3. กีฬาเซปักตะกร้อ

ประวัติกีฬาตะกร้อต่างประเทศ
กีฬาเซปักตะกร้อ
การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ
เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด
แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน
เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร
ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออก
กำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี
มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น
ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด
จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310
พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า
“ชิงลง”
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า
ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์
ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่
ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน
ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่
แต่เรียกว่าเตกโก (Tek
K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี
ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป
คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน
และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
ประวัติกีฬาตะกร้อในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด
โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ
แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่
2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ
และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์
ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ
คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่
หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย
อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง
ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า
, หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์
( พลาสติก )
ความหมาย คำว่าตะกร้อ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า
” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “
วิวัฒนาการการเล่นกีฬาตะกร้อ
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง
ในสมัยแรกๆ
ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ
ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่
มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ
จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม
อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท
เช่น
ตะกร้อข้ามตาข่าย –
ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลง
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ.ศ. 2472
กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ.ศ. 2476
สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2479
ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ.ศ. 2480
ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ
เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2502
มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ
มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน
นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก
บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น
จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย
หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย
ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
กติกาการเล่นเซปักตะกร้อ
กีฬาตะกร้อ
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว
มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
2.2 หน้าซ้าย
2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน
และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้
ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง
ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน
เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2
ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง
เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา
หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ
ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3
เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต
จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1
เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก
โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6
คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน
ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก
เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1
ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
แนะนำอุปกรณ์กีฬาตะกร้อ
ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน
( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร
ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย
เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร
โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม
ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง
ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 เส้นเสี้ยววงกลม
ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง
เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร
ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.6 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร
โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร
และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง
ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา (
THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง
โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4
เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา
ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง ห่างจากเส้นข้าง 30
เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย
( THE NET )
3.1
ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน
มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร
ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5
เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า
“แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร
ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก ไนล่อนอย่างดี
ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา
ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร )
และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร )
ข้อที่ 4
ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม
ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น
ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร)
น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม
และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
แนะนำการดูกีฬาตะกร้อ
มารยาทในการเล่นที่ดี
การเล่นกีฬาทุกชนิด
ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน
ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท
จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
1. การแสดงความยินดี
ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง
หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน
ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา
การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ
หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8. หากมีการเล่นผิดพลาด
จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9. ต้องแต่งกายรัดกุม
สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา
มารยาทของผู้ชมที่ดี
1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี
หรือชนะการแข่งขัน
3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย
สร้างความแตกแยก
6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม
นักกีฬา หรือกรรมการ
7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน
เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ
พอสมควร
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ
ตะกร้อเป็นกีฬาไทยที่เล่นกันแพร่หลายมานานนับศตวรรษ
ไม่ว่าจะเป็นตามชนบท ในวัด ในวัง ในเมือง จะพบเห็นการเล่นตะกร้อเสมอ
เพราะตะกร้อไม่ต้องใช้บริเวณพื้นที่กว้างขวางเหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ
อุปกรณ์ก็หาได้ง่าย ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำกัดรูปร่าง เพศหรือวัย ตลอดจนไม่จะกัดผู้เล่นตายตัว
อาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมการเล่นตะกร้อจึงได้รับความนิยมตลอดมาซึ่งผู้เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่นทั้งทางตรงและทางอ้อมนับอเนกประการดังนี้
1 )
ตะกร้อเป็นกีฬาที่ประหยัด ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้
ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี
2 )
การเล่นตะกร้อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและที่สำคัญผู้ที่เล่นตะกร้อยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่ส่งเสริมกีฬาศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติอีกด้วย
3 )
การเล่นตะกร้อยังเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาปะเภทอื่นได้เป็นอย่างดี
เพราะทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ
โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน
สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย
4 ) การเล่นตะกร้อสามารถเล่นคนเดียวก็ได้
หรือถ้ามีผู้เล่นมากขึ้นก็สามารถปรับการเล่นได้ตามความเหมาะสม
อันตรายจากการเล่นตะกร้อนั้นมีน้อยมาก เพราะจะไม่มีการปะทะหรือถูกต้องตัวกันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง
หรือแม้แต่อุปกรณ์การเล่น ก็มิได้ทำให้เกิดอันตราย
ถ้าผู้เล่นรู้จักสังเกตว่ามีอุปกรณ์ใดชำรุดก็ปรับเปลี่ยนหรือซ่อมแซมให้พร้อมก่อนที่จะเล่น
การเคลื่อน ที่ด้วยความระมัดระวังก็จะทำให้เกิดการหกล้มเสียหลักได้ยาก
และการเล่นตะกร้อนั้นสามารถใช้อวัยวะได้หลายส่วน
ทำให้ไม่เกิดการบอบช้ำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วย
5 ) การเล่นตะกร้อ เป็นการฝึกให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว
ปราดเปรียว
เพราะต้องมีความระมัดระวังตัวและเตรียมตัวพร้อมที่จะเข้าเล่นลูกในลักษณะต่างๆ
อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวก็ต้องกระทำด้วยความรวดเร็วกระฉับกระเฉง
เพื่อให้ทันกับจังหวะที่จะเล่นลูก
6 )
การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกให้เป็นผู้ที่มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุม รอบคอบ
เพราะการเล่นหรือการเตะลูกแต่ละครั้งจะต้องอาศัยสมาธิ และความตั้งใจอย่างแน่วแน่
ถ้าหากใจร้อนหรือลุกลี้ลุกลน การเตะแต่ละครั้งก็จะเสียไป ทำให้เล่นผิดพลาดได้บ่อยๆ
ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะพ่ายแพ้แก่คู่แข่งขันได้ง่าย
7 ) การเล่นตะกร้อเป็นการฝึกการตัดสินใจ
เพราะก่อนการเล่นลูกทุกครั้งจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทาง ความเร็ว
ความแรงและลักษณะการหมุนของลูก
ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าต้องเล่นลูกด้วยท่าใด ส่งลูกไปยังทิศทางใด
การกะระยะส่งลูก เป็นต้น
8 )
การเล่นตะกร้อจะช่วยประสานหน้าที่ของอวัยวะในร่างกายให้มีระบบการทำงานดีขึ้น
และเป็นการฝึกประสาทได้เป็นอย่างดี
เพราะการเล่นลูกแต่ละครั้งต้องอาศัยระหว่างความสัมพันธ์
ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ
เพื่อทำให้การเตะและการเล่นลูกเป็นไปอย่างราบรื่น นิ่มนวลและได้จังหวะ ทั้งจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบ
มีการแก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นเพื่อแข่งขัน
จะต้องมีการวางแผนการเล่นโดยอาศัยปัจจัยหลายประการ
เนื่องจากการแข่งขันจะชี้ได้ว่าใครมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบดีกว่าหรือมากกว่ากัน
9 )
การเล่นตะกร้อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและผู้ชม
การร่วมวงเล่นตะกร้อมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น
หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ
จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น
เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น
ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ
นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
10 )
การเล่นตะกร้อนั้นเล่นได้ไม่จำกัดเวลา
คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น
11 )
กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่ อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง
ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก
ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่น ๆ
12 )
ตะกร้อเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย
เพราะเป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป
สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้
ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น
ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย
นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง
หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้
https://trakor.wikispaces.com/ประโยชน์ของกีฬาเซปักตะดร้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น