ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ
ของทุกระบบในร่างกายให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนี้ระบบประสาทยังเป็นแหล่งที่มาของความคิด
ความรู้สึก สติปัญญา ความฉลาดไหวพริบ การตัดสินใจ
การใช้เหตุผลและการแสดงอารมณ์อีกด้วย
เซลล์ประสาท
ร่างกายคนมีเซลล์ประสาท (nerve cell) หรือ นิวรอน (neuron)
จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง
แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพันๆ เซลล์
สามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณ
ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ
เซลล์ประสาทประกอบด้วย
เดนไดรต์ (dendrite)
เป็นส่วนของตัวเซลล์
ที่ยื่นออกมารับกระแสประสาท จากภายนอกเข้าสู่ตัวเซลล์ แขนงของเดนไดรต์
มีตั้งแต่หนึ่งถึงหลายแขนง และมักมีขนาดสั้น ภายในเดนไดรต์มีนิสส์ลบอดี (nissl
body) และ ไมโทรคอนเดรีย
แอกซอน (axon)
เป็นส่วนของตัวเซลล์
ที่ยื่นออกมาทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทจากตัวเซลล์ ออกไปยังอวัยวะตอบสนอง
หรือเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทอื่น ตัวเซลล์ 1 เซลล์จะมีแอกซอนเพียง 1แขนงและมักมีขนาดยาว
จะถูกหุ้มด้วย เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ชวันน์
(schwann cell) บริเวณรอยต่อของเยื่อไมอีลิน
เป็นส่วนที่คอดเว้า เรียกว่า โนด ออฟ แรนเวียร์ ( node of ranvier )
การเคลื่อนของกระแสประสาทไปบนแอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
จะกระโดดเป็นช่วงๆ (saltatory conduction) ระหว่างโนดออฟแรนเวียร์ที่อยู่ติดต่อกัน
ทำให้นำกระแสประสาทได้เร็วมาก
ชนิดของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาทแบ่งตามลักษณะรูปร่าง ออกได้ 3 ประเภท คือ
1.เซลล์ประสาทขั้วเดียว( Unipolar neuron ) มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์เพียงเส้นเดียวแล้วแยกออกเป็น
2 กิ่ง กิ่งหนึ่งเป็นเดนไดรต์ อีกกิ่งหนึ่งเป็นแอกซอน
2.เซลล์ประสาทชนิดสองขั้ว(Bipolar neuron) มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์
2เส้นยาวเท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน เส้นหนึ่งเป็นเดนไดรต์
อีกเส้นหนึ่งเป็นแอกซอน
3.เซลล์ประสาทหลายขั้ว( Multipolar neuron ) มีใยออกจากตัวเซลล์หลายเส้น
ประกอบด้วยเดนไดรต์แตกแขนงสั้น ๆ มากมาย และแอกซอนยาวเพียงเส้นเดียว
เซลล์ประสาทแบ่งตามหน้าที่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory
neuron) เป็นเซลล์ประสาทขั้วเดียว หรือสองขั้วทำหน้าที่รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่เซลล์ในสมองและไขสันหลัง
2.เซลล์ประสาทประสานงาน (Association
neuron ) เป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว
ทำหน้าที่เชื่อมโยงกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทนำคำสั่งพบอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง
3.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor neuron) เป็นเซลล์ประสาทหลายขั้วทำหน้าที่นำกระแสประสาทจากเซลล์ในสมองหรือไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติการ
ไซแนปส์ (Synapse)
เซลล์ประสาทไม่ได้อยู่เดี่ยวๆ
แต่จะสานต่อกันเป็นเครือข่าย ปลายแอกซอนของเซลล์ประสาท
อาจแตกออกเป็นกิ่งก้านหลายอัน แล้วไปอยู่ชิดกับตัวเซลล์ประสาทหรือส่วนของ
เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทอื่นหรือเซลล์กล้ามเนื้อหรือหน่วยปฏิบัติงาน
เพื่อถ่ายทอดกระแสประสาท บริเวณที่อยู่ชิดกันนั้นเรียกว่า ไซแนปส์ (synapse)
หน้าที่ของไซแนปส์
1.ทำให้คำสั่งหรือกระแสประสาทเดินทางถ่ายทอดเป็นทางเดียวเท่านั้นช่วยให้ระบบประสาทแผ่กระแสประสาทไปยังส่วนรับคำสั่งได้อย่างเรียบร้อยไม่ยุ่งเหยิงสับสน
2.ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ (amplifying
action) โดยมีการรวมกัน (summation) หรือกระจายกระแสประสาทออก
ทำให้คำสั่งนั้นแผ่กระจายกว้างขวางมากขึ้น
3.ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน (intregative
action) ของคำสั่งต่างๆมีทั้งการเร่ง
การทำงาน ให้มากขึ้น หรือรั้งการทำงานให้ช้าลง
ทำให้อวัยวะตอบสนองทำงานได้อย่างแน่นอนและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ระบบประสาทส่วนกลาง
ระบบประสาทกลาง
หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาทประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม
โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity)และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง
(spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง
(meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศรีษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน
สมอง
สมอง
(Brain)
คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า
encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม
และรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต
สมดุลของเหลงในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังเกี่ยวข้องกับการรู้
ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว และความสามารถอื่นๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
ส่วนประกอบ สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1.สมองส่วนหน้า (Forebrain) มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้ ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory
bulb) – อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่)
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ
แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก สมองส่วนหน้าประกอบด้วย
1.1ซีรีบรัม (Cerebrum) – มีขนาดใหญ่สุด
มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ
เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส
แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น
4 พูดังนี้
– Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก -ความรู้สึก พื้นอารมณ์
– Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน
การดมกลิ่น
– Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
– Parietal lobe ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส
การพูด การรับรส
1.2ทาลามัส (Thalamus) – อยู่เหนือไฮโปทาลามัส
ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง
รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด
ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
1.3ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) – ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัติโนมัติ
และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองและยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
อารมณ์ ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว และการอิ่ม
2.สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า
เป็นสถานีรับส่งประสาท
ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา
กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora
quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
3.สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
3.1พอนส์ (Pons) – อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม
ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น
การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ
การฟัง
3.2เมดัลลา (Medulla) – เป็นสมองส่วนท้ายสุด
เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ
การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
3.3ซีรีเบลลัม (Cerebellum) – อยู่ใต้เซรีบรัม
ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
ไขสันหลัง
(spinal
cord) คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม
ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron)
และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท
ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทส่วนกลาง
(central
nervous
system)หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural
signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย
ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟลกซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง
(central pattern generator)
ระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบประสาทปลายเป็นระบบประสาทซึ่งเชื่อมต่อจากส่วนต่างๆของสมองและไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ประกอบขึ้นด้วย
1.ประสาทสมอง (Cranial
nerve) มี 12 คู่ ทอดออกมาจากพื้นล่างของสมองผ่านรูต่างๆที่พื้นของกะโหลกศีรษะ
ประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก (Sensory nerve) บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
(Motor nerve) บางคู่จะทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว
(Mixed nerve)
Cranial nerve ทั้ง 12 คู่นี้
จะมีชื่อตามตำแหน่งที่ตั้งและตามหน้าที่การทำงาน ได้แก่
เส้นประสาทสมองคู่ที่
1 เส้นประสาทออลแฟกทอรี(olfactory
nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นจากเยื่อจมูกเข้าสู่ออลแฟกเทอรีบัลบ์(olfactory
bulb) แล้วเข้าสู่ออลแฟเทอรีโลบ(olfactory lobe) ของสมองส่วนซีรีบรัมอีกทีหนึ่ง
เส้นประสาทสมองคู่ที่
2 เส้นประสาทออพติก(optic
nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นจากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ(optic
lobe) แล้วส่งไปยังออกซิพิทัลโลบ(occipital lobe) ของซีรีบรัมอีกทีหนึ่ง
เส้นประสาทสมองคู่ที่
3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร์(oculomotor
nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้
และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา
ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย
เส้นประสาทสมองคู่ที่
4 เส้นประสาททรอเคลีย(trochlea
nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้ลูกตามองลงและมองไปทางหางตา
เส้นประสาทสมองคู่ที่
5 เส้นประสาทไตรเจอมินัล(trigerminal
nerve) แบ่งออกเป็น 3 แขนง
ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้นฟัน ปากเหงือก
กลับเข้าสู่สมองส่วนพาเรียทัลโลบ
ทำหน้าที่สั่งการไปควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร
เส้นประสาทสมองคู่ที่
6 เส้นประสทแอบดิวเซนส์(abducens
nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง
เส้นประสาทสมองคู่ที่
7 เส้นประสาทเฟเชียล(facial
nerve) เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีหน้าต่างๆกัน
และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบด้วย
เส้นประสาทสมองคู่ที่
8 เส้นประสาทออดิทอรี(auditoty
nerve) เส้นประสาทรับความรู้สึกแยกเป็น 2 แขนง
แขนงหนึ่งจากคอเคลียของหูทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนเทมพอรัลโลบอีกแขนงหนึ่งนำความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวจากเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล
เข้าสู่ซีรีบรัม
เส้นประสาทสมองคู่ที่
9 เส้นประสาทกลอสโซฟารินเจียล(glossopharyngeal
nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกจากช่องคอ เช่น ร้อน เย็น
และรับรสจากโคนลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัม
ส่วนพาเรียทัลโลบและนำกระแสประสาทสั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยที่เกี่ยวกับการกลืน
และต่อมน้ำลายให้หูให้หลั่งน้ำลาย
เส้นประสาทสมองคู่ที่
10 เส้นประสาทเวกัส(vegus
nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก
ช่องท้อง ส่วนเล้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตา ไปยังกล้ามเนื้อลำคอ
กล่องเสียง อวัยวะภายในช่องปาก และช่องท้อง
เส้นประสาทสมองคู่ที่
11 เส้นประสาทแอกเซสซอรี(accessory
nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตาและไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อคอ
ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่
เส้นประสาทสมองคู่ที่
12 เส้นประสาทไฮโพกลอสวัล(hypoglossal
nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้น
2.ประสาทไขสันหลัง เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด
5บริเวณดังนี้
เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical
never) 8 คู่
เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal
never) 12 คู่
เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar
never) 5 คู่
เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral
never) 5 คู่
เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal
never) 1 คู่
ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic
Nervous System)
เป็นระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก
แต่เซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (involuntary)
หรือการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง
ดังนั้นการทำงานของเซลล์ประสาทอัตโนมัติจึงทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง
เส้นประสาทจากระบบประสาทอัตโนมัติจะกระจายอยู่ตามบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในทุกชนิด
รวมทั้งต่อมต่าง ๆ ทั้งหลายในร่างกายอีกด้วย
ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
1) ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic
nervous System)
ศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง (Spinal
cord) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากบริเวณไขสันหลังตั้งแต่อกจนถึงเอว
ระบบนี้จะทำงานในกรณีที่บุคคลตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน
ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากสถานการณ์เหล่านั้น
ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทซิมพาเธติกทำงาน ได้แก่
ขนลุกตั้งชัน
ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ
เหงื่อออกมาก
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
หัวใจเต้นเร็วและรัว ต่อมอะดรีนัล
(adrenal gland) หรือต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (adrenalin)
เพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย เป็นต้น
2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (parasympathetic
nervous system)
มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมอง (medulla)
และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเธติก กล่าวคือ
เมื่อระบบซิมพาเธติกทำงานสิ้นสุดลง ร่างกายพ้นจากสภาวะฉุกเฉินไปแล้ว
ระบบพาราซิมพาเธติกจะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น
เส้นขนจะราบลง
ชีพจรหัวใจและความดันโลหิตจะกลับคืนสภาพเดิม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ต่อมอะดรีนัลหลั่งฮอร์โมนนอร์อะดีนาลีน (noradrenalin)
เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น