บทที่
1
บทนำ
“บ้านเรือนไทย”คนไทยเป็นชนชาติที่มีแบบการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นเฉพาะของตนเองเรียก
“เรือนไทย” บ้านที่อยู่อาศัยของคนไทยจะสร้างขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ
ดินฟ้าอากาศ สภาพเศรษฐกิจสังคม ความเชื่อในแต่ละภาคแต่ละชุมชน
ตลอดจนใช้วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น
แม้ในปัจจุบันการปลูกเรือนไทยอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากไม้อันเป็นวัสดุหลักหาได้ยากมากขึ้นแค่แบบของเรือนไทยก็ยังคงความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค
ดังนั้นสถาปนิกนักออกแบบที่เป็นนักอนุรักษ์นิยมที่เห็นคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไทยจึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง
“สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์” เพื่ออนุรักษ์แบบเรือนไทยไว้คงอยู่ตลอดไป “การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมประเพณีไทยถือเป็นหน้าที่ของคนไทย” (สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 27 พฤษภาคม
2548:ไม่มีเลขหน้า)
สถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย
ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน"
หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด
แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป
แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้วชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน
ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามบ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้าเท่านั้นแต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา
มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการบ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่งบ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลางที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง
มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ
ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้
ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ
ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอยและแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัยเป็นแบบบ้านที่สวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ้านไทยจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน
บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วมคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน
ทำนา ทำไร่ ทำประมง
แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิตที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร
แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม
ลักษณะของสถาปัตยกรรม “เรือนไทย” จะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นภูมิปัญญา
คติความเชื่อพื้นฐาน
และประโยชน์ใช้สอยของแต่ละชุมชนเราจึงจัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน “เรือนไทย” ได้เป็น 4 ภาค คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ละภาคจะมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างกันไปตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือน รูปทรงของตัวเรือน (มโนรา,
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2552 : ไม่มีเลขหน้า)
ความหมายของเรือนไทย
เรือนไทย คือ
บ้านทรงไทย
มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคโดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย
ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อ และศาสนาในแต่ละภูมิภาค
โดยหลักๆจะแบ่งเป็นเรือนไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้
เรือนไทย
สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่
เรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องก่อ ในที่นี้เราจะอนุมานถึง “เรือนไทยเครื่องสับ” เนื่องจากเป็นเรือนไทยที่ได้รับความน้อยสูงสุดโดยมากใช้เป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย
ตั้งแต่สามัญชนคนธรรมดาตลอดจนถึงผู้ที่มีฐานานุศักดิ์ชั้นสูงในสังคม
เรือนไทยเครื่องสับ
ทำด้วยไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่นนั้นๆ
มักสร้างด้วยวิธีประกอบสำเร็จรูปทั้งในเรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องผูก
สามารถรื้อถอน ขนย้ายไปปลูกสร้างที่อื่นได้ มีหลังคาทรงสูง
ทรงสูงจะทำให้การระบายน้ำออกจากหลังคารวดเร็วและช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคาอีกด้วย
เมื่อสังเกตที่ชายหลังคาจะเห็นว่ามีกันสาดยาวตลอดเพื่อป้องกันแสงแดด
จะมียอดแหลมเรียกว่า “เหงา” เนื่องจากความเชื่อในสมัยก่อนที่ชาวบ้านนิยมนำเขาสัตว์มาแขวนบริเวณเชิงหลังคาเพื่อป้องกันและขับไล่
ภูตผี ปีสาจ และวิญญาณชั่วร้ายไม่เข้ามาทำร้ายคนในบ้าน
พื้นที่โล่งใต้เรือนไทยเรียกว่า
“ใต้ถุน” โดยแต่เดิมบริเวณใต้ถุนบ้านจะถูกปล่อยไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่อาจเป็นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์การกสิกรรม
หรือเป็นที่ทำหัตถกรรมนอกฤดูเก็บเกี่ยว แต่โดยมากมักจะถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์
ทั้งนี้การเลือกบริเวณที่อยู่อาศัยให้มีน้ำท่วมถึง ร้ายที่อาจมากับน้า เช่น งู
ตะขาบ ได้อีกด้วย
เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนขยายคือจะมีการขยายโครงสร้างเรือนไทยใหม่ที่อยู่ในบริเวณเรือนเก่าโดยเชื่อมต่อโดยใช้
“นอกชาน” เชื่อมเรือนไทยแต่ละเรือนไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น
เมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่ก็จะสร้างเรือนใหม่ไว้ใกล้เรือนเก่าของพ่อแม่โดยจะรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน
การยึดเรือนใหม่ไว้ด้วยกันจะไม่ใช้ตะปูแต่จะใช้เทคนิคการเข้าเดือยไม้
ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของเรือนไทยเครื่องสับ (enjoy, 2009 : ไม่มีเลขหน้า)
สภาพแวดล้อมในการตั้งถิ่นฐาน
1. ภาคเหนือ
นับตั้งแต่บริเวณเหนือเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตาก
เพชรบูรณ์ ขึ้นไป เป็นเขตที่ภูมิประเทศเปลี่ยนเป็นบริเวณที่มีภูเขาทอดกันลงมาคล้ายกับนิ้วมือที่แผ่อยู่บนฝ่ามือในลักษณะจากเหนือลงใต้และช่องว่างระหว่างเชิงเขาหรือระหว่างนิ้วมือนั้นคือบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขาที่มีลำน้ำไหลผ่านอาจแบ่งบริเวณหุบเขาใหญ่ๆ
ออกได้ตามลำน้ำสำคัญๆ โดยเริ่มทางด้านตะวันตกไปตะวันออกได้แก่
บริเวณลุ่มน้ำปิงที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ลุ่มน้ำวังในเขตจังหวัดลำปาง ลุ่มน้ำยมในเขตจังหวัดแพร่
และลุ่มน้ำน่านในเขตจังหวัดน่าน
ถัดมาทางด้านตะวันออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำของลำน้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำโขง
ได้แก่ที่ราบลุ่มน้ำแม่ลาว แม่กก และแม่วัง
ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบริเวณที่เป็นภาคเหนือทั้งหมด
มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยที่ราบลุ่มตามหุบเขา
และบริเวณภูเขาที่เป็นที่สูงบริเวณหุบเขาเป็นที่ราบลุ่มมีลำน้ำไหลผ่าน
เป็นที่เหมาะแก่การกสิกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าวส่วนบริเวณที่สูงภูเขานั้นมีป่าไม้และพันธุ์ไม้ใหญ่
นานาชนิดขึ้นปกคลุม
โดยเฉพาะไม้สักซึ่งเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของภูมิภาค
การตั้งหลักแหล่งชุมชนของผู้คนในภาคเหนือนี้ มีทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
และสมัยหลังๆ ลงมาในยุคประวัติศาสตร์
ปัจจุบันนักโบราณคดีสำรวจและขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว
มีผู้คนอาศัยอยู่ตามถ้ำใกล้ธารน้ำตามภูเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ผู้คนเหล่า นี้นอกจากหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บผลหมากรากไม้ของป่า
และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ ยังน่าจะรู้จักทำการเพาะปลูกพอสมควร
มีความรู้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างหยาบๆ ขึ้นมาใช้ และในสมัยหลังๆ
ลงมาก็รู้จักใช้ต้นไม้มาขุดทำเป็นที่บรรจุศพคนตายไว้ตามถ้ำต่างๆ
แต่ว่าเครื่องมือส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นหินกะเทาะแบบหยาบๆ
สมัยต่อมาในยุคที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือหินขัด และตามมาด้วยยุคโลหะ
พบโบราณวัตถุตามเนินเขาและที่ราบลุ่มบ้างเล็กน้อย
ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนในยุคนี้ผ่านเข้ามา
แต่คงยังไม่มีการตั้งหลักแหล่งเป็นบ้านเมืองใหญ่โตกันเท่าใด
เพราะไม่พบหลักฐานอะไรมากไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม อาจกล่าว
ได้ว่ากลุ่มชนในภาคเหนือนั้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขาและที่สูงสืบเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ เกิดเป็นเผ่าพันธุ์หลายหมู่เหล่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 ก็มีผู้คนจากบริเวณอื่นที่อาจจะเคลื่อนย้ายมาจากบริเวณภาคกลางและบริเวณที่ราบลุ่มทางแม่น้ำโขงด้านตะวันออกและด้านเหนือ
เข้ามาตั้งหลักแหล่งและผสมผสานกับกลุ่มชนบางเผ่าบางเหล่าที่เคลื่อนย้ายลงมาจากภูเขาและที่สูง
มีการจัดตั้งบ้านเมืองขึ้นในที่ราบลุ่ม(พิสิฐ เจริญวงศ์ ,
2525 : 105-107)
ชุมชนในภาคเหนือส่วนใหญ่ตั้งเป็นกระจุกเล็กๆ กระจายกันอยู่ตามริมลำน้ำ
โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางแต่ละแห่งไม่มีขนาดใหญ่เหมือนกับทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
แต่ มักกระจายอยู่ตามพื้นที่ซึ่งเหมาะสม
โดยทั่วไปแล้วในแต่ละหุบเขาหรือท้องถิ่นใหญ่ๆ ที่มีหลายชุมชนอยู่รวมกัน
มักจะสร้างวัดหรือสถูปเจดีย์ขึ้นตามไหล่เขาหรือบนเขามองเห็นแต่ไกล
เพื่อเป็นที่ผู้คนที่อยู่ต่างชุมชนกันมากราบไหว้ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
รวมทั้งมีงานประเพณีรื่นเริงกันเมื่อถึงเทศกาล
การสร้างวัดหรือพระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นดังกล่าวนี้เป็นประเพณีที่มีมาแล้วแต่โบราณ
จึงมักพบซากวัดร้าง หรือพระสถูปเจดีย์ร้างบนภูเขาบน ดอยอยู่ทั่วไป
ยิ่งกว่านั้นผู้ครองบ้านเมืองในอดีต ยังได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นตามภูเขาหรือดอยที่เป็นประธานของบ้านเมือง
พระมหาธาตุเจดีย์เหล่านี้
เป็นส่วนมากทีเดียวที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญของบ้านเมืองสืบมาจนทุกวันนี้
อย่างเช่น ที่เมืองพะเยามีพระธาตุจอมทองเมืองแพร่มีพระธาตุช่อแฮ
และเมืองน่านมีพระธาตุแช่แห้ง เป็นต้น(ศรีศักรวัลลิโภดม,
2534 : ไม่มีเลขหน้า)
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ภาคอีสาน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในบริเวณที่ราบสูง
ซึ่งเป็นบริเวณภายในที่ไม่มีทางติดต่อกับทะเล มีแต่เทือกเขาล้อมรอบ
และมีสภาพคล้ายแอ่งกระทะที่เทลาดจากที่สูงทางตะวันตกลงสู่ที่ลุ่มต่ำทางด้านตะวันออกที่มีแม่น้ำโขงเป็นขอบเขต
ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพระยาเย็นกั้นออกจากที่ราบลุ่มเขมรต่ำ
ส่วนทางด้านตะวันออกแม้ว่าจะมีลำแม่น้ำโขงกั้นเขตออกจากประเทศลาว
ก็มีทิวเขาภูพานกั้นเป็นขอบชั้นในตัดออกจากบริเวณจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์และสกลนครไปยังอุดรธานี
ทำให้บริเวณที่ราบสูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็น 2 แอ่งใหญ่ คือ แอ่งสกลนครทางเหนือมีลำน้ำสายเล็กหลายสาย เช่น แม่น้ำสงคราม
และแม่น้ำก่ำไหลผ่านไปออกแม่น้ำโขง ส่วนอีกแอ่งหนึ่งคือ แอ่งโคราชอยู่ทางใต้
มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีตลอดจนลำน้ำที่เป็นสาขาอีกหลายสายหล่อเลี้ยง
ในด้านภูมิอากาศทั้งแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชไม่มีอะไรแตกต่างกัน
แต่ในด้านภูมิประเทศแอ่งสกลนครมีพื้นที่น้อยกว่าแอ่งโคราช
ประกอบด้วยพื้นที่ราบเชิงภูเขาภูพานและบริเวณที่ราบลุ่มต่ำที่อยู่ใกล้มาทางแม่น้ำโขง
บริเวณที่ลุ่มดังกล่าวนี้ ในฤดูน้ำแม่น้ำโขงไหลทะลักเข้ามาท่วม
ทำให้การเพาะปลูกและการตั้งหลักแหล่งชุมชนของมนุษย์ไม่ดีเท่ากับบริเวณที่ราบเชิงเขาภูพานซึ่งอยู่ทางตอนใต้แอ่งสกลนครนี้นักโบราณคดีพบหลักฐานว่าเป็นบริเวณที่มีชุมชนมนุษย์
เป็นหมู่บ้านมาแล้วแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างน้อยก็มีอายุราว 5,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณที่ราบเชิงเขาภูพานที่มีลำน้ำสงครามและสาขาไหลผ่าน
ต่อมาประมาณ 3,000
กว่าปีที่แล้วมาชุมชนเหล่านี้ก็มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถหล่อสำริดขึ้นเป็นเครื่องมือ
เครื่องประดับและอาวุธ
นอกจากนั้นยังมีประเพณีฝังศพที่ใช้ภาชนะเขียนสีเป็นเครื่องเซ่นผู้ตาย
ชุมชนมนุษย์ที่กล่าวมานี้รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นพวกวัฒนธรรมบ้านเชียง
ตามชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบันแห่งหนึ่งในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
อันเป็นแหล่งที่พบชุมชนโบราณและแหล่งฝังศพของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
(กรมศิลปากร และ สุจิตต์ วงษ์เทศ,2530 : ไม่มีเลขหน้า)
เมื่อเปรียบเทียบการตั้งหลักแหล่งชุมชนบ้านเมืองระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว
อาจกล่าวได้ว่า
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความพยายามที่จะดัดแปลงและควบคุมสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยอาศัยเทคโนโลยีมากกว่าทางภาคกลาง
ทั้งนี้ก็เพราะ ต้องต่อสู้กับความขาดแคลนในเรื่องน้ำในฤดูแล้งเป็นสำคัญ
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของภูมิ ภาคนี้ตั้งแต่สมัยปลายยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนทุกวันนี้
คือการที่จะต้องจัดการกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคตลอดมา การขุดคูน้ำล้อมรอบชุมชน
และบ้านเมืองตั้งแต่สมัยปลายยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยทวาราวดี
นั้นเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามดังกล่าว
และความพยายามดังกล่าวนี้ก็หาได้หยุดนิ่งไม่
หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและค้นหาวิธีใหม่ตลอดมา ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าสู่สมัยลพบุรีราวพุทธศตวรรษที่
16 เป็นต้นมา ลักษณะชุมชนบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เปลี่ยนแปลงไป
มีอิทธิพลของอารยธรรมและวัฒนธรรมขอมเข้ามาปะปนในขณะเดียวกันก็เกิดชุมชนใหม่ๆ
ขึ้นตามบริเวณที่สูง ซึ่งในสมัยก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมี
สิ่งที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัฒนธรรมขอมจากกัมพูชาก็คือเกิดประเพณีการสร้างปราสาท
อันเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นอย่างแพร่หลายการสร้างปราสาทนั้นโดยทั่วไปมุ่งหวังให้
เป็นศูนย์กลางของชุมชน
ซึ่งก็มีทั้งระดับบ้านและเมือง
เมื่อมีการสร้างปราสาทแล้วก็มีการขุดสระน้ำศักดิ์สิทธิ์และอ่างเก็บน้ำที่เรียกว่า
สระบัวรายหรือบารายขึ้น โดยเฉพาะการขุดสระบารายนี้เองที่มีความหมายต่อการอุปโภคและบริโภคน้ำของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก
และการที่สระน้ำดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับศาสนสถานก็ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ด้วย
ความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้คนนำสัตว์เลี้ยง เช่น วัวและควาย
ลงไปอาบน้ำทำให้สกปรก ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคระบาดได้
พัฒนาการชุมชนแบบใหม่ที่มีศาสนสถานและ สระน้ำดังกล่าวนี้แพร่หลายไปทั่ว
แม้กระทั่งบริเวณที่เคยเป็นเมืองมาแล้วแต่สมัยทวาราวดีก็ยังมีการสร้างและขุดสระทับลงไป
อาจกล่าวได้ว่าการขุดสระน้ำหรืออ่างเก็บน้ำที่เรียกว่าบารายนี้ได้ตอบสนองความต้องการน้ำในฤดูแล้งของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ
ที่เคยมีมาแล้ว
นอกจากนั้นยังเป็นการรวบรวมผู้คนให้อยู่ในสังคมที่มีระบบและระเบียบดีกว่าแต่ก่อนนั่นก็คือความสัมพันธ์กับศาสนสถานอันเป็นสิ่งที่กษัตริย์
ชุมชน หรือผู้มีอำนาจในการปกครองสร้างขึ้น (ธิดา สาระยา, 2532: ไม่มีเลขหน้า)
การสร้างเมืองในสมัยทวาราวดีที่นิยมสร้างอยู่บนที่สูงริมบริเวณที่ลุ่มต่ำที่เป็นหนองน้ำธรรมชาติ
มีตัวอย่างเช่น เมืองโบราณที่อยู่ริมหนองหาน กุมภวาปี
เมืองหนองหานน้อยจังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานหลวงที่จังหวัดสกลนคร
และเมืองกันทรวิชัย ที่อำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น
ลักษณะชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น
เมื่อเปรียบเทียบกับทางภาคกลางแล้วจะต่างกันมาก
นั่นคือทางภาคกลางชุมชนบ้านและเมืองเรียงรายกันอยู่ตามริมแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่แต่ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มักกระจายกันอยู่บนโคกเนินที่สูงที่แวดล้อมไปด้วยที่ลุ่มต่ำที่ใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกและที่เก็บน้ำ
โดยเหตุนี้รูปแบบชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีลักษณะเป็นกระจุกรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น
3. ภาคกลาง
บริเวณที่จัดว่าอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยนั้นคือที่ราบลุ่มของลำน้ำปิง
ยม น่าน ตอนล่าง ซึ่งอยู่ในจังหวัดตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร
สุโขทัย และกำแพงเพชร ลงมาถึง
แม่น้ำเจ้าพระยานับตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์มาจนถึงอ่าวไทย
โดยมีจังหวัดเพชรบุรีเป็นฐานทางด้าน ตะวันตก และจังหวัดชลบุรี
ทางตะวันออกความอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มในภาคกลางนี้เหมาะแก่การเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ดี
ทุกๆปีแม่น้ำและลำน้ำหลายสายจะพัดพาโคลนตะกอนมาทับถมพื้นที่ราบลุ่มในฤดูน้ำ
ทำให้เกิดปุ๋ยธรรมชาติ เหมาะกับการเพาะปลูกอย่างค่อนข้างถาวร
ไม่จำเป็นต้องโยกย้ายพื้นที่ทำการเพาะปลูก
อย่างการทำไร่บนที่สูงตามภูเขาในบริเวณที่ราบลุ่มนี้ จึงเหมาะกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของมนุษย์เหตุนี้บรรดาบ้านเมืองในภาคกลาง
โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีการตั้งถิ่นฐานตามริมฝั่งแม่น้ำและลำน้ำหลายสายโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นเมืองนั้นมักเกิดขึ้นตรงที่มีลำน้ำหลายสายมาบรรจบกันหรือไม่ก็ตรงคลองที่ขุดมาบรรจบกับแม่น้ำใหญ่
โดยเฉพาะในสมัยหลังที่ใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นๆ
(ผ่องศรี วนาสิน และ ทิวา ศุภจรรยา, 2524 : ไม่มีเลขหน้า)
ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะในอดีตอุดมด้วยทรัพยากรที่เป็นแร่ธาตุและของป่า
ซึ่งชาวบ้านสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิต
และส่งออกเป็นสินค้าไปยังภายนอกได้อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ คือ
ในบริเวณที่สูงและภูเขาในเขตจังหวัดลพบุรีเรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครสวรรค์
และเพชรบูรณ์ มีแร่เหล็ก และแร่ทองแดง มีการตั้งแหล่งชุมชนถลุงแร่
และหลอมโลหะกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น
แหล่งถลุง และหลอมทองแดง ในบริเวณ เขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี
และแหล่งถลุงเหล็ก ครั้งสมัยทวาราวดีถึงอยุธยาที่บ้านดีลัง
อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี(สุรพล นาถะพินธุ 2531
: 107-124)
ส่วนป่าเขาทางด้านตะวันตกในเขตจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี
กำแพงเพชร และตาก
ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบรรดาของป่าที่ได้จากสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ในป่า
สิ่งของเหล่านี้เป็นสินค้าออกที่สำคัญ โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี(พรชัย
สุจิตต์ 2528 : 2126)
ส่วนในบริเวณภาคกลางตอนเหนือตั้งแต่เขตจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปจนถึงตากและอุตรดิตถ์นั้น
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นทางผ่านสัญจรไปมาของคนโบราณ
ไม่ปรากฏหลักฐานร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมืองที่มีขนาดใหญ่โตในสมัยทวาราวดีและลพบุรีตอนต้นเลยพอมาถึงช่วงพุทธศตวรรษที่
17-18
จึงมีการขยายตัวทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้
และจากที่มีหลายกลุ่มหลายเหล่าจากทางเหนือ ทางตะวันตก
และตะวันออกเคลื่อนย้ายสัญจรผ่านไปมาเพื่อทำการค้าขายกับบ้านเมืองใหญ่ๆ
ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในสมัยนั้น อันได้แก่ เมืองพุกาม
และเมืองมอญในประเทศพม่า
เมืองพระนครในประเทศกัมพูชาและเมืองเวียงจันทน์ที่เป็นปากทางติดต่อไปยังประเทศญวนทางด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือ
รวมทั้งแคว้นหริภุญชัย
และโยนกทางเหนือการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขึ้นในบริเวณภาคกลางตอนเหนือ
เกิดเป็นแว่นแคว้นสุโขทัย มีเมืองสำคัญเกิดขึ้นและเพิ่มขึ้นตั้งแต่ตอนปลายพุทธศตวรรษที่
18 ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองสำคัญเหล่านี้
ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สองแคว กำแพงเพชร
นครชุม ทุ่งยั้ง พระบาง (นครสวรรค์) เป็นต้น (ศรีศักรวัลลิภดม, 2532: ไม่มีเลขหน้า )
สภาพการตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองในบริเวณภาคกลางตอนบนก็คล้ายคลึงกันกับบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นั่นคือ บรรดาเมืองสำคัญๆ จะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่เป็นเส้นทางคมนาคม ดูเหมือนมีแต่เพียงเมืองสุโขทัยเพียงเมืองเดียวที่ตั้งอยู่ตีนเขา
ใกล้กับลำน้ำเล็กๆ ห่างไกลจากแม่น้ำยม แต่เมืองนี้ก็ดำรงอยู่ไม่นานประมาณพุทธศตวรรษที่
20 ก็โรยร่างเปิดโอกาสให้เมืองสำคัญใหม่ๆ
ที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำขึ้นมาแทน คือ เมืองสองแควหรือพิษณุโลกริมฝั่งแม่น้ำน่าน
เมืองสวรรคโลกหรือศรีสัชนาลัยริมฝั่งแม่น้ำยม
และเมืองนครชุมและกำแพงเพชรริมฝั่งแม่น้ำปิง เป็นต้น
ถ้าหากมีการเปรียบเทียบกันระหว่างภาคกลางตอนบนกับภาคกลางตอนล่าง โดยตั้งคำถามว่า
เพราะเหตุใดการตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองในบริเวณภาคกลางตอนบนจึงเกิดขึ้นทีหลังบริเวณตอนล่างในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช้านานแล้ว
ก็คงจะตอบโต้ได้โดยไม่ยากว่า
ในสมัยโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ลงมานั้นจำนวนประชาชนในดินแดนประเทศไทยมีน้อยในขณะที่แผ่นดินและที่ทำกินมีอย่างเหลือเฟือ
ผู้คนมีสิทธิ์ และโอกาสที่จะเลือกปักหลักตั้งรกรากบนบริเวณที่ดีกว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่า
ซึ่งก็แน่นอนว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลางตอนล่างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้เปรียบบริเวณภาคกลางตอนบนอย่างมากมาย
เหตุนี้ผู้คนจึงเลือกที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามากกว่า
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางภูมิศาสตร์ของผู้คนที่สร้างบ้านสร้างเมืองอยู่ในบริเวณภาคกลางทั้งสองเขตนี้
มีลักษณะที่ง่ายไม่จำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาดัดแปลงหรือควบคุมธรรมชาติแต่อย่างใด
เพราะชุมชนมักตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีใช้ตลอดปี และเมื่อถึงฤดูกาลก็มีฝนตกทำให้มีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ทางเศรษฐกิจได้สม่ำเสมอ
ไม่จำเป็นต้องมีการชลประทานน้ำเพื่อส่งเสริมให้การเพาะปลูกได้ผลดี
เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
ในจดหมายเหตุของบาทหลวง เดอซัวซีได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2228
พร้อมกับคณะทูตเดอโชมองค์และพำนักอยู่ในเมืองไทยร่วม 3 เดือนได้เขียนอธิบายไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จะเสด็จไปประทับที่ละโว้ในช่วงฤดูน้ำหลาก
เพราะในระยะเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาจะถูกน้ำท่วมเจิ่งนองไปหมด
ปรากฏการณ์เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในสมัยนั้นผู้คนที่อยู่รอบๆ
พระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงสามารถปลูกข้าวอย่างง่ายๆ
ได้โดยการหว่านลงบนที่นาหลังจากไถแล้ว และปล่อยให้ต้นข้าว
โตเองในยามที่น้ำไหลท่วมที่นาเมื่อถึงฤดูกาล
ไม่มีการจัดการทดน้ำและชลประทานแต่อย่างใดเหตุนี้ เมื่อเกิดฝนฟ้าแล้งขึ้นบางปีจึงเกิดข้าวยากหมากแพง(สันต์
ท.โกมลบุตร, 2516 : 338 , 427 )
4. ภาคใต้
บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยนั้นนับเนื่องตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเป็นบริเวณที่คาบสมุทรไปจนจดเขตแดนประเทศมาเลเซียลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยบริเวณชายทะเลทั้งสองด้านคือด้านตะวันออกและตะวันตกมีเทือกเขาผ่ากลางเป็นกระดูกสันหลัง
บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทยนั้นมีลักษณะเป็นแผ่นดินงอกทางด้านตะวันออกอันเกิดจากการกระทำของคลื่นลม
และลำน้ำสายสั้นๆที่ไหลลงจากภูเขาทางทิศตะวันตก
เป็นเหตุให้เกิดบริเวณที่เป็นสันรายยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเลและบริเวณที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมเล็กๆ
ตามปากแม่น้ำ การตั้งหลักแหล่งของชุมชนมนุษย์ใน แถบนี้จึงมักตั้งอยู่บนสันทรายซึ่งเป็นบริเวณที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
รูปแบบของชุมชนจึงมีลักษณะเป็นแนวยาวไปตามสันทรายซึ่งมักจะมีถนนผ่านกลางการคมนาคมจึงต้องอาศัยการติดต่อกับชุมชนต่างๆที่อยู่ติดต่อกันตามสันทราย
ในขณะเดียวกันบริเวณด้านข้างของสันทรายทั้งสองด้านก็เป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึง
เหมาะกับการเพาะปลูกข้าวอย่างยิ่ง ทำให้ในบางแห่งทางภาคใต้ เช่น
บริเวณต่ำจากนครศรีธรรมราชลงมายังเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุง
กลายเป็นแหล่งปลูกข้าวที่เลี้ยงคน ส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้
นอกจากนั้นบรรดาเมืองสำคัญๆ เช่น นครศรีธรรมราช ไชยา ปัตตานี
ก็ล้วนแต่ตั้งอยู่บนบริเวณที่เป็นสันทรายทั้งสิ้น (ศรีศักรวัลลิโภดม, 2534 : 47-50 )
ส่วนบริเวณที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมนั้นมักพบตามบริเวณที่มีลำน้ำไหลจากเทือกเขาทางตะวันตกมาออกทะเล
ทำให้เกิดการทับถมเป็นที่ราบลุ่มและบริเวณปากน้ำตรงที่ออกทะเลก็มักกลายเป็นทะเลตมยื่นล้ำออกไป
อย่างเช่นบริเวณปากแม่น้ำตาปี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นตัวอย่าง
บริเวณเช่นนี้มักมีชุมชนตั้งเรียงรายอยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ลึกเข้าไปตามลำแม่น้ำราว
12-14 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล เพราะต่อจากนั้นเข้าไปก็มักจะเข้าสู่บริเวณที่เป็นป่าดงสูงไม่เหมาะกับการตั้งหลักแหล่ง
อีกทั้งพื้นที่ราบลุ่มที่จะทำการเพาะปลูกก็มีน้อย
โดยมากในพื้นที่ซึ่งกลายเป็นบ้านเมืองใหญ่มักจะเป็น บริเวณที่มีทั้งสันทรายและลำน้ำอยู่ในบริเวณที่
ใกล้เคียงกัน (ศรีศักรวัลลิโภดม, 2534 : 47-50
)
หลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ทราบขณะนี้
บ่งแสดงให้เห็นว่า บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย
เป็นบริเวณที่
เคยมีการตั้งหลักแหล่งบ้านเมืองมาแต่โบราณเพราะพบร่องรอยของชุมชนมนุษย์ในสมัยยุคต้น
ประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์มากกว่าชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก บริเวณสำคัญๆ
ที่พบร่องรอยของชุมชนโบราณ ได้แก่ เขตอำเภอเมืองจังหวัดชุมพร อำเภอท่าชนะ ไชยา
ท่าฉาง เลยไป จนถึงอำเภอพุนพิน และกาญจนดิษฐ์ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ต่อจากนั้นก็มีอำเภอสิชล ท่าศาลา และอำเภอเมือง
นครศรีธรรมราช อำเภอตะโหมด สทิงพระ และอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา รวมไป ถึงบริเวณรอบๆ
ทะเลสาบในเขตจังหวัดพัทลุงด้วยเหตุที่เกิดมีชุมชนบ้านเมืองมากตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกนี้
คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ราบลุ่ม
ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมากกว่าบริเวณอื่นแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นหากยังเป็นเพราะว่าบริเวณนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมทางทะเลระหว่างบ้านเมืองต่างๆ
ทั้งในหมู่เกาะและพื้นแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้
ปรากฏว่ามีโบราณวัตถุที่มีอายุนับแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4-5
แบบที่พบในประเทศเวียดนามและประเทศจีนตอนใต้ ตาม ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศไทยโบราณวัตถุเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า
มีกลุ่มชนต่างเผ่าพันธุ์จากภายนอกเดินทางเข้ามาหรือผ่านมาในประเทศไทย
ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซียและที่อื่นๆ
แม้กระทั่งในยุคประวัติศาสตร์เองคือราวพุทธศตวรรษที่14 – 15 ก็ปรากฏพบร่องรอยของบรรดาเมืองท่าและสถานที่พักสินค้าในเขตอำเภอท่าชนะ
ไชยานครศรีธรรมราช และสงขลา การติดต่อค้าขายกับภายนอกนี้เอง
เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ ทำให้หัวเมืองทางภาคใต้เจริญรุ่งเรือง
โดยเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราชที่เติบโตขึ้นถึงขนาดเป็นรัฐสำคัญทางภาคใต้ที่มีอำนาจทางทะเลในคาบ
สมุทรไทยและมาเลเซียทีเดียว
ความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งเมืองท่าของทางภาคใต้ดังกล่าวนี้ยิ่งเน้นหนักมากขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ทำให้เกิดบ้านเมืองชายทะเลมากกว่าเดิม เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี
ก็กลายเป็นเมือง ท่าที่สำคัญที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
(ศรีศักรวัลลิโภดม, 2524 : 81-112)
ในขณะที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเกิดเป็นแหล่งบ้านเมืองใหญ่โตมาแต่สมัยโบราณนั้น
ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกยังอยู่ในสภาพที่ล้าหลังทั้งนี้เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงอีกทั้งชายฝั่งทะเลมีลักษณะถูกคลื่นลมพัดจนสึกกร่อน
มีพื้นที่ราบลุ่มที่จะทำการเพาะปลูกน้อยไม่เหมาะกับการที่จะตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน
อีกทั้งคลื่นลมก็พัดแรงจัด แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีพัฒนาการของชุมชนมนุษย์ในบริเวณนี้เลย
ขณะนี้พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งตามถ้ำและภูเขาใกล้กับทะเล
เช่น ในจังหวัดกระบี่
แต่บรรดามนุษย์เหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ล้าหลังเที่ยวเร่ร่อนหาอาหารตามทะเลและชายฝั่ง
ทะเลเป็นส่วนใหญ่
แม้ว่าทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกจะมีพัฒนาการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
เป็นบ้านเมืองแล้วก็ตาม ทางชายฝั่งด้านตะวันตกยังคงอยู่ในสภาพที่ล้าหลัง
ความเจริญที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นบางบริเวณ หรือบางท้องที่เท่านั้น
ซึ่งก็เป็นเพราะเหตุผลที่มาจากภายนอก
ประการแรกก็คือในสมัยยุคต้นประวัติศาสตร์การติดต่อทางทะเลได้ขยายตัวไปเป็นการเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองทางตะวันตกอันได้แก่
อินเดีย เปอร์เซีย ลังกา กรีกและโรมัน(กรมศิลปากร, 2525 :91-112)
การเดินทางจากบ้านเมืองทางตะวันตกเหล่านี้ผ่านไปยังทะเลจีนต้องผ่านคาบสมุทรไทยโดยเฉพาะต้องมีการขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรไทยไปยังชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกสมัยที่ยังไม่มีการเดินเรือโดยตลอด
จากตะวันตกแล้วผ่านช่องแคบมะละกาไปยังจามปา เวียดนาม
และจีนบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศไทยที่เหมาะสำหรับเป็นแหล่งจอดเรือพักถ่ายสินค้าไปทางตะวันออก
และรับสินค้าจากทางตะวันออกมาลงเรือเพื่อเดินทางต่อไปยังบ้านเมืองทางตะวันตก
คาดว่าคงเป็นบริเวณอ่าวพังงา ในเขตจังหวัดตรัง กระบี่ และพังงา
เพราะเป็นบริเวณที่เหมาะสมในการจอดเรือและขนถ่ายสินค้าผ่านช่องเขาหินปูนมายังต้นแม่น้ำตาปี
แล้วเดินทางตามลำน้ำนี้ไปออกชายฝั่งทะเลในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชทางหนึ่งกับทางอำเภอพุนพิน
และอำเภอไชยาในเขตอ่าวบ้านดอนอีกทางหนึ่ง
เหตุนี้จึงพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นสิ่งของของชาวอินเดียเปอร์เซีย กรีก
และโรมัน นำเข้ามาในชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในเขตอ่าวพังงาหลายแห่ง แห่งที่สำคัญคงจะเป็นบริเวณคลองท่อม
ซึ่งขณะนี้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมายมีอายุอย่างน้อยราวพุทธศตวรรษที่ 7-9
ซึ่งร่วมสมัยกับแคว้นฟูนันที่มีศูนย์กลางอยู่แถวปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
ความรุ่งเรืองของชุมชนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ดังกล่าวนี้ คงรุ่งเรืองอยู่ไม่นาน
เพราะสมัยหลังลงมา เมื่อมีการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกามายังทะเลจีนได้แล้ว
การใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยก็คงหมดความสำคัญไปโดยปริยาย ( แอนเดอร์สัน
และพรชัย สุจิตต์, 2522 -2523 : 6-17
)
ถึงแม้ว่าการเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรจะหมดความสำคัญลง
แต่ก็มีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้บริเวณบางแห่ง
ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทรไทยนั้น
มีพัฒนาการเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นในสมัยต่อมา
นั่นก็คือความอุดมสมบูรณ์ของบางแห่งที่พรั่งพร้อมด้วยแร่ธาตุ
รวมทั้งผลิตผลของป่าที่เลยเข้าไปถึงบริเวณเทือกเขาที่อยู่ตอนกลางของคาบสมุทรด้วยโดยเหตุนี้จึงมีชาวต่างประเทศ
เช่น พวกอินเดียและอาหรับเข้ามาตั้งชุมชนอยู่ตามชายฝั่งทะเลหลายแห่ง อย่างเช่น
บริเวณเกาะคงเขา ในเขต อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
และตามบริเวณแม่น้ำลำคลองในเขตอำเภอนี้
แต่ว่าการเกิดของชุมชนดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้ขยายใหญ่โตจนเกิดเป็นรัฐหรือแว่นแคว้นขนาดใหญ่แต่อย่างใด
มีหลักฐานทางเอกสารเป็นตำนานหรือพงศาวดารกล่าวถึงคล้ายกับว่า
ความเจริญเติบโตขึ้นเป็นชุมชนบ้านเมืองขนาดใหญ่และมากมายหลายแห่งของชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกนี้
เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ทั้งนี้เพราะว่า บริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ
จึงมีผู้คนโดยเฉพาะคนจีนเป็นจำนวนมาก
อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำเหมืองแร่เกิดหัวเมืองชายฝั่งทะเลที่สำคัญขึ้นหลายแห่ง
เช่น เมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่ง ท้ายเมือง กระบี่ และภูเก็ต
ปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าประชาชนที่ตั้งรกรากอยู่ทางฝั่ง
ทะเลด้านตะวันตกของประเทศไทย
ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายของชาวจีนที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำเหมืองแร่ในยุคแรกๆ
ซึ่งนอกจากผู้คนดังกล่าวนี้ อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ตามเมืองต่างๆ
ก็ล้วนสะท้อนให้เห็นรูปแบบอิทธิพลของจีนที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่4-5 ทั้งสิ้น
นอกจากเรื่องการทำเหมืองแร่แล้วก็มีการปลูกยางพารา
ซึ่งเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตั้งรกรากทำมาหากินของผู้คนในภาคใต้
ทั้งทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกและตะวันออก
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำเข้ามาปลูกจากภายนอกในสมัยอาณานิคมที่ชาวตะวันตกเข้ามาปกครองบ้านเมืองในแหลมมลายู
การปลูกยางพาราทำให้มีการขยายตัวของชุมชนที่เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบลุ่ม
บริเวณชายฝั่งทะเลเข้าไปยังบริเวณภายในที่เคยเป็นป่าและภูเขา
เกิดการถางป่าตัดต้นไม้อยู่พักหนึ่ง ก่อนที่จะปลูกยางพาราขึ้นแทน ทั้งการทำเหมืองแร่และการปลูกยางพาราดูเหมือนมีบทบาทสำคัญมาก
ในการทำให้ผู้คนในภาคใต้ที่ต่างเผ่าพันธุ์และต่างภาษาอยู่รวมกันในลักษณะที่ต้องพึ่งพากัน
อย่างเช่นบรรดาคนจีนหรือลูกหลานคนจีนที่อยู่ในสังคมเมืองเป็นเจ้าของเหมืองแร่และสวนยาง
ส่วนในชนบทตามป่าและสวนยางเป็นที่อยู่ของคนมุสลิมพื้นเมือง
ทำหน้าที่เป็นกรรมกรสวนยางและเหมืองแร่ยังมีชนพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พวกชาวเล
มีอาชีพเป็นชาวประมง อาศัยอยู่ตามชายทะเลทั้งทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก
โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกนั้นมีเป็นจำนวนมาก เช่น ในเขตจังหวัดกระบี่ พังงา
และภูเก็ต คนเหล่านี้แต่ก่อนเคยมีอาชีพเร่ร่อนและโยกย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ
แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งหลักแหล่งติดที่ อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่แถวชายทะเล
ในด้านวัฒนธรรมชนกลุ่มนี้ยังอยู่ในสภาพชนกลุ่มน้อย ( Anderson 1988 : 43-60 )
บทที่
2
ลักษณะและองค์ประกอบของเรือนไทย
เรือนไทยภาคเหนือ
1.ลักษณะเรือนไทยภาคเหนือ
การตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือ
เริ่มตั้งแต่เรือนหลังเดียวในเนื้อที่หุบเขาแคบ จนถึงระดับหมู่บ้านและเมือง ซึ่งการขนานนามหมู่บ้านนั้นขึ้นอยู่กับสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น
หมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วย “ปง” คือบริเวณที่มีน้ำซับ
“สัน” คือบริเวณสันเนินหรือมีดอน
“หนอง” หมายถึงบึงกว้าง “แม่” คือที่ตั้งที่มีลำธารไหลผ่าน ดังนั้นชื่อเดิมของหมู่บ้านจึงเป็นการบอกลักษณะการตั้งถิ่นฐานแต่แรกเริ่มจากสภาพการตั้งถิ่นฐานของชุมชนภาคเหนือ
ทำให้เกิดเรือนประเภทต่างๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งเรือนพักอาศัยออกเป็นประเภทใหญ่ๆ
ดังนี้
1.1เรือนเครื่องผูกเป็นเรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่ ตัวเรือนขนาดเล็ก
ดังจะเห็นรูปแบบของเรือนเครื่องผูกนี้ได้ตามภาพจิตกรรมฝาผนังของล้านนา
มีรูปแบบเป็นเรือนจั่วเดียวยกพื้นสูง ในอดีตเรือนเครื่องผูกเป็นเรือนของชาวบ้านทั่วไป
ที่สร้างขึ้นกันเองโดยการตัดไม้ไผ่มาประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างของตัวเรือน
แล้วใช้ตอกหรือหวายยึดให้ติดกันอาจมีการใช้เสาเรือนด้วยไม้จริงบ้าง
แต่โดยรวมแล้วองค์ประกอบของเรือนส่วนใหญ่จะทำมาจากไม้ไผ่ เช่น โครงสร้างหลังคา ฝาและพื้นเรือนที่ทำมาจากไม้สับฟาก
นอกจากนั้นเรือนเครื่องผูกยังเหมาะสำหรับคู่แต่งงานที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัวใหม่
มักจะสร้างเป็นเรือนเครื่องผูกแบบชั่วคราวก่อนที่จะเก็บเงินและไม้ได้พอเพียงสำหรับขยายเรือนต่อไป (ฐาปนีย์ เครือระยะ,2554 : 39 - 44)
1.2เรือนไม้จริง เป็นเรือนที่สร้างขึ้นจากไม้เนื้อแข็งทั้งหมด
ชาวล้านนานิยมใช้ไม้สักเพราะหาได้ง่าย
มีอายุการใช้งานนานอีกทั้งเนื้อไม้ไม่แข็งมากนัก
จึงสามารถเจาะหรือแต่งรูปไม้ได้ง่ายขนาดของเรือนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าของเรือน
ซึ่งมักทำเป็นเรือนที่มีจั่วเดียวและสองจั่ว
โดนเรือนที่มีจั่วเดียวมักจะมีโครงสร้างเช่นเดียวกับเรือนเครื่องผูก
เพียงแต่สร้างขึ้นมาจากไม้จริง
ตั้งแต่โครงสร้างหลังคาไปจนถึงฝาและพื้นเรือนที่ทำด้วยไม้กระดาน
ด้านหน้าเรือนนิยมทำเป็นชานโล่ง แล้วเชื่อมต่อตัวชานกับเรือนด้วยเติ๋น
ส่วนเรือนที่สร้างแบบสองจั่วหรือจั่วแฝด ทางล้านนาเรียกว่า “เรือนสองหลังฮ่วมกัน” มีการแบ่งพื้นที่การใช้สอยเป็นระเบียบมากขึ้น
โดยจั่วที่มีขนาดใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกเป็นเรือนนอน
อีกจั่วที่มีขนาดเล็กลงมาอยู่ทางด้านตะวันตกเป็นส่วนของเรือนครัวหรือเรือนไฟ
ใช้เป็นที่ประกอบอาหารและเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ระหว่างชายหลังคาของเรือนทั้งสองที่มาจรดกันจะสร้าง “ฮ่อมริน”
หรือรางรินสำหรับระบายน้ำฝนส่วนชานก็จะสร้างทั้งด้านหน้าเรือนและหลังเรือน
ทั้งนี้หากสมาชิกในครอบคัรวมีจำนวนมากก็จะขยายห้องให้กว้างขึ้น
โดยใช้พื้นที่ใต้ชายคาของจั่วแฝดทั้งสองเป็นห้องโถงใหญ่
เพื่อเพิ่มบริเวณใช้สอยสำหรับนอนและอยู่อาศัยของสมาชิกทั้งหมด
แล้วสร้างครัวแยกออกมาจากตัวเรือนนอน
โดยสร้างระเบียงหรือชานเชื่อมเรือทั้งหมดเข้าด้วยกัน
1.3 เรือนกาแลเรือนกาแลนี้ในยุคก่อนนิยมเรียกว่า
เรือนเชียงแสน นับว่าเป็นเรือนทรงโบราณของล่านนา ซึ่งปัจจุบันถือว่า เข้าข่ายของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
เรือนกาแลเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว ส่วนใหญ่ปลูกคู่ชิดกันอย่างน้อย 2 หลัง หลังหนึ่งอาจมีขนาดเล็กกว่าเป็นลักษณะเรือนแฝดอย่างที่เรียกกันว่า
เรือนสองหลังรวมพื้นที่ มีลักษณะเด่นชัด คือ มี กาแล (อ่าน “ ก๋าแล ” ) ซึ่งเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันบนสันหลังคาด้านสกัดซึ่งเป็น
ด้านหน้าของเรือนมีบริเวณเปิดโล่งเรียกว่า เติน (อ่าน “ เติ๋น”
) ซึ่งใช้เป็นที่อเนกประสงค์ เช่น พักผ่อน รับแขก และใช้นอน ฯลฯ
ส่วนที่ต่อจากเดิมเป็นชาน มีบันไดขึ้นเรือนทางด้านหน้า 1
แห่งหรืออาจมีเพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่บริเวณหลังเรือน (เจ้าน้อยมหาอิททร์
ณ เชียงใหม่, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
2. รูปทรงของกาแล
เมื่อมองจากภายนอกมีลักษณะป้อมส่วนบน
ของเรือนผายออก หลังคาลาดชันคลุมต่ำและดูเตี้ยกว่าเรือนฝาปะกนของภาคกลาง
ไม่มีหลังคากันสาด เรือนกาแลมีหน้าต่างน้อยมาก
และเรือนกาแลขนาดเล็กบางหลังไม่มีหน้าต่างเลย
นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือมี หำยนต์
ซึ่งเป็นไม้แกะสลักติดด้านบนของประตูห้องนอน หำยนต์มักจะทำขึ้นพร้อมๆ
กับการปลูกเรือนใหม่ เมื่อเจ้าของบ้านได้แผ่นไม้ที่จะทำหำยนต์ อาจารย์หรือพระผู้มีวิชาจะนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสาเอกเพื่อทำพิธีถอน
ทั้งนี้เพราะคนเมืองล้านนานั้นเมื่อจะประกอบพิธีกรรมใดๆ
จะต้องทำพิธีสูตรถอนก่อนทุกครั้งและก่อนที่แกะสลักลวดลายหำยนต์
เจ้าของบ้านจะต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนมาอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่หำยนต์ เมื่อทำการแกะสลักหำยนต์แล้วจงนำมาประดับไว้ที่บริเวณเหนือประตูทางเข้า
ห้องนอนของเจ้าของบ้าน โดยจะมีการทำพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน
หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหารให้อาจารย์กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์
ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุข
รูปทรงของกาแลแยกได้ 3 ประเภท ตามลักษณะการอ่อนโค้งของตัวกาแล คือ
2.1 ทรงตรง
มีลักษณะตรงต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกับส่วนอื่นของปั้นลม
ไม่ลักษณะอ่อนโค้งที่เห็นชัด
2.2 ทรง อ่อนโค้ง
คล้ายเขาควาย มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนโคนของกาแลจะโค้งงอออกเล็กน้อยทั้ง 2 ข้างและวกเข้าด้านในเล็กน้อย โดยปลายบนกลับโค้งออกด้านนอกอีก
2.3 ทรงคล้ายกากบาท ปลายบนมีลักษณะเศียรนาคผงาดหน้าเข้าหากัน ส่วนปลายล่างมนกลม
และมักมีการฉลุโปร่ง (ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
3. ลวดลายแกะสลัก
กาแลที่พบทุกชนิดมีการแกะสลักเป็นลวดลายที่มีความงดงามแตกต่างกันไป
ลักษณะลวดลายอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
3.1ลายกนก 3 ตัว
ซึ่งเป็นต้นแบบของลายไทย สามารถผูกเป็นลวดลายแยบยลต่างๆ ลวดลายเริ่มที่โคนของกาแล
ประกอบด้วยโคนช่อกนก ซึ่งมีกาบหุ้มก้านซ้อนกันหลายๆ ชั้น
ก้านกนกก็แตกออกเป็นช่อตามระบบกนก 3 ตัว
ซึ่งสลับหัวกันคนละข้างจนถึงยอดกนกจนหรือกาแล
กาบก้านก็สะบัดโค้งและเรียวแหลมสุดที่ยอด
3.2 ลายเถาไม้หรือลายเครือ เถา
เป็นลวดลายที่ซึ่งมีรูปแบบของลายกนกอยู่บ้าง
ลายเริ่มที่โคนกาแลประกอบด้วยก้านและกาบหุ้มหลายชั้น
ส่วนนอกของกาบเมื่อใกล้ยอดจะกลายเป็นใบซึ่งปลายของใบขมวดงอเหมือนลายผักกูด
การโค้งงอของช่อใบสลับกันคนละข้าง จนถึงยอด
3.3ลายเมฆไหล
ลายเมฆไหลเป็นลักษณะลายชนิดหนึ่งของล้านนา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
ซึ่งเป็นจินตนาการของศิลปินที่มีต่อเมฆ มีองค์ประกอบของลายกนก หรือลายเครือเถาอยู่
ประกอบด้วยก้านกนกเป็นกาบหลายชั้นแล้วแตกเป็นก้านและช่อตามระบบกนก 3 ตัว แต่ตัวกนกแต่ละตัวมีลักษณะเหมือนลายเมฆ (สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.เชียงใหม่, 2558
: ไม่มีเลขหน้า)
4.
ลักษณะของเรือนกาแล
ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของล้านนา
เนื่องจากเป็นเรือนที่นิยมสร้างกันมากในกลุ่มคนยวลล้านนาโดยมีพื้นที่ใช้สอยสัมพันธ์กับวิถีชีวิตประจำวันและคติความเชื่อ
ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
4.1 เรือนนอน
อยู่ด้านตะวันออก เป็นห้องนอนขนาดใหญ่ห้องเดียวยาวตลอดตัวเรือน
แต่จะแบ่งออกเป็นห้องเล็กๆให้กับลูก โดยใช้ผ้ากั้งหรือผ้าม่านขึงไว้ตามช่วงสา
การนอนต้องหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกบริเวณฝาผนังด้านปลายเท้าเป็นที่วางหีบซ้าสำหรับใส่เสื้อผ้าหรือของใช้ส่วนตัว
และมี “แป้นต้อง”ที่ทำจากไม้กระดานวางเป็นแนวยาวตลอดตัวเรือน
เพื่อเป็นทางเดินออกไปด้านนอกห้องนอนโดยเกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น
บริเวณหัวเสาเอกหรือเสาพญามี “หิ้งผีเรือน” เป็นชั้นไม้ใช้วางของสักการะ
4.2 เรือนไฟหรือเรือนครัว ใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหาร
และเก็บของใช้ต่างๆ ในอดีตมีเตาไฟเป็นก้อนหินสามเส้าวางบนกระบะสี่เหลี่ยม
ต่อมาจึงใช้เตาอังโล่แทน เหนือเตาไฟมีชั้นวางของทำมาจากไม้ไผ่สานโปร่งๆ
ใช้วางประเภทงานจักสาน และเก็บเครื่องปรุงจำพวกหอม กระเทียม ฯลฯ จะช่วยป้องกันมด
แมลงต่างๆได้ ฝาผนังของเรือนครัวจะทำแบบห่างๆ หรือทำเป็นไม้ระแนงเพื่อช่วยระบายอากาศจากควันไฟ ( อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2518)
4.3 เติ๋นเชื่อมต่อกับชานด้านหน้าของตัวเรือนโดยยกพื้นสูงขึ้นจากระดับพื้นชานให้พอนั่งพักเท้าได้
เป็นพื้นที่กึ่งเอนกประสงค์มีผนังปิดเพียงด้านที่ติดกับห้องนอน
ใช้สำหรับอยู่อาศัยในช่วงกลางวัน เช่น ทำงานจักสาน นั่งเล่น
รวมถึงใช้เป็นที่รับแขก บริเวณฝาเรือนด้านตะวันออกมีหิ้งพระสำหรับสักการบูชา
4.4 ชาน
เป็นพื้นที่เปิดโล่งอยู่ทางด้านหน้าเรือนเชื่อมกับบันไดทางขึ้นบริเวณขอบชานด้านที่ติดกับเติ๋นมี
“ฮ้านน้ำ” สร้างเป็นชั้นไว้เป็นที่วางหม้อน้ำดื่มหากเป็นที่ซักล้างและวางภาชนะต่างๆ
4.5 ใต้ถุนเรือน
ชาวล้านนาจะไม่นิยมอยู่อาศัยใต้ถุนเรือน
เพราะบริเวณนี้เป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์
ส่วนห้องน้ำก็จะสร้างแยกออกมาจากตัวเรือน
มักอยู่ด้านหลังเรือนใกล้กับทางขึ้นบันไดหลัง
5. องค์ประกอบเรือนไทยภาคเหนือ
(ล้านนา)
5.1 ขื่อ
เป็นโครงสร้างหลังคายาวตามขนาดความกว้างของเรือนช่วยถ่ายเทน้ำหนักจากหลังคาลงมายังเสา
โดยขึ้นรูปเป็นไม้เหลี่ยมหนาพอสมควร การประกอบขื่อกับเสา
จะเจาะรูส่วนปลายทั้งสองของขื่อเพื่อเอาไปร้อยกับหัวเสาที่เตรียมทำหัวเทียน(เดือย) ไว้แล้วโดยสอดรูที่ปลายขื่อทั้งสองด้านให้สวมรับกับหัวเทียนเสาได้พอดีทั้งนี้ส่วนปลายสุดของขื่อ
ก็ต้องบากกร่องไว้เพื่อรับแปหัวเสา
5.2 แป๋(ป้างเป็นไม้ที่วางในแนวยาวตลอดตัวเรือนมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักหลังคา
ซึ่งโครงสร้างของเรือนไม้มีแป๋อยู่หลายตำแหน่ง เรียกตามการใช้งาน เช่น แป๋หัวเสา
แป๋ลอย เป็นต้น (ฐาปนีย์ เครือระยะ, 2554 : 49 -51 )
5.3 แป๋หัวเสา เป็นไม้หนามีความยาว
ทำหน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องและรับน้ำหนักของหลังคาโดยวางบนเสาในแนวยาวตลอดตัวเรือนซ้อนทับกับขื่อ
ส่วนที่ซ้อนกันจะบากไม้ออกเพื่อให้เข้ากับขื่อได้พอดี ขณะเดียวกันก็เจาะรูตรงกลางให้หัวเทียนเสาลอดผ่านได้
ดังนั้นแปหัวเสาจึงต้องเจาะรู และบากเป็นระยะๆ ตรังตำแหน่งของเสา
5.4 ดั้ง หรือใบดั้งเป็นไม้เหลี่ยมแบนที่ตั้งฉากกับขื่อ
เพื่อยกจั่วหลังคาขึ้น ด้านปลายล่างจะเข้าเดือยยึดติดกับกึ่งกลางขื่อ
ส่วนปลายบนแต่งให้มีขนาดเล็กลงเสียบเข้าอกไก่เพื่อยึดและรับน้ำหนักอกไก่
เรือนกาแลบางหลังจะใช้เสากลางเป็น “เสาดั้ง”
หรือ“เสาดั้งตั้งดิน”
ตั้งโย
(จันทัน)หรือขาโย
เป็นโครงสร้างไม้สองชิ้น
ประกอบกันเป็นด้านข้างรูปสามเหลี่ยมของโครงหลังคาวางในแนวลาดจากปลายบนประกอบยันเข้ายึดติดกับเสาดั้งและแป๋จ๋อง
ส่วนปลายล่างถ่ายน้ำหนักลงแป๋
5.5 แปจ๋อง (อกไก่) อยู่บนยอดสุดของโครงหลังคา
วางยึดไว้กับเสาดั้ง หน้าจั่ว และตั้งโย
ทอดยาวตามความยาวของหลังคายื่นหัวท้ายออกเลยหน้าจั่วหน้าเรือนและจั่วเรือนทั้งสองด้าน
การวางแป๋จ๋องต้องทแยงเอาเหลี่ยมขึ้น
โดยเจาะรูแป๋จ๋องให้เสียบเข้ากับยอดเสาดั้งได้พอดี
5.6 ขัวหย้างมีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยมแบนหรือใช้ไม้ไผ่ทั้งลำต้นวางคู่ขนานยึดประกบส่วนของดั้งร้อยผ่านจั่วเรือนช่วยยึดดั้งให้ตั้งฉาก
ทำให้โครงหลังคามั่นคง และสะดวกในการจะขึ้นไปซ่อมหลังคา (ฐาปนีย์ เครือระยะ, 2554 : 49 -51 )
5.7 แหนบ หรือหน้าแหนบ
เป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมใช้ปิดหน้าจั่วของเรือน
5.8 ป้านลม
มีหน้าที่กั้นลมที่จะตีกระเบื้อง
จะวางติดอยู่บนแป๋หัวเสาพาดบนแป๋ลาไปบรรจบกันดหนืออกไก่ หากเป็นเรือนกาแลก็จะกลับติด
“กาแล” ไว้ที่ปลายบนสุดของป้านลม
5.9 หลังคา เป็นส่วนที่กันแดดและฝน
ในล้านนานิยมใช้หลังคาหลายแบบ คือแป้นเกล็ดทำมาจากไม้สับเป็นแผ่น
ดินขอทำมาจากดินเผาเนื้อละเอียด กระเบื้องวาวหรือกระเบื้องซีเมนต์
เป็นหลังคาที่นิยมในช่วง 50-70 ปีที่แล้ว
มีทั้งแบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและสี่เหลี่ยมผืนผ้า
5.10 ก้าบ หรือ
แปลน
เป็นไม้เหลี่ยมพาดตามความยาวตลอดเรือนวางทับบนสันจั่วและตั้งโย้ยื่นหัวท้ายออกมาเช่นเดียวกับแป๋จ๋อง
5.11 ก๋อน (กอน) เป็นไม้เหลี่ยมแป้นขนาดเล็กเหมือนไม้ระแนง วางพาดยึดติดกับแป๋ ลาดตามแนวดิ่งของโครงหลังคา
ปลายยึดติดกับแป๋จ๋อง ช่วยรองรับน้ำหนักกระเบื้องมุงหลังคา
5.12 ไม้กั้นฝ้า
เป็นไม้ซี่ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
เพื่อนำกระเบื้องดินขอมาเกาะไว้โดยวางทับก๋อนตามความยาวของหลังคาในระยะที่พอดีกับกระเบื้อง
5.13 แป้นน้ำย้อย (เชิงชาย) เป็นไม้เหลี่ยมแป้นยาวๆ
ที่ยึดติดกับปลายล่างของก่อนช่วยปิดชายหลังคาเรือนบางหลังก็มีการตกแต่งแป้นน้ำย้อยให้สวยงามด้วยลายฉลุ
5.14 ฮางลิน (รางริน) เป็นรางรับและระบายน้ำฝน
โดยขุดท่อไม้ให้เป็นร่องตรงกลางวางอยู่ระหว่างชายหลังคาเรือนทั้งสองหลัง
5.15 ยาง หรือยางค้ำ
เป็นไม้เหลี่ยมแบนยื่นออกไปในแนวเฉียง
ทำหน้าที่ค้ำรับน้ำหนักโครงหลังคาบริเวณแป้นน้ำย้อย ส่วนบนรับน้ำหนักแป๋ลอย
5.16 แป๋ลอย
เป็นไม้ขนาดเล็กที่วางตลอดแนวยาวของเรือน ตั้งอยู่บนตั้งโย้ในตำแหน่งเชิงชายหลังคา
มีลักษณะลอยตัวซ้อนรับก๋อนแต่เรือนบางหลังทำ “ปีกยาง”
หรือ “เต้า” ยื่นออกมาจากเสามารับน้ำหนักแป๋ลอยอีกต่อหนึ่งส่วนล่างของยางจะทำเดือยไว้เพื่อสอดเข้าไปในรูของเสาที่เจาะไว้แล้ว
5.17 ไม้ตะเฆ้ หรือไม้สันตะเฆ้
เป็นตัวไม้ที่มีขนาดเท่าๆกับแป๋แป ยื่นทะแยงจากเสาเพื่อไปรับโครงหลังคาส่วนล่างที่ตรงมุมบรรจบของชายคา
ระหว่างชายหลังคาหน้าจั่วและหลังคาด้านข้าง
5.18 เสาเรือน ทำด้วยไม้ซุงที่มีลำต้นตรง
เสาที่สำคัญคือ “เสาเอก” และ
“เสานาง” โยตำแหน่งของทั้งสองเสานี้จะต้องอยู่คู่กันเสมอ
5.19 หูกระต่าย
เป็นเสาฐานของเสาไม้ที่ฝังลงในดิน ซีเมนต์ช่วยป้องกันไม่ให้ปลวก
และความชื้นขึ้นเสาเรือน
5.20
ต๋ง (ตง) เป็นไม้เหลี่ยมขนาดเล็กกว่าแวง ช่วยรองรับน้ำหนักพื้นเรือนวาง
พาดซ้อนแวงอยู่ตามแนวยางของเรือน
ซึ่งเรือนล้านนาจะมีต๋งมากและวางถี่ระยะห่างกันประมาณ 20 ซนติเมตร
ตำแหน่งของต๋งจะวางตามแนวความยาวของเรือน จึงมีขนาดความยาวเท่ากับตัวเรือน
5.21 แวง (รอด) เป็นไม้ที่รองรับน้ำหนักพื้นเรือนและช่วยยึดเสาด้านล่างเพื่อป้องกันเรือนโยก
วางในแนวขวางรับกับตำแหน่งต๋ง
มีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยมประกอบเข้ากับเสาโดยการบากเสาให้เป็นบ่า เพื่อรับแวง
แต่การสร้างเรือนโบราณจะเจาะเสาให้เป็นช่องแล้วลอดแวงร้อยเข้ากับเสา
5.22 ไม้แป้น
คือพื้นเรือนเป็นไม้กระดานขนาดยาว ส่วนใหญ่เป็นไม้สักและไม้เนื้อแข็งปูพื้นวางตามแนวยาว
ของเรือนตามแนวขวางของต๋ง
5.23
ไม้แป้นต้อง
เป็นไม้แผ่นเดียวขนาดกว้างและหนากว่าไม้ปูพื้นเรือน
วางพาดอยู่แผ่นเดียวตามแนวต๋งบนหัวเสาเฉพาะกึ่งกลางห้องนอน
เพื่อป้องกันพื้นเรือนสะเทือนขณะเดินเข้าห้องนอนและยังช่วยแบ่งห้องนอนเป็นสองส่วนอีกด้วย
5.24
ฝาเรือน คือไม้กระดานผนังฝาเรือน
เรือนโบราณนิยมทำเป็นแผงไม้ต่อกันตามขนาดของเรือน
แล้วยกผนังทั้งแผงมายึดติดกับเสาทีเดียว (ฐาปนีย์
เครือระยะ, 2554 : 49 -51 )
เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ภาคอีสาน)
1. ลักษณะของเรือนไทยภาคอีสาน
คำว่า “บ้าน “ กับ “เฮือน”
(ความ หมายเช่นเดียวกับ “เรือน”)
สำหรับความเข้าใจของ ชาวอีสานแล้วจะต่างกัน คำว่า “บ้าน” มักจะหมายถึง “หมู่บ้าน”
มิใช่บ้านเป็นหลัง ๆ เช่น บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านนาคำแคน
หรือบ้านดงมะไฟ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ เฮือน” นั้นชาวอีสานหมายถึงเรือนที่เป็นหลัง ๆ นอกจากคำว่า “เฮือน “ แล้ว
อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบแตกต่างกันไป
เช่น คำว่า “โฮง” หมายถึงที่พักอาศัยใหญ่กว่า
“เฮือน” มักมีหลายห้อง
เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองหรือเจ้าครองนครในสมัยโบราณ
คำว่า “คุ้ม” หมายถึง บริเวณที่มี “เฮือน” รวมกันอยู่หลาย ๆ หลัง
เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น คุ้มวัดเหนือ คุ้มวัดใต้ และคุ้มหนองบัว เป็นต้น
คำว่า “ตูบ” หมายถึง
กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้ ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและ
ตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” (ตามตะวัน) เพราะถือกันว่า
หากสร้างเรือนให้ “ขวางตาเว็น” แล้วจะ
“ขะลำ” คือเป็นอัปมงคลทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข
บริเวณรอบ ๆ เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติมักทำยุ้งข้าวไว้ใกล้เรือน
บางแห่งทำเพิงต่อจากยุ้งข้าว มีเสารับมุงด้วยหญ้าหรือแป้นไม้
เพื่อเป็นที่ติดตั้งครกกระเดื่องไว้ตำข้าว
ส่วนใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นบริเวณที่มีการใช้สอยมากที่สุด จะมีการตั้งหูกไว้ทอผ้า
กี่ทอเสื่อ แคร่ไว้ปั่นด้วย และเลี้ยงลูกหลาน (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน,
ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
นอกจากนั้นแล้ว
ใต้ถุนยังใช้เก็บไหหมักปลาร้า และสามารถกั้นเป็นคอกสัตว์เลี้ยง
ใช้เก็บเครื่องมือเกษตรกรรม ตลอดจนใช้จอดเกวียน
อย่างไรก็ตามการจัดวางแผงผังของห้องและองค์ประกอบต่าง
ๆ ในเรือนไทยอีสานมีดังนี้
1.1 เรือนนอนใหญ่ จะ วางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก (ตามตะวัน)
ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา
เรียกว่า “ เรือนสามห้อง” ใต้ถุนโล่ง
ชั้นบนแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
1. ห้องเปิง
เป็นห้องนอนของลูกชายมักไม่กั้นห้องด้านหัวนอนมีหิ้งประดิษฐานพระพุทธรูป
หรือสิ่งเคารพบูชา เช่น เครื่องราง ของขลัง เป็นต้น
2. ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือบางทีก็ปล่อยโล่ง
3. ห้องนอนลูกสาว มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิดหากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้ซึ่ง
ชาวอีสานเรียกว่า” ห้องส่วม”
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่
อาจใช้สอยได้อีกกล่าวคือ กั้นเป็นคอกวัวควาย ตั้งแคร่นอนพักผ่อนในตอนกลางวัน
และทำหัตถกรรมจักรสานถักทอของสมาชิกในครอบครัวเก็บอุปกรณ์การทำนาทำไร่ เช่น จอบ
เสียม คราด ตลอดจนเกวียน เป็นต้น
(enjoy, 2009 : ไม่มีเลขหน้า)
1.2 เกย (ชานโล่งมีหลังคาคลุม) เป็น
พื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร
และใช้เป็นที่หลับนอนของลูกชายและแขกเหรื่อที่กลับมาจากงานบุญในตอนค่ำคืน
ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้เป็นที่เก็บฟืนหรือสิ่งของที่ไม่ใหญ่โตนัก
1.3 เรือนแฝด เป็น เรือนตรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอน
ในกรณีที่พื้นทั้งสองหลังเสมอกันโครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคาจะฝากไว้
กับเรือนนอน
แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมามากกว่าเรือนนอนก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้
อีกแถวหนึ่งต่างหาก
1.4 เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรง
จั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แตกต่างจากเรือนแฝดตรงที่ โครงสร้างของเรือนโข่ง
จะแยกออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง
สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน การต่อเชื่อมของชายคาทั้งสองหลังใช้รางน้ำ
โดยใช้ไม้กระดาน 2 แผ่น
ต่อกันเป็นรูปตัววีแล้วอุดด้วยชันผสมขี้เลื่อย
ในกรณีที่เรือนไม่มีครัวก็สามารถใช้พื้นที่ส่วนเรือนโข่งนี้ทำครัว ชั่วคราวได้
1.5เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสามีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ
ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด
1.6 ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ
มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี “ฮ้างแอ่งน้ำ” (ร้านหม้อน้ำ) อยู่ตรงขอบของชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี
“ชานมน” ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
เพื่อใช้เป็นที่ล้างภาชนะตั้งโอ่งน้ำและวางกระบะปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ
2. รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
รูปแบบของเรือนไทยอีสานสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการพักอาศัย
เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในวาระต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทชั่วคราว หรือใช้เฉพาะฤดูกาล ได้แก่ “เถียงนา” หรือ “เถียงไร่”
ส่วนใหญ่จะ ยกพื้นสูง เสาเรือนใช้ไม้จริง ส่วนโครงใช้ไม้ไผ่
หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนเก่า พื้นเป็นไม้ไผ่สับ
ในกรณีที่ไร่นาอยู่ไม่ไกลจากเรือนพักสามารถไปกลับได้ภายในวันเดียวจะไม่นิยม กั้นฝา
หากต้องค้างคืนก็มักกั้นฝาด้วย “แถบตอง” คือสานไม้ไผ่เป็นตารางขนาบใบต้นเหียงหรือ ใบต้นพวง ซึ่งจะทนทายอยู่ราว 1-2
ปี
2.2 ประเภทกึ่งถาวร
เป็นเรือนขนาดเล็กที่ไม่มั่นคงแข็งแรงนักชาวอีสานเรียกว่า “เรือนเหย้า” หรือ “เฮือนย้าว”
เป็นการเริ่มต้นชีวิตการครองเรือน และค่อย ๆ เก็บหอมรอมริบไป สู่การมีเรือนถาวรในที่สุดผู้ที่จะมี
“เรือนเหย้า” นี้จะเป็นเขยของบ้านที่เริ่มแยกตัวออกไปจากเรือนใหญ่(
เรือนพ่อแม่)
เพราะในแง่ความเชื่อของชาวอีสาน
เรือนหลังเดียวไม่ควรให้ครอบครัวของพี่น้องอยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในบ่า
นหลังหนึ่ง ๆ
ควรมีเขยเดียวเท่านั้นหากมีเขยมากกว่าหนึ่งคนมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันถือว่า จะเกิด
“ ขะลำ” หรือสิ่งอัปมงคล เรือนประเภทนี้วัสดุก่อสร้างมักไม่พิถีพิถันนัก
อาจเป็นแบบ “ เรือนเครื่องผูก” หรือเป็นแบบผสมของ
“เรือนเครื่องสับ” ก็ได้
(จอมยุทธ, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
3. เรือนประเภทกึ่งถาวรนี้สามารถแบ่งได้เป็น
3 ประเภทคือ
3.1 เรือนเหย้ากึ่งถาวร ชนิด “ตูบต่อเล้า” เป็น
เรือนที่อิงเข้ากับตัวเล้าข้าว
ซึ่งมีอยู่เกือบทุกครัวเรือนมีลักษณะคล้ายเพิงหมาแหงนทั่วไปด้านสูงจะไป
อาศัยโครงสร้างของเล้าข้าวเป็น ตัวยึด ต่อหลังคาลาดต่ำลงไปทางด้านข้างของเล้า
แล้วใช้เสาไม้จริงตั้งรับเพียง 2-3 ต้น
มุงหลังคาด้วยหญ้าหรือสังกะสี ยกพื้นเตี้ย ๆ กั้นฝาแบบชั่วคราว
อาศัยกันไปก่อนสักระยะหนึ่ง พอตั้งตัวได้ก็จะย้ายไปปลูกเรือนใหญ่ถาวรอยู่เอง
ตรงส่วนที่เป็น “ตูบต่อเล้า” นี้ก็ทิ้งให้เป็นที่นอนเล่นของพ่อแม่ต่อไป
3.2 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด “ดั้งต่อดิน” เป็น
เรือนพักอาศัยที่แยกตัวออกจากเรือนใหญ่ทำนองเดียวกัน “ตูบต่อเล้า”
แต่จะดูเป็นสัดส่วนมากกว่า ขนาดของพื้นที่ค่อนข้างน้อยกว้างไม่เกิน 2
เมตร ยาวไม่เกิน 5 เมตร นิยมทำ 2 ช่วงเสา คำว่า “ดั้งต่อดิน” เป็นคำเรียกของชาวไทยอีสาน ที่หมายถึง ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่
วิธีสร้าง “ดั้งต่อดิน” มักใช้ผูกโครงสร้างเหมือนกับเรือนเครื่องผูกตัวเสาและเครื่องบนนิยมใช้ไม้
จริงทุบเปลือก หลังคามักมุงด้วยหลังคาทีกรองเป็นตับแล้วเรียกว่า “ไฟหญ้า” หรือใช้แป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนใหญ่
ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตองโดยใช้ใบกุงหรือใบชาดามาประกบกับไม้ไผ่สานโปร่งเป็น
ตาราง หรือทำเป็นฝาไม้ไผ่สับฟากสานลายขัดหรือลายสองทแยงตามแต่สะดวก
ส่วนพื้นนิยมใช้พื้นสับฟากหรือใช้แผ่นกระดานปูรอง
โดยใช่ไม้ไผ่ผ่าซีกมามัดขนาบกันแผ่นกระดารขยับเลื่อน
3.3 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด “ดั้งตั้งคาน” ยัง
อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูกมีความแตกต่างจากเรือน “ดั้งต่อดิน”
ตรงที่เสาดั้งต้นกลางจะลงมาพักบนคานของด้านสกัดไม่ต่อลงไป ถึงดิน
ส่วนการใช้วัสดุมุงหลังคา ฝาและพื้นเรือนจะใช้เช่นเดียวกับเรือนประเภท “ดั้งต่อดิน”
4.ประเภทถาวร
ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น “เรือนเครื่องสับ” สังเกตได้จากการเลือกใช้วัสดุ
รูปแบบของการก่อสร้างประโยชน์ใช้สอยและความประณีตทางช่าง อาจจำแนกเรือนถาวรได้เป็น
3 ชนิดดังนี้
4.1 ชนิดเรือนเกย มีลักษณะใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเสาใช้ไม้กลม 8 เหลี่ยม หรือเสา 4 เหลี่ยม ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เกย ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ
(ร้านหม้อน้ำ) (พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
4.2 ชนิดเรือนแฝด
มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยมเช่นเดียวกัน
ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เรือนแฝด เกย ชานแดด เรือนไฟ ฮ้างแอ่งน้ำ
4.3 ชนิดเรือนโข่ง มี ลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยม มีจั่วแฝดอยู่ชิดติดกัน ไม่นิยมมีเกย เรือนชนิดนี้ประพกอบด้วย
เรือนใหญ่ เรือนโข่ง ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ
เรือนไทยภาคกลาง
1.ลักษณะเรือนไทยภาคกลาง
รูปทรงเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกพื้น
ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศรีษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคาทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม เช่น อยู่ริมน้ำ ลำคลอง
ตัวเรือนก็วางยาวไปตามลำน้ำด้วยหรืออยู่ริมถนนก็วางตัวเรือนไปตามถนนตำแหน่ง
ของผังเรือนขึ้นอยู่กับคติความเชื่อเป็นหลัก ( กนกกาญจน์
หนองหลวง, ม.ป.ป :
ไม่มีปีพิมพ์ )
เรือนไทยในภาคกลาง
ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ
เรือนฝาปะกนถือเป็นเรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน
คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน
และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกันสนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน
เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ
อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่
เรือนหมู่คหบดี และจากการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีตผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง อันเป็นทางคมนาคมที่สะดวกในเขตภาคกลางจึงเกิดเรือนพักอาศัยเช่นเรือน แพ
เรือนไทยในภาคกลางอาจจำแนกออกได้ดังนี้
1.1 เรือนเดี่ยว เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว
สามีภรรยาและลูกที่ยังไม่ออกเรือน สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก
ๆ อาจเป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ
หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะทางเศรษฐกิจ จะเอื้ออำนวย
ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียงยาว
ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน
1.2 เรือนหมู่ เรือนหมู่ คือ
เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกันเมื่อลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนไปแล้ว เรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิมซึ่งพ่อแม่อยู่ส่วนที่เหลือเป็นเรือน
หลังย่อมกว่า เป็นที่อยู่ของบุตรสาวซึ่งออกเรือนไป แล้วจำนวนหลัง
แล้วแต่จำนวนบุตรสาว เนื่องจากสมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่จะไปอยู่บ้านผู้หญิง
ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน
1.3 เรือนหมู่คหบดี เรือนหมู่คหบดีโบราณ
เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกินดังคำกล่าวว่า " ถ้าบ้านใด มีแม่เรือน 2หลัง หอนั่ง ครัวไฟ หัวกระไดต้นโมกเป็นบ้านเรือนชั้นผู้ดีมีอันจะกิน "
ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของโบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน
แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไปประกอบด้วย
1. เรือนนอน ซึ่งเป็นเรือนประธาน มักมี 3 ช่วงเสา
2. เรือนลูก มีขนาดเท่ากันหรือมีขนาดย่อมลงมาเล็กน้อย
อยู่ตรงข้ามกับเรือนพ่อแม่ เรียกชื่อว่า “เรือนนรี” หันจากจั่วไปทางเดียวกัน
3. เรือนขวาง ใช้เป็นหอนั่งหรือหอกลาง มีฝา 3 ด้าน ด้านที่ติดกับชานเปิดโล่ง
สำหรับเป็นที่พักผ่อนและรับแขก รับประทานอาหาร เลี้ยงพระ
และใช้จัดงานตามประเพณีต่างๆ เช่นโกนจุก ทำขวัญนาค หรือแต่งงาน ฯลฯ
ลักษณะเป็นเรือโปร่งมี 3 ช่วงเสา
4. เรือนครัว ตั้งอยู่ทางด้านหลัง ขนาดเล้กมีเพียง 3 ช่วงเสา ฝาขัดแตะโปร่ง
มีช่องระบายควันไฟบนหน้าจั่ว ทำเป็นรูปพระอาทิตย์ มีรัศมีบ้าง
หรือบางทีทำเป็นไม้เว้นช่องบ้าง ครัวของเรือนคหบดีนั้นมักมี 2 หลัง ใช้ทำกับข้าวอาหารคาว 1 หลัง
ทำขนมอาหารของหวานอีก 1 หลัง
5. หอนก คหบดีที่มีอันจะกินนั้นทุกท่นมีงานอดิเรกด้วยกันเช่น
เลี้ยงนกเขา หรือนกแก้ว นกขุนทอง นกขมิ้น ไว้ดูและฟังเสียงอันไพเราะ
หรือไว้ประกวดประชันระหว่างเพื่อนๆ นอกจากจะเลี้ยงนกแล้ว ยังเลี้ยงปลากัด บอบ ว่าน
ตะดดัด ข่อยดัด บัวใส่ตุ่ม ฉะนั้นเราจะเห็นมีเรือนเล็กๆ ขนาด 2 ช่วงเสา มีฝา 3 ด้าน แขงนกรงนกเขา หรือนกอื่นๆเป็นแถว เรือนทั้งหมดเชื่อมด้วยชานเปิดโล่ง
เช่นเดียวกับเรือนประเภทอื่น แต่ชานที่เล่นต้นไม้ มักมีขนาดใหญ่
มักเจาะกลางชานให้ต้นไม้ใหญ่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินชั้นล่าง มักเป็นต้นจำปี จำปา
หรือต้นจันทน์ ไว้เป็นร่มให้ไม้กระถาง
และทำให้เรือนมีความกลมกลืนกับธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น ( ทวีป
มาลากุล, 2530 : 13-16 )
1.4
เรือนตำหนัก เป็นเรือนสำหรับเชื้อพระวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
มีขนาดใหญ่โตหลายช่วงเสาแบบเดียวกับกุฎิสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ คือ 6 ช่วง
ฝาลูกปะกนมีสัดส่วนใหญ่โตกว่าเรือนมะรรมดาลบมุมทั้งสองลูกตั้งลูกนอน
ด้านหน้าเป็นระเบียง มุมสุดหัวท้ายระเบียงกั้นเป็นห้องน้ำ-ห้องส้วม
และห้องเก็บของ เรียกว่า “ห้องพะไล” ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงมักจะมีช่อฟ้า ใบระกา
ประดับปลายหลังคาด้านหน้าจั่ว เช่น ตำหนักแดง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
โปรดฯ ให้สร้างพร้อมกับพระบรมมหาราชวัง
เพื่อพระราชทานสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมพระยาศรีสุดารักษ์ เสร็จประทับตลอดจนพระชนมายุ
( ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ) ตำหนักเขียว ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ( ไม่ทรงให้มีช่อฟ้า )
1.5 เรือนแพ สายน้ำกับชีวิตแบบไทย ๆอยู่คู่กันมาโดยตลอด
ส่วนใหญ่คนไทยจะอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะเป็นเส้นทางการ คมนาคมที่สะดวกและเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชิวิตประจำวัน และงานเกษตรกรรมในบางพื้นที่ที่บริเวณชายน้ำเป็นที่ลุ่ม
มีน้ำท่วมถึงเป็นเวลานานในช่วงหน้าน้ำ การสร้างบ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก จึงจะพ้นน้ำซึ่งไม่สะดวกในหน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ "
เรือนแพ "
ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง ( ทวีป มาลากุล, 2530 : 13-16 )
2.องค์ประกอบของเรือนไทยภาคกลาง (ชนิดเรือนไม้จริงหรือเรือนเครื่องสับ)
ตัวเรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่ทำด้วย
ไม้สัก เช่น โครงหลังคา ฝา พื้นห้องนอน พื้น ระเบียง
ส่วนเสาและพื้นชานใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง เป็นต้น
เรือนประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ดังนี้
เรือนประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ดังนี้
๑. งัว
ไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ใช้ไม้ทองหลางวางขวางกับปลายเสา ทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับน้ำหนัก จากกงพัด ถ่ายลงดิน ลักษณะการทำงานเหมือนกับฐานราก ของอาคารปัจจุบัน เพื่อป้องกันเรือนทรุด
ไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ใช้ไม้ทองหลางวางขวางกับปลายเสา ทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับน้ำหนัก จากกงพัด ถ่ายลงดิน ลักษณะการทำงานเหมือนกับฐานราก ของอาคารปัจจุบัน เพื่อป้องกันเรือนทรุด
๒. กงพัด
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร สอดในรูซึ่งเจาะไว้ที่โคนเสาเรือน หรือจะใช้คู่ ตีขนาบขวางกับเสา โดยบากเสาให้เป็นบ่ารองรับ ยึดด้วยสลักไม้แสม เส้นผ่านศูนย์กลางสลัก ประมาณ ๒.๐๘๓ เซนติเมตร (๑ นิ้วไทย) ปลายทั้งสอง ของกงพัดวางอยู่บนงัว ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนัก จากเสาลงสู่งัว
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๑๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร สอดในรูซึ่งเจาะไว้ที่โคนเสาเรือน หรือจะใช้คู่ ตีขนาบขวางกับเสา โดยบากเสาให้เป็นบ่ารองรับ ยึดด้วยสลักไม้แสม เส้นผ่านศูนย์กลางสลัก ประมาณ ๒.๐๘๓ เซนติเมตร (๑ นิ้วไทย) ปลายทั้งสอง ของกงพัดวางอยู่บนงัว ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนัก จากเสาลงสู่งัว
๓. แระ (ระแนะ)
คือ แผ่นไม้กลมแบน ขนานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๐-๕๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร ทำด้วยไม้ ทองหลางวางที่ก้นหลุม ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนัก จากเสาลงสู่พื้นดินเพื่อป้องกันเรือนทรุด
คือ แผ่นไม้กลมแบน ขนานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๐-๕๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร ทำด้วยไม้ ทองหลางวางที่ก้นหลุม ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนัก จากเสาลงสู่พื้นดินเพื่อป้องกันเรือนทรุด
๔. เสาเรือน
คือ ไม้ท่อนกลมยาวตลอด ลำต้น โคนเสามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ปลายเสาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เต็ง รัง มะค่า แดง เสาต่างๆ ที่จะนำมา เป็นเสาเรือน ต้องเป็นเสาที่ดี มีตาเสาอยู่ใน ตำแหน่งที่ถูกต้องถูกโฉลก การเจาะรูเสา เพื่อใส่รอดหรือใส่เต้าก็ต้องมีวิธีที่ถูกต้องในการวัด เพื่อที่จะได้ทำให้เจ้าของเรือนอยู่เย็นเป็นสุข
๔.๑ เสาหมอ คือ เสาที่ใช้รองรับ รอด รา และพื้นที่บางแห่งที่บริเวณนั้นทรุด หรือผุ มีขนาดเล็กกว่าเสาจริงเล็กน้อย และมีช่วง สั้น เสาหมอมีระยะความสูงจากพื้นดินถึงระดับ ใต้พื้น
๔.๒ เสานางเรียง คือ เสารองรับ หลังคากันสาดที่ยื่นออกมามาก ในกรณีที่ไม่ใช้ ไม้ค้ำยันก็ใช้เสานางเรียงแทน อยู่ทางด้านข้าง ของเสาเรือน
๔.๓ เสาเอก คือ เสาต้นแรกของเรือน ที่จะยกขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์ มีการ กำหนดฤกษ์ยาม ทิศทาง ตามแต่หมอจะเป็นผู้ ดูให้
๔.๔ เสาโท คือ เสาที่ยกขึ้นเป็นอันดับ ที่สองรองจากเสาเอก แต่การยกต้องเวียนไปทาง ขวามือเสมอ
๔.๕ เสาตรี (เสาพล) คือ เสาทั่วไป ที่นับเวียนขวาเลยเสาเอกและเสาโทไปแล้ว
คือ ไม้ท่อนกลมยาวตลอด ลำต้น โคนเสามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ปลายเสาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เต็ง รัง มะค่า แดง เสาต่างๆ ที่จะนำมา เป็นเสาเรือน ต้องเป็นเสาที่ดี มีตาเสาอยู่ใน ตำแหน่งที่ถูกต้องถูกโฉลก การเจาะรูเสา เพื่อใส่รอดหรือใส่เต้าก็ต้องมีวิธีที่ถูกต้องในการวัด เพื่อที่จะได้ทำให้เจ้าของเรือนอยู่เย็นเป็นสุข
๔.๑ เสาหมอ คือ เสาที่ใช้รองรับ รอด รา และพื้นที่บางแห่งที่บริเวณนั้นทรุด หรือผุ มีขนาดเล็กกว่าเสาจริงเล็กน้อย และมีช่วง สั้น เสาหมอมีระยะความสูงจากพื้นดินถึงระดับ ใต้พื้น
๔.๒ เสานางเรียง คือ เสารองรับ หลังคากันสาดที่ยื่นออกมามาก ในกรณีที่ไม่ใช้ ไม้ค้ำยันก็ใช้เสานางเรียงแทน อยู่ทางด้านข้าง ของเสาเรือน
๔.๓ เสาเอก คือ เสาต้นแรกของเรือน ที่จะยกขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์ มีการ กำหนดฤกษ์ยาม ทิศทาง ตามแต่หมอจะเป็นผู้ ดูให้
๔.๔ เสาโท คือ เสาที่ยกขึ้นเป็นอันดับ ที่สองรองจากเสาเอก แต่การยกต้องเวียนไปทาง ขวามือเสมอ
๔.๕ เสาตรี (เสาพล) คือ เสาทั่วไป ที่นับเวียนขวาเลยเสาเอกและเสาโทไปแล้ว
๔.๖
เสาตอม่อ คือ เสาจากใต้ระดับพื้น ดิน ถึงระดับพื้นชาน เป็นเสาที่ไม่เลยจากพื้น
ขึ้นไป
๕. รอด
คือ ไม้เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตรใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง รอดนี้ทำหน้าที่รองรับพื้น นั่งอยู่บนเสาที่ เจาะทะลุกึ่งกลางทั้ง ๒ ด้าน และยื่นเลยเสาออกไป ข้างละประมาณ ๒๐-๒๕ เซนติเมตร โครงสร้างสมัยปัจจุบันเรียกว่า คาน
คือ ไม้เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตรใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง รอดนี้ทำหน้าที่รองรับพื้น นั่งอยู่บนเสาที่ เจาะทะลุกึ่งกลางทั้ง ๒ ด้าน และยื่นเลยเสาออกไป ข้างละประมาณ ๒๐-๒๕ เซนติเมตร โครงสร้างสมัยปัจจุบันเรียกว่า คาน
๖. รา
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง ทำหน้าที่ เช่นเดียวกับรอด แต่แขวนอยู่กับพรึง ช่วยให้พื้นแข็ง ไม่ตกท้องช้าง (ตกท้องช้าง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่มีน้ำหนักมาก ถ่วงลงเกินควร)
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง ทำหน้าที่ เช่นเดียวกับรอด แต่แขวนอยู่กับพรึง ช่วยให้พื้นแข็ง ไม่ตกท้องช้าง (ตกท้องช้าง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่มีน้ำหนักมาก ถ่วงลงเกินควร)
๗. ตง
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๔x๕ เซนติเมตร ระยะห่างประมาณ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร ใช้ไม้ เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง มะค่า แดง วางพาดระหว่างช่วงรอด ถ้าเรือนปูพื้นขวางและมีตงมักไม่ใช้รา เรือนบางหลังหาไม้พื้นยาวไม่ได้ ต้องใช้ไม้พื้น สั้นปูขวางกับตัวเรือน จึงจำเป็นต้องมีตงมารองรับ
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๔x๕ เซนติเมตร ระยะห่างประมาณ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร ใช้ไม้ เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง มะค่า แดง วางพาดระหว่างช่วงรอด ถ้าเรือนปูพื้นขวางและมีตงมักไม่ใช้รา เรือนบางหลังหาไม้พื้นยาวไม่ได้ ต้องใช้ไม้พื้น สั้นปูขวางกับตัวเรือน จึงจำเป็นต้องมีตงมารองรับ
๘. พรึง
คือ ไม้สักสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่รัดเสาส่วนที่ติด กับพื้นทั้งสี่ด้านด้วยตะปูจีน ให้อยู่ภายในขอบ เขตที่กำหนด และทำหน้าที่รับฝาตลอดทุกด้าน นอกจากนี้ พรึงยังนั่งอยู่บนปลายรอดทางด้าน ยาวของเรือน และทำหน้าที่รับน้ำหนักจากราอีกด้วย
๙. พื้น
ไม้สักเหลี่ยมแบนขนาดประมาณ ๕x๔๐, ๕x๔๕, ๕x๕๐ เซนติเมตร เรือนไทย นิยมใช้ไม้พื้นกว้างมากปูบนตงหรือบนรอด เพื่อเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ระหว่างแผ่นต่อแผ่น ของพื้นมีเดือยไม้แสมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เซนติเมตร ตอกยึดพื้น ระยะห่างระหว่างเดือย ประมาณ ๑-๒ เมตร บางช่างใช้เดือยแบน ขนาด ๑ x ๒.๕ เซนติเมตร เรียกว่า ลิ้นกระบือ สำหรับพื้นที่ใช้ปูนอกชานนั้น ควรปูเว้นร่อง ให้น้ำไหลผ่าน ห่างประมาณ ๑ เซนติเมตร เพื่อ ป้องกันพื้นผุ
๑๐. ฝักมะขาม
คือ ไม้ทุกชนิดขนาด ๓.๕x๓.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซน- ติเมตร รูปร่างโค้งงอคล้ายฝักมะขามตอกติดกับเสา ใต้พื้นเรือน ทำหน้าที่รองรับแผ่นไม้พื้นที่ชนกับ เสาและขาดจากกัน ไม่มีส่วนของรอดรองรับ จึงใช้ฝักมะขามรับพื้นแผ่นนี้แทนรอด
คือ ไม้สักสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๕ x ๒๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่รัดเสาส่วนที่ติด กับพื้นทั้งสี่ด้านด้วยตะปูจีน ให้อยู่ภายในขอบ เขตที่กำหนด และทำหน้าที่รับฝาตลอดทุกด้าน นอกจากนี้ พรึงยังนั่งอยู่บนปลายรอดทางด้าน ยาวของเรือน และทำหน้าที่รับน้ำหนักจากราอีกด้วย
๙. พื้น
ไม้สักเหลี่ยมแบนขนาดประมาณ ๕x๔๐, ๕x๔๕, ๕x๕๐ เซนติเมตร เรือนไทย นิยมใช้ไม้พื้นกว้างมากปูบนตงหรือบนรอด เพื่อเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ระหว่างแผ่นต่อแผ่น ของพื้นมีเดือยไม้แสมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เซนติเมตร ตอกยึดพื้น ระยะห่างระหว่างเดือย ประมาณ ๑-๒ เมตร บางช่างใช้เดือยแบน ขนาด ๑ x ๒.๕ เซนติเมตร เรียกว่า ลิ้นกระบือ สำหรับพื้นที่ใช้ปูนอกชานนั้น ควรปูเว้นร่อง ให้น้ำไหลผ่าน ห่างประมาณ ๑ เซนติเมตร เพื่อ ป้องกันพื้นผุ
๑๐. ฝักมะขาม
คือ ไม้ทุกชนิดขนาด ๓.๕x๓.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซน- ติเมตร รูปร่างโค้งงอคล้ายฝักมะขามตอกติดกับเสา ใต้พื้นเรือน ทำหน้าที่รองรับแผ่นไม้พื้นที่ชนกับ เสาและขาดจากกัน ไม่มีส่วนของรอดรองรับ จึงใช้ฝักมะขามรับพื้นแผ่นนี้แทนรอด
๑๑. ฝา
คือ ผืนผนังที่ประกอบกันเข้าเป็น แผ่นจากชิ้นส่วนเล็กๆ ของไม้ หรือจากใบไม้ บางชนิด โดยมีโครงขอบฝาเป็นไม้จริง หรือ ไม้ไผ่ มีหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกหุ้มที่ว่างภายใน ห้อง ทำให้เกิดขอบเขตขึ้น ฝาส่วนด้านสกัด (ด้านขื่อ) หัวท้าย เรียกฝาทั้งแผงว่า ฝาอุดหน้ากลอง หรือฝาหุ้มกลอง ส่วนฝากั้นห้องภาย ในระหว่างห้องนอกกับห้องโถง เรียกว่า ฝา ประจันห้อง จะเป็นฝาของห้อง ฝาของระเบียง หรือฝาของชานก็ดี เท่าที่สำรวจได้มีดังนี้ ฝา ปะกน ฝาปะกนกระดานดุน ฝาลูกฟัก ฝาลูกฟัก กระดานดุน ฝาสายบัว ฝาสายบัวกระดานดุน ฝาสำหรวด (ใบเตย) ฝากระแชงอ่อน ฝาขัดแตะ ฝากระดานเรียบ ฝาถังหรือฝาเฟี้ยม และฝาลำแพน
คือ ผืนผนังที่ประกอบกันเข้าเป็น แผ่นจากชิ้นส่วนเล็กๆ ของไม้ หรือจากใบไม้ บางชนิด โดยมีโครงขอบฝาเป็นไม้จริง หรือ ไม้ไผ่ มีหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกหุ้มที่ว่างภายใน ห้อง ทำให้เกิดขอบเขตขึ้น ฝาส่วนด้านสกัด (ด้านขื่อ) หัวท้าย เรียกฝาทั้งแผงว่า ฝาอุดหน้ากลอง หรือฝาหุ้มกลอง ส่วนฝากั้นห้องภาย ในระหว่างห้องนอกกับห้องโถง เรียกว่า ฝา ประจันห้อง จะเป็นฝาของห้อง ฝาของระเบียง หรือฝาของชานก็ดี เท่าที่สำรวจได้มีดังนี้ ฝา ปะกน ฝาปะกนกระดานดุน ฝาลูกฟัก ฝาลูกฟัก กระดานดุน ฝาสายบัว ฝาสายบัวกระดานดุน ฝาสำหรวด (ใบเตย) ฝากระแชงอ่อน ฝาขัดแตะ ฝากระดานเรียบ ฝาถังหรือฝาเฟี้ยม และฝาลำแพน
๑๒.
กันสาด
คือ ส่วนหนึ่งของหลังคา ที่ยื่นออกไปโดยรอบ ลดระดับจากหลังคาลง มา และทำมุมน้อยกว่าหลังคา ประกอบด้วย จันทันกันสาด แป กลอน วัสดุมุงปลายจันทัน ข้างหนึ่ง ตอกยึดอยู่กับเต้าด้วยสลักไม้ (ค้างคาว) อีกข้างหนึ่งรองรับด้วยไม้ค้ำยัน หรือเสานางเรียง ทำหน้าที่กันแดดส่องและฝนสาด
คือ ส่วนหนึ่งของหลังคา ที่ยื่นออกไปโดยรอบ ลดระดับจากหลังคาลง มา และทำมุมน้อยกว่าหลังคา ประกอบด้วย จันทันกันสาด แป กลอน วัสดุมุงปลายจันทัน ข้างหนึ่ง ตอกยึดอยู่กับเต้าด้วยสลักไม้ (ค้างคาว) อีกข้างหนึ่งรองรับด้วยไม้ค้ำยัน หรือเสานางเรียง ทำหน้าที่กันแดดส่องและฝนสาด
๑๓. เต้า
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร โดย สอดทะลุเสา ห่างจากปลายเสาประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ ยื่นจาก เสาออกไปรับน้ำหนักเชิงชายและปลายของหลังคา และเป็นที่ยึดเกาะของจันทันกันสาด เต้าที่อยู่ตามมุมเรือนมี ๒ ตัว เรียกว่า เต้ารุม เต้าที่ไม่อยู่ตรงมุม และมีตัวเดียว เรียกว่า เต้าราย เต้าจะมีปลายข้างหนึ่งเล็ก โคนใหญ่ เมื่อสอดเต้าผ่านเสาที่เจาะรูพอดีกับเต้า เสาและเต้าจะได้ระดับ และแน่นพอดีกับระยะที่ต้องการ
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร โดย สอดทะลุเสา ห่างจากปลายเสาประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ ยื่นจาก เสาออกไปรับน้ำหนักเชิงชายและปลายของหลังคา และเป็นที่ยึดเกาะของจันทันกันสาด เต้าที่อยู่ตามมุมเรือนมี ๒ ตัว เรียกว่า เต้ารุม เต้าที่ไม่อยู่ตรงมุม และมีตัวเดียว เรียกว่า เต้าราย เต้าจะมีปลายข้างหนึ่งเล็ก โคนใหญ่ เมื่อสอดเต้าผ่านเสาที่เจาะรูพอดีกับเต้า เสาและเต้าจะได้ระดับ และแน่นพอดีกับระยะที่ต้องการ
๑๔.
สลักเดือย
คือ ไม้สี่เหลี่ยมสอดทะลุ ระหว่างโคนเต้ากับจันทันกันสาด ทำหน้าที่ยึดเกาะ เต้ากับจันทันกันสาดให้ติดกัน มีขนาดประมาณ ๑.๕-๒x๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สลักที่ยื่นเลยเต้าขึ้นไปเสียบด้วย เดือยไม้ขนาดประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประ- มาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร
คือ ไม้สี่เหลี่ยมสอดทะลุ ระหว่างโคนเต้ากับจันทันกันสาด ทำหน้าที่ยึดเกาะ เต้ากับจันทันกันสาดให้ติดกัน มีขนาดประมาณ ๑.๕-๒x๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สลักที่ยื่นเลยเต้าขึ้นไปเสียบด้วย เดือยไม้ขนาดประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประ- มาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร
๑๕.
ค้างคาว
คือ ไม้เหลี่ยมกว้างประมาณ ๘x๑๐ เซนติเมตร เจาะช่องกลางกว้างกว่า ขนาดของจันทันกันสาดและเต้าเล็กน้อยให้ สามารถสอดผ่านได้ แล้วใช้ยึดด้วยเดือยไม้ขนาด ประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ทำหน้าที่เหมือนสลักเดือย
คือ ไม้เหลี่ยมกว้างประมาณ ๘x๑๐ เซนติเมตร เจาะช่องกลางกว้างกว่า ขนาดของจันทันกันสาดและเต้าเล็กน้อยให้ สามารถสอดผ่านได้ แล้วใช้ยึดด้วยเดือยไม้ขนาด ประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ทำหน้าที่เหมือนสลักเดือย
๑๖.
หัวเทียน
คือ ส่วนหนึ่งที่อยู่ตรงปลายของเสา ควั่นเป็นแท่งกลมยาวประมาณ ๑๐-๑๑ เซนติเมตร (๕ นิ้วไทย) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดปลายขื่อให้ติดกับเสา โดยเจาะแผ่นขื่อเป็นรูกว้างกว่าหัวเทียนพอสวม เข้าได้ ช่วยยึดหัวเสาทั้งสองข้าง
๑๗. ขื่อ
คือ ไม้สักแผ่นเหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหัวเสาทั้งสอง เข้าหากัน และกันแรงถ่ายทอดจากจันทันที่ พยายามจะถีบหัวเสาออก เจาะรูที่ปลายทั้งสอง ของขื่อให้กว้างกว่าหัวเทียนเล็กน้อย และสวม ขื่อเข้ากับหัวเทียน
ชนิดที่ ๑ ขื่ออยู่กลางห้องมีขนาดเท่ากับ หัวเสา
ชนิดที่ ๒ ขื่ออยู่หัวท้ายของเรือนติดกับฝา หุ้มกลอง ขนาดใหญ่กว่าหัวเสาเท่ากับ ๕ x ๒๕ เซนติเมตร ปลายบนด้านนอกของขื่อนี้ปาดเฉียง ลง เพื่อรับกลอนปีกนก เรียกขื่อนี้ว่า ขื่อเผล้ ขื่อเพล่ยังมีหน้าที่ช่วยหยุดหรือจับฝาอุด หน้ากลองด้านบน ซึ่งฝาด้านยาวนั้น แปหัวเสา ทำหน้าที่ช่วยยึดอยู่
คือ ส่วนหนึ่งที่อยู่ตรงปลายของเสา ควั่นเป็นแท่งกลมยาวประมาณ ๑๐-๑๑ เซนติเมตร (๕ นิ้วไทย) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดปลายขื่อให้ติดกับเสา โดยเจาะแผ่นขื่อเป็นรูกว้างกว่าหัวเทียนพอสวม เข้าได้ ช่วยยึดหัวเสาทั้งสองข้าง
๑๗. ขื่อ
คือ ไม้สักแผ่นเหลี่ยมขนาด ๕ x ๒๐ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหัวเสาทั้งสอง เข้าหากัน และกันแรงถ่ายทอดจากจันทันที่ พยายามจะถีบหัวเสาออก เจาะรูที่ปลายทั้งสอง ของขื่อให้กว้างกว่าหัวเทียนเล็กน้อย และสวม ขื่อเข้ากับหัวเทียน
ชนิดที่ ๑ ขื่ออยู่กลางห้องมีขนาดเท่ากับ หัวเสา
ชนิดที่ ๒ ขื่ออยู่หัวท้ายของเรือนติดกับฝา หุ้มกลอง ขนาดใหญ่กว่าหัวเสาเท่ากับ ๕ x ๒๕ เซนติเมตร ปลายบนด้านนอกของขื่อนี้ปาดเฉียง ลง เพื่อรับกลอนปีกนก เรียกขื่อนี้ว่า ขื่อเผล้ ขื่อเพล่ยังมีหน้าที่ช่วยหยุดหรือจับฝาอุด หน้ากลองด้านบน ซึ่งฝาด้านยาวนั้น แปหัวเสา ทำหน้าที่ช่วยยึดอยู่
๑๘. ดั้ง
มี ๒ ชนิด
๑. ชนิดไม้เหลี่ยมแบนขนาดโคน ๕x๒๐ เซนติเมตร ปลาย ๕x๑๒ เซนติเมตร ยึดอกไก่กับขื่อ ปลายล่างของดั้งติดกับขื่อโดยเข้า เดือยเข็น เรียกว่า ดั้งแขวน
มี ๒ ชนิด
๑. ชนิดไม้เหลี่ยมแบนขนาดโคน ๕x๒๐ เซนติเมตร ปลาย ๕x๑๒ เซนติเมตร ยึดอกไก่กับขื่อ ปลายล่างของดั้งติดกับขื่อโดยเข้า เดือยเข็น เรียกว่า ดั้งแขวน
๒.
ชนิดไม้กลมยาวคล้ายเสา มีเส้น ผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ตั้งอยู่กึ่งกลางรอด โดยบากอมรอดยาวถึงขื่อ เลย ขื่อเป็นชนิดแบน เรียกส่วนกลม
ของดั้งนี้ว่า เสาดั้ง
๑๙.
อกไก่
คือ ไม้สักเหลี่ยมรูปข้าวหลาม ตัด ยาวตลอดเรือนและยื่นหัวท้ายอีกข้างละ ประมาณ ๖๐-๗๕ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหน้าจั่ว ดั้ง และจันทันตั้งอยู่บนยอดสุดของหลังคา และ ยังให้หลบหลังคานั่งทับ
คือ ไม้สักเหลี่ยมรูปข้าวหลาม ตัด ยาวตลอดเรือนและยื่นหัวท้ายอีกข้างละ ประมาณ ๖๐-๗๕ เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหน้าจั่ว ดั้ง และจันทันตั้งอยู่บนยอดสุดของหลังคา และ ยังให้หลบหลังคานั่งทับ
๒๐.
จันทัน
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๕x๒๕ เซนติเมตร แต่งรูปอ่อนช้อยตามแบบ อยู่ระหว่างสองข้างของสามเหลี่ยมโครงหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนัก ของหลังคา ที่ถ่ายทอดมา ยังกลอนและแป จันทันนี้ มีอยู่เฉพาะส่วนของ ห้องที่ไม่มีหน้าจั่ว และใช้กับดั้งแขวนเท่านั้น ส่วนห้องที่มีหน้าจั่วให้แผงหน้าจั่วรับน้ำหนัก จากหลังคาแทนจันทัน
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๕x๒๕ เซนติเมตร แต่งรูปอ่อนช้อยตามแบบ อยู่ระหว่างสองข้างของสามเหลี่ยมโครงหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนัก ของหลังคา ที่ถ่ายทอดมา ยังกลอนและแป จันทันนี้ มีอยู่เฉพาะส่วนของ ห้องที่ไม่มีหน้าจั่ว และใช้กับดั้งแขวนเท่านั้น ส่วนห้องที่มีหน้าจั่วให้แผงหน้าจั่วรับน้ำหนัก จากหลังคาแทนจันทัน
๒๑. แป
เฉพาะเรือนไทยมี ๒ ชนิด ได้แก่
๑. แปหัวเสา คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ประมาณ ๑๐x๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอดหลังคา ทำหน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องกับห้องโดยการ วางทับบากอมกับขื่อ รับน้ำหนักจากกลอน แป หัวเสายังทำหน้าที่ยึดและรับน้ำหนักของแผง หน้าจั่ว ช่วยเป็นส่วนหยุดของฝาตอนบนด้าน ยาวของเรือน
เฉพาะเรือนไทยมี ๒ ชนิด ได้แก่
๑. แปหัวเสา คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ประมาณ ๑๐x๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอดหลังคา ทำหน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องกับห้องโดยการ วางทับบากอมกับขื่อ รับน้ำหนักจากกลอน แป หัวเสายังทำหน้าที่ยึดและรับน้ำหนักของแผง หน้าจั่ว ช่วยเป็นส่วนหยุดของฝาตอนบนด้าน ยาวของเรือน
๒. แปลาน
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๑๐
เซนติเมตร พาดอยู่ระหว่างจันทันกับ แผงหน้าจั่วยาวตลอดเรือนเท่ากับอกไก่ ทำหน้าที่
รับน้ำหนักจากกลอนถ่ายสู่จันทัน
๒๒. กลอน
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร วางขวางพาดอยู่กับแป ระยะห่างระหว่างกลอนกับกลอนประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กลอนมีหลายชนิด ได้แก่
๑. กลอนสำหรับหลังคาจาก เป็น กลอนเรียบเจาะรูข้างหนึ่ง ระยะห่างของรูประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับใช้ตอกร้อยมัดกับจาก ติดกับแปด้วยการตอกสลับกับไม้แสม ปลาย ด้านบนขวาเข้าเดือยหางเหยี่ยวติดกับอกไก่ ปลายด้านล่างตอกติดกับตะพานหนู
๒. กลอนสำหรับหลังคามุงกระเบื้อง เรียกว่า กลอนขอ เป็นรูปหยักบากเพื่อให้ระแนง วางทับ ระยะห่างของช่วงบากประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร มีทั้งแบบบากทุกช่วงกับแบบบาก ๑ ช่วง เว้น ๑ ช่วงสลับกันไป
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร วางขวางพาดอยู่กับแป ระยะห่างระหว่างกลอนกับกลอนประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กลอนมีหลายชนิด ได้แก่
๑. กลอนสำหรับหลังคาจาก เป็น กลอนเรียบเจาะรูข้างหนึ่ง ระยะห่างของรูประมาณ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับใช้ตอกร้อยมัดกับจาก ติดกับแปด้วยการตอกสลับกับไม้แสม ปลาย ด้านบนขวาเข้าเดือยหางเหยี่ยวติดกับอกไก่ ปลายด้านล่างตอกติดกับตะพานหนู
๒. กลอนสำหรับหลังคามุงกระเบื้อง เรียกว่า กลอนขอ เป็นรูปหยักบากเพื่อให้ระแนง วางทับ ระยะห่างของช่วงบากประมาณ ๑๐-๑๒ เซนติเมตร มีทั้งแบบบากทุกช่วงกับแบบบาก ๑ ช่วง เว้น ๑ ช่วงสลับกันไป
กลอนขอนี้ตอกติดกับแปโดยตะปู
เหลี่ยมแบน แต่ไม่ตอกทุกช่วง ตอกเป็นจังหวะห่างๆ
๒๓.
ระแนง
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๒.๕x ๒.๕ เซนติเมตร วางตามยาวของหลังคา ขนาน กับอกไก่ ใช้สำหรับหลังคาเรือนที่มุงด้วย กระเบื้อง ระยะห่างของระแนงประมาณ ๑๐- ๑๒ เซนติเมตร วางบนกลอนขอทำหน้าที่รองรับ กระเบื้อง และถ่ายน้ำหนักลงยังกลอน ติดกับ กลอนโดยใช้หลักไม้แสม
๒๔. เชิงชาย
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๒๐ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ปลายเต้า ยาวรอบชายคา ทำหน้าที่รับตะพานหนู และรับน้ำหนักทั้งหมด จากปลายกลอน
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๒.๕x ๒.๕ เซนติเมตร วางตามยาวของหลังคา ขนาน กับอกไก่ ใช้สำหรับหลังคาเรือนที่มุงด้วย กระเบื้อง ระยะห่างของระแนงประมาณ ๑๐- ๑๒ เซนติเมตร วางบนกลอนขอทำหน้าที่รองรับ กระเบื้อง และถ่ายน้ำหนักลงยังกลอน ติดกับ กลอนโดยใช้หลักไม้แสม
๒๔. เชิงชาย
คือ ไม้เหลี่ยมขนาด ๕x๒๐ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ปลายเต้า ยาวรอบชายคา ทำหน้าที่รับตะพานหนู และรับน้ำหนักทั้งหมด จากปลายกลอน
๒๕.
ตะพานหนู
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ติดอยู่ด้านบนของเชิงชาย และยึดปลายกลอน ใช้ช่วยรับส่วนยื่นของ กระเบื้องหรือจากให้พ้นแนวของเชิงชาย ทำให้น้ำฝนไหลพุ่งออกไปด้านนอก ช่วยทำให้ เชิงชายไม่ผุกร่อนได้ง่าย
คือ ไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ติดอยู่ด้านบนของเชิงชาย และยึดปลายกลอน ใช้ช่วยรับส่วนยื่นของ กระเบื้องหรือจากให้พ้นแนวของเชิงชาย ทำให้น้ำฝนไหลพุ่งออกไปด้านนอก ช่วยทำให้ เชิงชายไม่ผุกร่อนได้ง่าย
๒๖.
ปั้นลม
คือ แผ่นไม้แบนขนาดหนา ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ติดอยู่บนปลายแปหัวเสา แปลาน อกไก่ มีหน้าที่ปิดชายคาด้านสกัดหัวท้าย เพื่อป้องกันลมตีจากหรือกระเบื้อง ส่วนล่างของปั้นลม แต่งรูปเป็นแบบตัวเหงา เรียกว่า เหงาปั้นลม หรือแต่งเป็นรูปหางปลา การติดใช้ตะปูตอก จากใต้แปให้ทะลุไปติดปั้นลม
คือ แผ่นไม้แบนขนาดหนา ๒.๕ - ๓ เซนติเมตร ติดอยู่บนปลายแปหัวเสา แปลาน อกไก่ มีหน้าที่ปิดชายคาด้านสกัดหัวท้าย เพื่อป้องกันลมตีจากหรือกระเบื้อง ส่วนล่างของปั้นลม แต่งรูปเป็นแบบตัวเหงา เรียกว่า เหงาปั้นลม หรือแต่งเป็นรูปหางปลา การติดใช้ตะปูตอก จากใต้แปให้ทะลุไปติดปั้นลม
๒๗.
หน้าจั่ว
คือ แผงไม้รูปสามเหลี่ยม สร้างขึ้นจากองค์ประกอบของชิ้นไม้ในลักษณะ ต่างๆ ใช้ประกบปิดตรงส่วนที่เป็นโพรงของ หลังคาทางด้านสกัดหรือด้านขื่อของเรือน เพื่อ ป้องกันลม แดด และฝน หน้าจั่วที่นิยมทำมีดังนี้
คือ แผงไม้รูปสามเหลี่ยม สร้างขึ้นจากองค์ประกอบของชิ้นไม้ในลักษณะ ต่างๆ ใช้ประกบปิดตรงส่วนที่เป็นโพรงของ หลังคาทางด้านสกัดหรือด้านขื่อของเรือน เพื่อ ป้องกันลม แดด และฝน หน้าจั่วที่นิยมทำมีดังนี้
ก.
จั่วลูกฟัก หรือจั่วพรหมพักตร์ แบ่งหน้าจั่วโดยมีแนวนอนและแนวตั้งสลับกัน
คล้ายฝาปะกน แต่ขนาดใหญ่กว่า และขยายส่วน ไปตามแนวนอน
ข.
จั่วรูปพระอาทิตย์ มีรูปลักษณะคล้าย พระอาทิตย์ครึ่งดวง เส้นรัศมีพระอาทิตย์ทำด้วย
ไม้แบน และเว้นช่องให้อากาศถ่ายเท นิยมใช้ กับจั่วเรือนครัวไฟ
ค. จั่วใบปรือ จั่วชนิดนี้มีตัวแผง ประกอบด้วยแผ่นไม้ขนาดเล็กเรียงซ้อนทาง แนวนอน นิยมใช้กับเรือนนอน และเรือนครัวไฟ ถ้าเป็นเรือนครัวไฟ ส่วนบนต้องเว้นช่องให้ อากาศถ่ายเทได้
ค. จั่วใบปรือ จั่วชนิดนี้มีตัวแผง ประกอบด้วยแผ่นไม้ขนาดเล็กเรียงซ้อนทาง แนวนอน นิยมใช้กับเรือนนอน และเรือนครัวไฟ ถ้าเป็นเรือนครัวไฟ ส่วนบนต้องเว้นช่องให้ อากาศถ่ายเทได้
๒๘.
หลังคา
คือ ชิ้นส่วนที่เป็นผืน ทำหน้าที่กันแดดและฝนให้กับตัวเรือน ใช้วัสดุ ได้หลายอย่างประกอบกันเข้า (มุง) ซึ่งแล้วแต่ความพอใจ และความสะดวกของเจ้าของ วัสดุที่ใช้มุง ได้แก่
ก. กระเบื้อง มีหลายแบบและหลาย ขนาด ทำจากดินเผาสุก เรียกชื่อตามลักษณะ ของรูปร่าง เช่น กระเบื้อหางมน กระเบื้องหางตัด กระเบื้องขอ ความหนาประมาณ ๐.๐๕-๐.๐๘ เซนติเมตร เป็นชนิดตัวผู้และตัวเมีย
ข. จาก ทำจากใบต้นจาก แผ่และจัด เข้าเป็นตับ โดยมีไม้ไผ่เหลาเป็นแกน
ค. แฝก
ง. หญ้าคา
วัสดุดังกล่าวนี้ หาได้ง่ายโดยมีอยู่ใน ท้องถิ่น ถ้ามุงด้วยกระเบื้องจะดูดซึมความ ร้อนมากกว่ามุงด้วยจากและแฝก
คือ ชิ้นส่วนที่เป็นผืน ทำหน้าที่กันแดดและฝนให้กับตัวเรือน ใช้วัสดุ ได้หลายอย่างประกอบกันเข้า (มุง) ซึ่งแล้วแต่ความพอใจ และความสะดวกของเจ้าของ วัสดุที่ใช้มุง ได้แก่
ก. กระเบื้อง มีหลายแบบและหลาย ขนาด ทำจากดินเผาสุก เรียกชื่อตามลักษณะ ของรูปร่าง เช่น กระเบื้อหางมน กระเบื้องหางตัด กระเบื้องขอ ความหนาประมาณ ๐.๐๕-๐.๐๘ เซนติเมตร เป็นชนิดตัวผู้และตัวเมีย
ข. จาก ทำจากใบต้นจาก แผ่และจัด เข้าเป็นตับ โดยมีไม้ไผ่เหลาเป็นแกน
ค. แฝก
ง. หญ้าคา
วัสดุดังกล่าวนี้ หาได้ง่ายโดยมีอยู่ใน ท้องถิ่น ถ้ามุงด้วยกระเบื้องจะดูดซึมความ ร้อนมากกว่ามุงด้วยจากและแฝก
เรือนที่มุงด้วยกระเบื้อง
จาก หรือแฝก ส่วนบนสุดของหลังคา คือ ส่วนสันอกไก่นั้นจะมี รอยร่อง
จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนปิดรอยนี้เพื่อกัน น้ำฝนรั่ว
ถ้ามุงด้วยกระเบื้องใช้กระเบื้องครอบ
เป็นส่วนปิด ถ้ามุงด้วยจากหรือแฝก ใช้หลบจาก หรือหลบแฝก เป็นส่วนครอบ
ส่วนนี้จะทำเป็น พิเศษเพื่อกันน้ำฝนรั่วไหลเข้า
๒๙. ไขรา
คือ ส่วนของหลังคาที่ยื่นมา จากฝาหรือจากหน้าจั่วออกไป อยู่ตรงกันสาด ที่ยื่นจากฝา เรียกว่า ไขรากันสาด อยู่ตรงหน้าจั่ว เรียกว่า ไขราหน้าจั่ว อยู่ตรงปีกนก เรียกว่า ไขราปีกนก
๓๐. คอสอง
คือ ส่วนบนของฝา ระยะ ต่ำจากแปหัวเสาหรือขื่อลงมาประมาณ ๕๐ เซนติเมตร (๑ ศอก) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมโดย รอบของเรือน
๓๑. ร่องตีนช้าง
คือ ส่วนล่างของฝา ระหว่างบนพรึงถึงกรอบเช็ดหน้า (ใต้หน้าต่าง) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมคล้ายคอสอง ระยะของ ร่องตีนช้างประมาณ ๔๓.๗๔๓ เซนติเมตร (๑ คืบ ๙ นิ้ว) มีรอบตัวเรือน
๒๙. ไขรา
คือ ส่วนของหลังคาที่ยื่นมา จากฝาหรือจากหน้าจั่วออกไป อยู่ตรงกันสาด ที่ยื่นจากฝา เรียกว่า ไขรากันสาด อยู่ตรงหน้าจั่ว เรียกว่า ไขราหน้าจั่ว อยู่ตรงปีกนก เรียกว่า ไขราปีกนก
๓๐. คอสอง
คือ ส่วนบนของฝา ระยะ ต่ำจากแปหัวเสาหรือขื่อลงมาประมาณ ๕๐ เซนติเมตร (๑ ศอก) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมโดย รอบของเรือน
๓๑. ร่องตีนช้าง
คือ ส่วนล่างของฝา ระหว่างบนพรึงถึงกรอบเช็ดหน้า (ใต้หน้าต่าง) เป็นช่องลูกฟักสี่เหลี่ยมคล้ายคอสอง ระยะของ ร่องตีนช้างประมาณ ๔๓.๗๔๓ เซนติเมตร (๑ คืบ ๙ นิ้ว) มีรอบตัวเรือน
๓๒.
ช่องแมวลอด
คือ ช่องว่างระหว่างพื้นห้องนอนกับพื้นระเบียง หรือช่องว่างระหว่างพื้นระเบียงกับพื้นชาน ระยะประมาณ ๔๐ เซนติเมตร มีความยาวตลอดตัวเรือน มีประโยชน์ เพื่อเป็นที่ให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุน ขึ้นบนเรือน และเป็นที่ทำให้อากาศภายในไหลผ่านช่องนี้ได้ เกิดความรู้สึกโล่งโปร่ง ใช้ไม้ขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ตีอันเว้นอันปิดช่องเพื่อกันสิ่งของตก
คือ ช่องว่างระหว่างพื้นห้องนอนกับพื้นระเบียง หรือช่องว่างระหว่างพื้นระเบียงกับพื้นชาน ระยะประมาณ ๔๐ เซนติเมตร มีความยาวตลอดตัวเรือน มีประโยชน์ เพื่อเป็นที่ให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุน ขึ้นบนเรือน และเป็นที่ทำให้อากาศภายในไหลผ่านช่องนี้ได้ เกิดความรู้สึกโล่งโปร่ง ใช้ไม้ขนาด ๑.๕x๗.๕ เซนติเมตร ตีอันเว้นอันปิดช่องเพื่อกันสิ่งของตก
๓๓.
ประตูห้อง
คือ ทางเข้าออกระหว่าง ห้องนอน ห้องครัว กับระเบียง ความกว้าง เท่ากับ ๓ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ประตูนี้ส่วน ล่างกว้าง ส่วนบนสอบเล็กกว่า ความเอียงสัมพันธ์ กับส่วนล้มสอบของฝาเรือน ประกอบด้วย กรอบ เช็ดหน้า บานประตู และเดือย ธรณีประตู และ คานคู่
๓๔. ประตูรั้วชาน
คือ ทางเข้าออกระหว่าง ชานกับบริเวณบ้านโดยมีบันไดเป็นตัวกลาง มี ความกว้างเท่ากับ ๔ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนประตูห้อง แต่มีซุ้มหลังคาข้างบน เพื่อกันฝนสาดทำให้บาน ประตูผุ และเน้นทางขึ้น ให้มีความสำคัญ และน่าดูยิ่งขึ้น
๓๕. หน้าต่าง
คือ ส่วนประกอบของฝา เรือนที่ทำติดเป็นส่วนเดียวกัน แต่เป็นช่อง เจาะให้แสงสว่าง อากาศ และลมผ่านเข้าได้ รวมทั้ง เป็นช่องให้สายตาของผู้อยู่ภายในห้อง มองผ่านออกไปภายนอก ช่องนี้สามารถควบคุม การปิดเปิดได้โดยตัวบาน ซึ่งทั้งหมดประกอบ ด้วย
ก. กรอบเช็ดหน้า หมายถึง วงขอบ รอบนอกของบาน (วงกบ) เป็นไม้เหลี่ยมแบน ขนาดประมาณ ๓.๕-๕ x ๑๒.๕ เซนติเมตร วางประกอบตามส่วนแบน ทำมุม ๔๕ องศา เซาะร่องบัวประดับ ส่วนล่างกว้างกว่าส่วนบน ล้มสอบตามแนวของฝาเป็นหลัก
ข. ตัวบาน ใช้แผ่นไม้หนาประมาณ ๓ เซนติเมตร แบ่งเป็น ๒ แผ่นต่อ ๑ บาน มุม สุดบนและล่างมีเดือยเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ยาว ๒.๕ เซนติเมตร (แบบเดือยไม่ทะลุ) และ ยาว ๖ เซนติเมตร (แบบเดือยทะลุ) สอดใส่ในรูของธรณีหน้าต่าง แทนบานพับ
ค. ธรณีหน้าต่าง ใช้ไม้เหลี่ยมขนาด หนา ๓.๕ - ๕ x ๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอด ความกว้างของหน้าต่าง และเลยออกไปข้างละ ๑๐ เซนติเมตร ติดกับฝาด้วยตะปูจีน หรือลิ่ม ไม้แสม (ขนาดลิ่มไม้เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร)
คือ ทางเข้าออกระหว่าง ห้องนอน ห้องครัว กับระเบียง ความกว้าง เท่ากับ ๓ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ประตูนี้ส่วน ล่างกว้าง ส่วนบนสอบเล็กกว่า ความเอียงสัมพันธ์ กับส่วนล้มสอบของฝาเรือน ประกอบด้วย กรอบ เช็ดหน้า บานประตู และเดือย ธรณีประตู และ คานคู่
๓๔. ประตูรั้วชาน
คือ ทางเข้าออกระหว่าง ชานกับบริเวณบ้านโดยมีบันไดเป็นตัวกลาง มี ความกว้างเท่ากับ ๔ ฝ่าเท้าของเจ้าของเรือน ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนประตูห้อง แต่มีซุ้มหลังคาข้างบน เพื่อกันฝนสาดทำให้บาน ประตูผุ และเน้นทางขึ้น ให้มีความสำคัญ และน่าดูยิ่งขึ้น
๓๕. หน้าต่าง
คือ ส่วนประกอบของฝา เรือนที่ทำติดเป็นส่วนเดียวกัน แต่เป็นช่อง เจาะให้แสงสว่าง อากาศ และลมผ่านเข้าได้ รวมทั้ง เป็นช่องให้สายตาของผู้อยู่ภายในห้อง มองผ่านออกไปภายนอก ช่องนี้สามารถควบคุม การปิดเปิดได้โดยตัวบาน ซึ่งทั้งหมดประกอบ ด้วย
ก. กรอบเช็ดหน้า หมายถึง วงขอบ รอบนอกของบาน (วงกบ) เป็นไม้เหลี่ยมแบน ขนาดประมาณ ๓.๕-๕ x ๑๒.๕ เซนติเมตร วางประกอบตามส่วนแบน ทำมุม ๔๕ องศา เซาะร่องบัวประดับ ส่วนล่างกว้างกว่าส่วนบน ล้มสอบตามแนวของฝาเป็นหลัก
ข. ตัวบาน ใช้แผ่นไม้หนาประมาณ ๓ เซนติเมตร แบ่งเป็น ๒ แผ่นต่อ ๑ บาน มุม สุดบนและล่างมีเดือยเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ยาว ๒.๕ เซนติเมตร (แบบเดือยไม่ทะลุ) และ ยาว ๖ เซนติเมตร (แบบเดือยทะลุ) สอดใส่ในรูของธรณีหน้าต่าง แทนบานพับ
ค. ธรณีหน้าต่าง ใช้ไม้เหลี่ยมขนาด หนา ๓.๕ - ๕ x ๑๐ เซนติเมตร ยาวตลอด ความกว้างของหน้าต่าง และเลยออกไปข้างละ ๑๐ เซนติเมตร ติดกับฝาด้วยตะปูจีน หรือลิ่ม ไม้แสม (ขนาดลิ่มไม้เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร)
ง. หย่อง
เป็นแผงไม้ที่ติดอยู่ตรงส่วน ล่างของช่องหน้าต่าง แกะเป็นลวดลายหรือ ฉลุโปร่ง
หนาประมาณ ๒ เซนติเมตร สูง ๒๐ - ๒๕ เซนติเมตร
จ. อกเลา
คือ ไม้เหลี่ยมสันทาบอยู่ที่ บานประตูหรือหน้าต่าง เฉพาะของหน้าต่าง ใช้ขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ยาวตลอดบาน ทาบ
ติดอยู่กับบานหน้าต่างบานหนึ่ง เพื่อบังช่องที่บาน หน้าต่างทั้งสองบานมาประกับกัน
ฉ. คานเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นกลอนติด อยู่ส่วนกลางของบานหน้าต่าง เป็นไม้เหลี่ยม ขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร มีไม้รัดทาบกับตัวบานข้างละอัน
ช. กบ เป็นกลอนของหน้าต่างเช่นกัน แต่ติดอยู่ส่วนล่าง เป็นไม้แบนขนาดหนา ๑x๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เจาะตัว ธรณีประตูให้เป็นร่อง เมื่อปิดบานสนิทแล้ว จึงใส่กบลงไป
ฉ. คานเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นกลอนติด อยู่ส่วนกลางของบานหน้าต่าง เป็นไม้เหลี่ยม ขนาด ๓ x ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร มีไม้รัดทาบกับตัวบานข้างละอัน
ช. กบ เป็นกลอนของหน้าต่างเช่นกัน แต่ติดอยู่ส่วนล่าง เป็นไม้แบนขนาดหนา ๑x๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร เจาะตัว ธรณีประตูให้เป็นร่อง เมื่อปิดบานสนิทแล้ว จึงใส่กบลงไป
๓๖.
บันได
ส่วนประกอบของบันได คือ ลูกขั้นตามแนวนอน กับแม่บันไดตามแนวตั้ง ใช้สำหรับขึ้นจากพื้นดิน ไปสู่ชาน บันไดแบบเดิมวางพาดกับพื้นและขอบพรึง ทำชักขึ้นเก็บบนนอกชานได้เมื่อเวลาค่ำคืน เพราะช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้บ้าง จากสัตว์ร้ายหรือขโมย ลูกขั้นกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร แม่บันไดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือไม้เหลี่ยมลูกขั้นขนาด ๓.๕ x ๗.๕ เซนติเมตร แม่บันไดขนาด ๕ x ๑๐ เซนติเมตร เจาะทะลุสอดเข้าเป็นขั้นๆ ระยะ ห่างพอก้าวขึ้นสะดวก
ส่วนประกอบของบันได คือ ลูกขั้นตามแนวนอน กับแม่บันไดตามแนวตั้ง ใช้สำหรับขึ้นจากพื้นดิน ไปสู่ชาน บันไดแบบเดิมวางพาดกับพื้นและขอบพรึง ทำชักขึ้นเก็บบนนอกชานได้เมื่อเวลาค่ำคืน เพราะช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้บ้าง จากสัตว์ร้ายหรือขโมย ลูกขั้นกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร แม่บันไดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือไม้เหลี่ยมลูกขั้นขนาด ๓.๕ x ๗.๕ เซนติเมตร แม่บันไดขนาด ๕ x ๑๐ เซนติเมตร เจาะทะลุสอดเข้าเป็นขั้นๆ ระยะ ห่างพอก้าวขึ้นสะดวก
ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น
หรือบ้านตั้งอยู่ ในที่ชุมชน ห่างไกลจากสัตว์ป่า จึงทำบันไดแบบ ติดกับที่
เป็นชนิดแข็งแรง และขึ้นลงได้สะดวกกว่าแบบเก่า มีลักษณะเป็นแผ่นไม้แบนขนาด ประมาณ
๓.๕ - ๕ x ๒๐ เซนติเมตร แม่บันได ขนาด ๕ x ๒๐ เซนติเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น