บทที่ 1
บทนำ
“บ้านเรือนไทย”คนไทยเป็นชนชาติที่มีแบบการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นเฉพาะของตนเองเรียก“เรือนไทย”บ้านที่อยู่อาศัยของคนไทยจะสร้างขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ
ดินฟ้าอากาศ สภาพเศรษฐกิจสังคม ความเชื่อในแต่ละภาคแต่ละชุมชน
ตลอดจนใช้วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น
แม้ในปัจจุบันการปลูกเรือนไทยอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากไม้อันเป็นวัสดุหลักหาได้ยากมากขึ้นแค่แบบของเรือนไทยก็ยังคงความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค
ดังนั้นสถาปนิกนักออกแบบที่เป็นนักอนุรักษ์นิยมที่เห็นคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไทยจึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง“สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์” เพื่ออนุรักษ์แบบเรือนไทยไว้คงอยู่ตลอดไป “การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมประเพณีไทยถือเป็นหน้าที่ของคนไทย”
สถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย
ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน"
หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด
แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป
แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้วชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน
ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามบ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้าเท่านั้นแต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา
มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการบ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่งบ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลางที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง
มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ
ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้
ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ
ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอยและแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัยเป็นแบบบ้านที่สวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ้านไทยจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน
บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วมคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน
ทำนา ทำไร่ ทำประมง
แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิตที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร
แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม
ลักษณะของสถาปัตยกรรม “เรือนไทย” จะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นภูมิปัญญา คติความเชื่อพื้นฐาน
และประโยชน์ใช้สอยของแต่ละชุมชนเราจึงจัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน“เรือนไทย” ได้เป็น 4 ภาค คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ละภาคจะมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างกันไปตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือน รูปทรงของตัวเรือน (สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 2548:ไม่มีเลขหน้า)
บทที่ 2
ความหมายและลักษณะของเรือนไทยอิสาน
1. ความหมายของเรือนไทย
เรือนไทย คือ
บ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคโดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย
ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อ และศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆจะแบ่งเป็นเรือนไทยภาคเหนือ
ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้
เรือนไทย
สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่
เรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องก่อ ในที่นี้เราจะอนุมานถึง“เรือนไทยเครื่องสับ”เนื่องจากเป็นเรือนไทยที่ได้รับความน้อยสูงสุดโดยมากใช้เป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย
ตั้งแต่สามัญชนคนธรรมดาตลอดจนถึงผู้ที่มีฐานานุศักดิ์ชั้นสูงในสังคม
เรือนไทยเครื่องสับ
ทำด้วยไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่นนั้นๆ
มักสร้างด้วยวิธีประกอบสำเร็จรูปทั้งในเรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องผูก
สามารถรื้อถอน ขนย้ายไปปลูกสร้างที่อื่นได้ มีหลังคาทรงสูง
ทรงสูงจะทำให้การระบายน้ำออกจากหลังคารวดเร็วและช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคาอีกด้วย
เมื่อสังเกตที่ชายหลังคาจะเห็นว่ามีกันสาดยาวตลอดเพื่อป้องกันแสงแดด จะมียอดแหลมเรียกว่า
“เหงา”เนื่องจากความเชื่อในสมัยก่อนที่ชาวบ้านนิยมนำเขาสัตว์มาแขวนบริเวณเชิงหลังคาเพื่อป้องกันและขับไล่
ภูตผี ปีสาจ และวิญญาณชั่วร้ายไม่เข้ามาทำร้ายคนในบ้าน
พื้นที่โล่งใต้เรือนไทยเรียกว่า
“ใต้ถุน”
โดยแต่เดิมบริเวณใต้ถุนบ้านจะถูกปล่อยไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่อาจเป็นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์การกสิกรรม
หรือเป็นที่ทำหัตถกรรมนอกฤดูเก็บเกี่ยว แต่โดยมากมักจะถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์
ทั้งนี้การเลือกบริเวณที่อยู่อาศัยให้มีน้ำท่วมถึง ร้ายที่อาจมากับน้า เช่น งู
ตะขาบ ได้อีกด้วย
เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนขยายคือจะมีการขยายโครงสร้างเรือนไทยใหม่ที่อยู่ในบริเวณเรือนเก่าโดยเชื่อมต่อโดยใช้
“นอกชาน”เชื่อมเรือนไทยแต่ละเรือนไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น
เมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่ก็จะสร้างเรือนใหม่ไว้ใกล้เรือนเก่าของพ่อแม่โดยจะรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน
การยึดเรือนใหม่ไว้ด้วยกันจะไม่ใช้ตะปูแต่จะใช้เทคนิคการเข้าเดือยไม้
ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของเรือนไทยเครื่องสับ
“เฮือน” ตามพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นคำนาม มีความหมายเช่นเดียวกับเรือน
และพจนานุกรม ภาคอีสาน – ภาคกลาง
ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ “เฮือน” เป็นคำนาม หมายความว่าสิ่งปลูกสร้าง
สำหรับเป็นที่อยู่
คำว่า
"บ้าน" กับ "เฮือน" สำหรับความเข้าใจของชาวอีสานแล้วจะต่างกัน
คำว่า "บ้าน" มักจะหมายถึง "หมู่บ้าน" มิใช่เป็นหลังๆ
ส่วนคำว่า "เฮือน" นั้น ชาวอีสานหมายถึง เรือนที่เป็นหลังๆ
นอกจากคำว่า
"เฮือน" แล้ว อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน
แต่รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น คำว่า "โฮง" หมายถึงที่พักอาศัยที่ใหญ่กว่า
"เฮือน" มักมีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองในสมัยโบราณ
คำว่า "คุ้ม" หมายถึง
บริเวณที่มี "เฮือน" รวมกันอยู่หลายๆ หลัง เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน
คำว่า "ตูบ" หมายถึง กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว
มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้
ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก
ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือ และใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ
"ล่องตาเว็น" เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ "ขวางตาเว็น"
แล้วจะ "ขะลำ" คือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข บริเวณรอบๆ
เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติ
1.1 การจัดวางแผนของห้องและองค์ประกอบต่างๆ ในเรือนไทยอีสาน มีดังนี้
1.1.1 เรือนนอนใหญ่
จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น
3 ส่วนคือ
- ห้องเปิง
เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่กั้นห้อง
- ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือบางทีก็ปล่อยโล่ง
- ห้องนอนลูกสาว
มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่
อาจใช้สอยได้อีกกล่าวคือ กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ
1.1.2 เกย (ชานโล่งมีหลังคาคลุม)
เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร
ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้เป็นที่เก็บฟืน
1.1.3เรือนแฝด
เป็นเรือนทรงจั่ว เช่นเดียวกับเรือนนอน ในกรณีที่พื้นทั้งสองหลังเสมอกัน
โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน
แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน
ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก
1.1.4 เรือนโข่ง
มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก
ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง
สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน
1.1.5 เรือนไฟ
(เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ
ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด
1.1.6 ชานแดด
เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี
"ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด
บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน"
ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
2.ลักษณะรูปแบบของเรือนไทยอีสาน
รูปแบบของเรือนไทยอีสานสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการพักอาศัย
ที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในวาระต่างๆกัน ดังนี้
2.1 ประเภทชั่วคราว หรือใช้เฉพาะฤดูกาล ได้แก่
"เถียงนา" หรือ "เถียงไร่" ส่วนใหญ่จะยกพื้นสูง
เสาเรือนใช้ไม้จริง ส่วนโครงใช้ไม้ไผ่
หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนเก่า พื้นเป็นไม้ไผ่สับ

รูปภาพที่
1 เรือนประเภทชั่วคราว
2.2 ประเภทกึ่งถาวร
เป็นเรือนขนาดเล็กที่ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก ชาวอีสานเรียกว่า "เรือนเหย้า"
หรือ "เฮือนย้าว" เป็นการเริ่มต้นชีวิต การครองเรือน และค่อยๆ
เก็บหอมรอมริบไปสู่การมีเรือนถาวรในที่สุด
เรือนประเภทนี้วัสดุก่อสร้างมักไม่พิถีพิถันนัก อาจเป็นแบบ "เรือนเครื่องผูก"
หรือเป็นแบบผสมของ "เรือนเครื่องสับ" ก็ได

รูปภาพที่
2 เรือนประเภทกึ่งถาวร
เรือนประเภทกึ่งถาวรนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
2.2.1 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด
"ตูบต่อเล้า" เป็นเรือนที่อิงเข้ากับตัวเล้าข้าว ซึ่งมีอยู่เกือบทุกครัวเรือน
มีลักษณะคล้ายเพิงหมาแหงนทั่วไป ด้านสูงจะไปอาศัยโครงสร้างของเล้าข้าวเป็นตัวยึด
ต่อหลังคาลาดต่ำลงไปทางด้านข้างของเล้า แล้วใช้เสาไม้จริงตั้งรับเพียง 2-3 ต้น มุงหลังคา ด้วยหญ้าหรือสังกะสี
ยกพื้นเตี้ยๆ กั้นฝาแบบชั่วคราว อาศัยกันไปก่อนสักระยะหนึ่ง
พอตั้งตัวได้จะย้ายไปปลูกเรือนใหญ่ถาวรอยู่เอง
2.2.2 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด
"ดั้งต่อดิน" เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกตัวออกจากเรือนใหญ่ทำนองเดียวกับ
"ตูบต่อเล้า" แต่จะดูเป็นสัดส่วน มากกว่า ขนาดของพื้นที่ค่อนข้างน้อย
กว้างไม่เกิน 2 ม. ยาวไม่เกิน
5 ม. นิยมทำ 2 ช่วงเสา คำว่า
"ดั้งต่อดิน" เป็นคำเรียกของชาวไทยอีสานที่ หมายถึง
ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดิน และใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่
วิธีสร้าง "ดั้งต่อดิน" มักใช้ผูกโครงสร้างเหมือนกับเรือนเครื่องผูกตัวเสาและเครื่องบนนิยมใช้ไม้จริงทุบเปลือก
หลังคามักมุงด้วยหญ้าคา ที่กรองเป็นตับแล้วเรียกว่า "ไพหญ้า"
ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมาประกบกับไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาราง
หรือทำเป็น ฝาไม้ไผ่สับฟากสานลายขัดหริอลายสองทแยงตามแต่สะดวก ส่วนพื้นนิยมใช้พื้นสับฟากหรือใช้แผ่นกระดานปูรอง
โดยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกมามัด ขนาบกันแผ่นกระดานขยับเลื่อน
2.2.3 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด
"ดั้งตั้งคาน" ยังอยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก มีความแตกต่างจากเรือน
"ดั้งต่อดิน" ตรงที่เสาดั้งต้น
กลางจะลงมาพักบนคานของด้านสกัดไม่ต่อลงไปถึงดิน ส่วนการใช้วัสดุมุงหลังคา
ฝาและพื้นเรือนจะใช้เช่นเดียวกับเรือนประเภท "ดั้งต่อดิน"
2.3
ประเภทถาวร ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น "เรือนเครื่องสับ"
สังเกตได้จากการเลือกใช้วัสดุ รูปแบบของการก่อสร้าง ประโยชน์ใช้สอย
และความประณีตทางช่าง อาจจำแนกเรือนถาวรได้เป็น 3 ชนิด คือ

รูปภาพที่
3 เรือนประเภทถาวร
2.3.1 ชนิดเรือนเกย มีลักษณะใต้ถุนสูง
หลังคาทรงจั่ว เสาใช้ไม้กลม 8 เหลี่ยม หรือเสา 4 เหลี่ยม ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เกย ชานแดด เรือนไฟ
และฮ้างแอ่งน้ำ(ร้านหม้อน้ำ)
2.3.2 ชนิดเรือนแฝด
มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยมเช่นเดียวกัน
ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เรือนแฝด เกย ชานแดด เรือนไฟ ฮ้างแอ่งน้ำ
2.3.3 ชนิดเรือนโข่ง
มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยม มีจั่วแฝดอยู่ชิดติดกัน ไม่นิยมมีเกย
เรือนชนิดนี้ประกอบด้วย เรือนใหญ่ เรือนโข่ง ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ
เอกลักษณ์ของบ้านทรงไทยภาคอีสาน
ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน
ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ
พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้นไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแลไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ
เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ
ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ
ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
ฤกษ์เดือน
1.
เดือนอ้าย
นาคนั้นหลับนอนหลับหากปลูกเรือนอยู่มักตาย
2.
เดือนยี่
นาคนอนตื่น ปลูกเรือนอยู่ดีมีสุข
3.
เดือนสาม
นาคหากินทางเหนือ มิดี อยู่ฮ้อนไฟจักไหม้
4.
เดือนสี่ นาคหากินอยู่เรือน
ปลูกเรือนอยู่ดีเป็นมงคล
5.
เดือนห้า
นาคพ่ายครุฑหนี ปลูกเรือนร้อนอกร้อนใจ มิดี
6.
เดือนหก
จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มิตรสหายมาก
7.
เดือนเจ็ด
นาคพ่ายหนี จักได้พรากจากเรือน มิดี
8.
เดือนแปด
นาคเห็นครุฑ จักได้เสียของมีรู้แล้ว
9.
เดือนเก้า
นาคประดับตน ปลูกเรือนมีข้าวของกินมิรู้หมด
10.
เดือนสิบ
นาคถอดเครื่องประดับ ปลูกเรือนเข็ญใจ และคนในเรือนมักเจ็บไข้ตาย
11.
เดือนสิบเอ็ด
จะเกิดทุกข์ภัยอันตรายต่างๆ มักจะมีคนฟ้องร้องกล่าวหา จักมีโทษทัณฑ์
12.
เดือนสิบสอง
จะได้ทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของและคนใช้
ฤกษ์วัน
1.
วันอาทิตย์
ปลูกเรือนจะเกิดทุกข์อุบาทว์
2.
วันจันทร์
ทำแล้ว 2 เดือน
จะได้ลาภผ้าผ่อนและของขาวเหลือง เป็นที่พึงพอใจ
3.
วันอังคาร
ทำแล้ว 3 วัน
ไฟจะไหม้หรือจะเจ็บไข้
4.
วันพุธ
ปลูกเรือนจะได้ลาภเครื่องอุปโภคมีผ้าผ่อน เป็นต้น
5.
วันพฤหัสบดี
ปลูกเรือนจะเกิดสุขกายสบายใจ ทำแล้ว 5 เดือนจะได้โชคลาภมาก
6.
วันศุกร์
ปลูกเรือนจะมีความทุกข์และความสุขก้ำกึ่งกัน ทำแล้ว 3 เดือนจะได้ลาภเล็กน้อย
7.
วันเสาร์
ปลูกเรือนจะเกิดพยาธิ หรือเลือดตกยางออก ทำแล้ว 4 เดือนจะลำบาก ห้ามไม่ให้ทำแล
อันดับแรกต้องพิจารณาสถานที่ๆจะสร้างเรือนก่อน
โดยต้องเลือกเอาสถานที่ปลอดโปร่ง ไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีจอมปลวก ไม่มีหลุมผี
ไม่มีตอไม้ใหญ่ และต้องดูความสูงต่ำ ลาดเอียงของพื้นดินว่าลาดเอียงไปทางทิศใด
และจะเป็นมงคลหรือไม่ดังนี้
1.
พื้นดินใด
สูงหนใต้ ต่ำทางเหนือ เรียกว่า "ไชยะเต ดีหลี"
2.
พื้นดินใด
สูงหนตะวันตก ต่ำทางตะวันออก เรียกว่า "ยสะศรี-ดีหลี"
3.
พื้นดินใด
สูงทางอีสาน ต่ำทางหรดี เรียกว่า "ไม่ดี"
4.
พื้นดินใด
สูงทางอาคเนย์ ต่ำทางพายัพ เรียกว่า "เตโซ" เฮือนนั้นไม่ดี เป็นไข้
พยาธิฮ้อนใจ
เมื่อเลือกได้พื้นที่ปลูกเรือนแล้ว
จะมีการเสี่ยงทายพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดข้าว 3 กระทง คือข้าวเหนียว 1 กระทง ข้าวเหนียวดำ 1 กระทง และข้าวเหนียวแดง 1 กระทง
นำไปวางไว้ตรงหลักกลางที่ดินเพื่อให้กากินถ้ากากินข้าวดำ
ท่านว่าอย่าอยู่เพราะที่นั้นไม่ดี ถ้ากากินข้าวแดง ท่านว่าไม่ดียิ่งเป็นอัปมงคลมาก
ถ้ากากินข้าวขาว ท่านว่าดีหลี จะอยู่เย็นเป็นสุข
ให้รีบเฮ็ดเรือนสมสร้างให้เสร็จเร็วไวการเลือกพื้นที่ที่จะปลูกเรือนอีกวิธีหนึ่งคือ
การชิมรสของดิน โดยขุดหลุมลึกราวศอกเศษๆ เอาใบตองปูไว้ก้นหลุม
แล้วหาหญ้าคาสดมาวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้ค้างคืนจะได้ไอดินเป็นเหงื่อจับอยู่หน้าใบตอง
จากนั้นให้ชิมเหงื่อที่จับบนใบตอง หากมีรสหวาน เป็นดินที่พออยู่ได้
มีรสจืด เป็นดินที่เป็นมงคล จะอยู่เย็นเป็นสุข มีรสเค็ม เป็นอัปมงคล
ใครอยู่มักไม่ยั่งยืน มีรสเปรี้ยว พออยู่ได้แต่ไม่ใคร่ดีนัก จะมีทุกข์เพราะเจ็บไข้อยู่เสมอ
บทที่
3
กรณีศึกษาบ้านเรือนไทยอิสาน
พิพิธภัณฑ์บ้านอิสาน
สถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
เกิดขึ้นจากการก่อตั้งสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ พันธุ์ไผ่ พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์
ต่อมาจึงมีการเพิ่มเติมการแสดงเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของอีสาน
จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานตามแบบประเพณีเดิม
พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่า
"การศึกษาที่สมบูณ์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์"
การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณอีสานเพื่อที่จะอธิบายสภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานด้วยข้าวและน้ำ
เพราะอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา
ที่ต้องอาศัยน้ำเป็นหลักสำคัญและยังจะโยงไปสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกันเรื่อง
ปลง พืชพันธุ์ป่าไม้ และรวมทั้งเกลือด้วย
จากนั้นจึงดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วยการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน
คือที่อยู่อาศัยของชีวิตครอบครัว
ซึ่งจะรวมไปถึงความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติเพื่อนบ้าน
พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
ตั้งอยู่ในสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บริเวณที่ตั้งพิพิธภัณฑ์จัดให้มีลานบ้านอยู่ตรงกลาง โดยมีบ้านแต่ละหลังอยู่โดยรอบ
พยายามรักษาต้นไม้และบริเวณรอบๆ หมู่บ้านยังเป็นป่าโคกดงเค็ง
ซึ่งใช้เป็นสถานที่ในการศึกษาพืชพันธุ์ของสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช
ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล
จัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ
ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีกด้วย
รวมทั้งแสดงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของชาวอีสาน
โดยนำข้อมูลเหล่านั้นจัดแสดงในบ้านแต่ละหลังซึ่งเป็นบ้านอีสานรูปแบบเดิมจากชุมชนต่างๆ
เช่น เรือนของชาวแสก เรือนผู้ไท บ้านแต่ละหลังได้จัดแสดงเรื่องต่างๆ กัน
ประกอบด้วย เรือนพันธุ์ข้าว เรือนประมงน้ำจืด เรือนทอผ้า เรือนหมอยา
เรือนเครื่องดนตรี โดยมีสิ่งของจัดแสดงอยู่ภายใน เช่น เครื่องมือจับปลา
เครื่องมือทอผ้า สมุนไพร เป็นต้น ผู้ชมยังสามารถจับสิ่งของเหล่านั้นได้
ที่นี่นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่พยายามบอกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในรูปแบบง่ายๆ
และใกล้ตัวที่สุด
2. ลักษณะของบ้านอิสาน
จาการเดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์มีชีวิตบ้านอิสาน
ได้สัมผัสถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในรุ่นปู่รุ่นย่าของเรา
สังเกตุได้จากภูมิปัญญาการสร้างบ้านเรือนในสมัยนั้น
ปัจจัยเหตุที่ทำให้ผู้คนในอดีตสร้างบ้านเรือนที่มีลักษณะเช่นนี้
ก็เพราะเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิประเทศ
นอกจากนี้แล้วการสร้างบ้านเรือนยังบ่งบอกถึงฐานะของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
และนี้คือตัวอย่างลักษณะบ้านที่ผู้จัดทำได้รวบรวมมา ทั้งจากประสบการณ์จริง
และจากความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากพิพิธภัณฑ์บ้านอิสาน ที่สถานีวิจัย
วลัยรุกเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รูปภาพที่
4 เรือนเกย
เรือนเกย
เป็นรูปแบบเรือนในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มีการต่อเกย (ชาน) ออกมาจากเรือนใหญ่
(เรือนนอน)เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเป็นเรือนไฟ (ครัว) สถานที่พักผ่อนรับประทานอาหาร
ต้อนรับแขก และประกอบพิธีหรือกิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวอีสาน
ด้านล่างของเรือนใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิต
บางครั้งอาจใช้เป็นคอกสัตว์เลี้ยง เช่นไก่ วัว
ควายเรือนเกยเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ
“เอกสารใบลาน”ของโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รูปภาพที่
5 เรือนผู้ไท
เรือนผู้ไทย
เป็นรูปแบบเรือนของ “ชาวผู้ไท” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนโข่ง
ต่างกันที่”ขื่อและคาน”
ของเรือนหลังเล็กจะฝากยึดติดกับโครงสร้างของเรือนใหญ่เรือนผู้ไท
เป็นที่จัดแสดงนิทรรศกา “ภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำชี”

รูปภาพที่
6 ตูบต่อเล้า
เรือนตูบต่อเล้า
(ยุ้งข้าว) เล้าข้าว (ยุ้งข้าว) เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือกและผลผลิตทางการเกษตร
รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตและคอกสัตว์เลี้ยงตูบต่อเล้า
เป็นเรือนชั่วคราวที่ยื่นออกมาจากเล้าข้าวเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหม่ที่แยกเรือนออกจากเรือนของพ่อแม่แต่ยังไม่มีกำลังที่จะสร้างเรือนใหม่หรือถ้าไม่มีผู้อาศัยก็ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิต

รูปภาพที่
7 ตูบเหย้า
ตูบเหย้า
เป็นเรือนเล็ก ๆ ที่สร้างเฉพาะตัวไม่อาศัยอาคารอื่นเพื่อเป็นที่อยู่ของคนจนหรือครอบครัวใหม่
วัสดุที่ใช้ใม่พิถีพิถันนัก อาจปลูกแบบเรือนเครื่องผูกเรือเครื่องสับก็ได้
ส่วนประกอบของตูบเหย้ามีดังนี้ เสา
โดยทั่วไปใช้ได้ทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อนขนาดไม่ใหญ่นัก ถ้ามีการยกพื้นเตี้ย
ๆ จะใช้เสาค้ำหรือเสาตอกม้อก็ได้
บางครั้งใช้ไม้ใผ่และกิ่งไม้ขนาดใหญ่เป็นเสาเมื่อนำโครงสร้างอื่นมาประกอบใช้วิธี
บาก สอด หรือผูกมักด้วยเชือกด้วยหวายหรือด้วยเครือซูดก็ได้ ขางหรือคาน
เป็นโครงสร้างของเรือนที่รับน้ำหนัก พื้นวัสดุที่ใช้เป็นในเนื้อแข็งกรณีที่เป็นตูบอาจใช้ใม้ไผ่ทั้งลำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น