วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

พรบ.คอมพิวเตอร์ (เสรี สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์)

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สารสนเทศ
ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์
          หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน หรือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

การกระทำที่ผิดจริยธรรม
          1.การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย หรือก่อความรำคาญ
          2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
          3.การเข้าถึงข้อมูลหรือใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
          4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)
          1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
          - การเข้าไปดูข้อความใน E-mail
          - การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความ เคลื่อนไหวหรือพฤติกรรม
          - การใชข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
          - การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่เมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัว
          2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
          3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
          4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility

การกระทำผิดจริยธรรมและผิดกฎหมาย
- การละเมิดลิขสิทธิ์ปลอมแปลง เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
- ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียงลามกอนาจารและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
- ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
- ไปก่อกวน ทำลายระบบสาธารณูปโภคเช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร
- หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
          พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กฎหมายลขิสทิธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลขิสทิธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ งานนั้นเป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
          การละเมิดลิขสิทธิ์ ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
          ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
          - วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          - ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          - ติชม วิจารณ์หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ใน โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          - เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

          พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.2544 พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional – equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิท ธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับ ใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่แล้วมิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้ กฎหมายฉบับอื่น

          พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550
ลักษณะความผิด
          1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
          - การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
          - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
          - การรบกวนระบบ (มาตรา 10)
          2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพวิเตอร์
          - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
          - การดักข้อมูล (มาตรา 8)
          - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
          - สแปมเมล์ (มาตรา 11)
          - การน าเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
          - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
          3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
          4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
          5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)
          6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

ตัวอย่างมาตราการกระทำผิด
1. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
          มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
          โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
          มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผุ้อื่น
          โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
3. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
          มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ มาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
          โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
4. การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
          มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่อยู่ระหว่างการส่งใน ระบบคอมพิวเตอร์และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อ ให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได
          โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
5. การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์
          มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหายทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
          โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. สแปมเมล์(Spam Mail)
          มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอม แปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าวอันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
          โทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ข้อแนะนำสำหรับผู้ ใช้บริการ
- อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น
- อย่านำ user ID และ password ของบุคคล อื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
- อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
- อย่าให้ บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
- การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบ ป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับ อนุญาต


เอกสารอ้างอิง https://e.edim.co/14589017/ch-15_1.pdf?response-content-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น