่ พบว่าเป็นระยะที่ 3 ต้องพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าดัดเย็บต่อกล้ามเนื้อและเช้าฟ้อกในท่าที่กล้ามเนื้อนั้นอยู่ในท่าพัก
    5. ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Sprain)
    ระดับที่ 1 ฉีกขาดเอ็นเล็กน้อยหรือมีการยืดของเอ็นที่บริเวณข้อต่อนั้น บริเวณที่ฉีกขาดจะ ไม่บวมหรือมีการบวมเล็กน้อย อยู่เฉย ๆ จะไม่เจ็บ มีอาการเสียวหรือปวดที่ช้อต่อนั้นน้อยมากและเดิน ไม่กะเผลก
    แนวการรักษาระดับที่ 1 ให้พักข้อต่อนั้นโดยยกให้สูงและประคบเย็นทันที ประมาณ 5 - 10 นาที โดย'ใช้ผ้าซุบนํ้าเย็นหรือนั้าแข็ง, ทุบละเอียดที่บรรจุในกระเป๋ายาง ถุงพลาสติก หรือห่อผ้า และพัน ผ้ายืดไว้ประมาณไม่เกิน 3 วัน จะหายเป็นปกติ
    ระดับที่ 2 จะมีความรู้สึกเจ็บปวด มีอาการเสียวที่ข้อต่อนั้นเล็กน้อย เดินกระเผลก ไม่สามารถยืนเขย่งปลายเท้าได้
    แนวการรักษา สิ่งที่ด้องทำทันที คือ การพักและยกข้อต่อนั้นให้สูงไว้ จากนั้นประคบนั้า เย็นทันทีติดต่อกันประมาณ 5-10 นาที พัก 2 - 3 นาที ระหว่างพักควรเฝ้าดูอาการบวมบริเวณนั้น ถ้ามีอาการบวมคงที่ไม่เพิ่มขึ้นจากนั้นให้พันข้อต่อนั้นด้วยพลาลเตอร์หลาย ๆ ชั้น หรือเรียกว่า เผือกอ่อน เพื่อยืดตรึง หรือล็อคข้อต่อนั้นไว้ เพื่อให้เอ็นประสานกันและติดกันสนิทจากนั้นพันด้วยผ้ายืด ประมาณ 3 สัปดาห์ โดยเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุก 1 สัปดาห์ เมื่อครบ 3 สัปดาห์ เอาเผือกอ่อนออกแล้ว ค่อย ๆ บริหารข้อต่อนั้นโดยการเกร็งขยับฝืนแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนไหว เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มั่นคงหายเป็นปกติ
    ระดับที่ 3 มักจะมีการฉีกขาดของเยื่อบุข้อร่วมด้วยเสมอ ทำให้มีเลือดคั่งในข้อ หรือซึมอยู่ใต้ผิวหนัง ข้อเท้าหรือเข่าจะบวมทั้งข้อ
    แนวการรักษา การรักษาและป้องกันระยะแรกปฏิบัติเหมือนระดับที่ 2 ใส่เผือกปูนพลาสเตอร์อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ เมื่อครบ 4-6 สัปดาห์ ให้ถอดเผือกออกและให้พันผ้า หรือสวมสนับข้อเท้าหรือข้อเข่า เพื่อช่วยพยุงต่อไปอีกระยะหนี่งจนกว่าจะใข้ข้อต่อนั้นไต้ตามปกติ จากนั้นเคลื่อนไหวและบริหารต่อเพื่อให้ข้อแข็งแรงสามารถกลับมาเล่นกีฬาไต้ตามปกติ
    6. เอ็นฉีกขาด (Tendon Rupture)
    แนวการรักษา ถ้าไม่สามารถหายได้เองใน 3 วัน แสดงว่า มีการฉีกขาดเป็นบางส่วน ต้องยึดตรึงให้อยู่นิ่ง ๆ โดยใช้เผือกปูนหรือเผือกอ่อน (ติดแถบผ้ากาว) นาน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าฉีกขาดโดยสมบูรณ์หรือ เกือบสมบูรณ์ (50 - 100 %) ต้องรักษาโดยการผ่าตัดต่อเอ็น แล้วใส่เผือกปูนไว้ 3 - 6 สัปดาห์ จากนั้นจึงบริหารเพื่อพื้นฟูกล้ามเนื้อ และเอ็นที่ไต้รับบาดเจ็บให้แข็งแรงก่อน จึงกลับไปเล่นกีฬา ตามปกติ
    7. ข้อเคลื่อน - หลุด (Subluxation, Dislocation)
    แนวการรักษา สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่ง ๆ ในท่าที่เป็นอยู่อาจจะใข้มืออีกข้างช่วยประคองในกรณีที่เป็นข้อไหล่หรือข้อศอก จากนั้นประคบด้วยนํ้าแข็งเพื่อให้เลือดออกน้อยที่สุดแล้ว รีบส่งพบแพทย์รักษาทันที ผู้ที่มิใช่แพทย์ไม่ควรดึงเข้าที่เองเพราะอาจทำให้กระดูกหักได้
    8. กระดูกหัก (Fracture)
    แนวการรักษา สิ่งแรกสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ให้ส่วนของกระดูกที่หักเคลื่อนไหว เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื้อใกล้เคียงทำให้เป็นอันตรายมากขึ้น หรือบางครั้งอาจทำให้ส่วนปลายของกระดูกที่หักทิ่มออกมาภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุ่งยากอย่างมากต่อการรักษาเพราะต้องการผ่าดัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นหนองในกระดูก  ซึ่งการปฐมพยาบาลกระดูกหักมี ดังนี้
    1. ต้องให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
    2. ถ้ามีอาการตกเลือดหรือเลือดออกต้องทำการห้ามเลือดต้วยวิธีการที่เหมาะสม
    3. ถ้าจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าให้วิธีตัดทิ้ง อย่าให้ผู้บาดเจ็บพลิกตัวไปมา
    4. การจับต้องหรือตรวจดูบริเวณที่กระดูกเกิดการหักและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องทำด้วย ความระมัดระวัง
    5. การรักษาต้องอยู่ในความดูแลโดยแพทย์ผู้ชำนาญทางด้านกระดูก

http://www.intapro.org/การปฐมพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น