บทที่ 1
บทนำ

รูปภาพที่ 1.1 บ้านทรงไทย
“บ้านเรือนไทย”คนไทยเป็นชนชาติที่มีแบบการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นเฉพาะของตนเองเรียก“เรือนไทย”บ้านที่อยู่อาศัยของคนไทยจะสร้างขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ
ดินฟ้าอากาศ สภาพเศรษฐกิจสังคม ความเชื่อในแต่ละภาคแต่ละชุมชน
ตลอดจนใช้วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น
แม้ในปัจจุบันการปลูกเรือนไทยอาจไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากไม้อันเป็นวัสดุหลักหาได้ยากมากขึ้นแค่แบบของเรือนไทยก็ยังคงความงดงามเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละภูมิภาค
ดังนั้นสถาปนิกนักออกแบบที่เป็นนักอนุรักษ์นิยมที่เห็นคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไทยจึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง“สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์” เพื่ออนุรักษ์แบบเรือนไทยไว้คงอยู่ตลอดไป “การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมประเพณีไทยถือเป็นหน้าที่ของคนไทย”
สถาปัตยกรรมไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย
ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อม โดยเฉพาะในเรื่อง "บ้าน"
หรือ "เรือน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผูกพันมาตั้งแต่เกิด
แม้ว่าปัจจุบันการดำเนินชีวิตและรูปลักษณ์ของบ้านจะแปรเปลี่ยนไป
แต่หากมองกันอย่างลึกซึ้งแล้วชีวิตในบ้านของคนไทยยังไม่เคยเปลี่ยน
ซึ่งค่านิยมบางประการยังคงดำเนินการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามบ้านมิได้มีความหมายเพียงเป็นที่อาศัยนอนในตอนกลางคืนและออกไปทำงานตอนเช้าเท่านั้นแต่บ้านคือที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่มีชีวิตชีวา
มีความรักและความอบอุ่นเป็นที่พึ่งในทุกโมงยามที่ต้องการบ้านจึงเป็นที่ที่คนอยากให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่งบ้านไทยหรือเรือนไทยในความคิดของคนทั่วไปคงเป็นภาพบ้านไทยภาคกลางที่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง
มีหลังคาแหลมสูงชัน ประดับด้วยตัวเหงา มีหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ
ตัวบ้านอาจเป็นบ้านเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบ้านก็ได้
ลักษณะของบ้านไทยดังกล่าวชี้ชัดให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนโบราณทั้งช่างปลูกบ้านและช่างออกแบบ
ที่ปลูกบ้านเพื่อนประโยชน์และความต้องการใช้สอยและแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัยเป็นแบบบ้านที่สวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ้านไทยจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันน่าภูมิใจคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและอยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกในหน้าฝน
บางทีหรือเกือบทุกปีจะเกิดน้ำท่วมคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำสวน
ทำนา ทำไร่ ทำประมง แม่น้ำลำคลองจึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิตที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร
แหล่งพักผ่อน และเป็นเส้นทางคมนาคม
ลักษณะของสถาปัตยกรรม “เรือนไทย” จะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่นภูมิปัญญา คติความเชื่อพื้นฐาน
และประโยชน์ใช้สอยของแต่ละชุมชนเราจึงจัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน“เรือนไทย” ได้เป็น 4 ภาค คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ละภาคจะมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างกันไปตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือน รูปทรงของตัวเรือน (สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 2548:ไม่มีเลขหน้า)
ความหมายของเรือนไทย
เรือนไทย คือ
บ้านทรงไทย
มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคโดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย
ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อ และศาสนาในแต่ละภูมิภาค
โดยหลักๆจะแบ่งเป็นเรือนไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้
เรือนไทย
สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่
เรือนเครื่องสับ เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องก่อ ในที่นี้เราจะอนุมานถึง“เรือนไทยเครื่องสับ”เนื่องจากเป็นเรือนไทยที่ได้รับความน้อยสูงสุดโดยมากใช้เป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย
ตั้งแต่สามัญชนคนธรรมดาตลอดจนถึงผู้ที่มีฐานานุศักดิ์ชั้นสูงในสังคม
เรือนไทยเครื่องสับ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่นนั้นๆ
มักสร้างด้วยวิธีประกอบสำเร็จรูปทั้งในเรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องผูก
สามารถรื้อถอน ขนย้ายไปปลูกสร้างที่อื่นได้ มีหลังคาทรงสูง
ทรงสูงจะทำให้การระบายน้ำออกจากหลังคารวดเร็วและช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคาอีกด้วย
เมื่อสังเกตที่ชายหลังคาจะเห็นว่ามีกันสาดยาวตลอดเพื่อป้องกันแสงแดด
จะมียอดแหลมเรียกว่า “เหงา”เนื่องจากความเชื่อในสมัยก่อนที่ชาวบ้านนิยมนำเขาสัตว์มาแขวนบริเวณเชิงหลังคาเพื่อป้องกันและขับไล่
ภูตผี ปีสาจ และวิญญาณชั่วร้ายไม่เข้ามาทำร้ายคนในบ้าน
พื้นที่โล่งใต้เรือนไทยเรียกว่า
“ใต้ถุน”
โดยแต่เดิมบริเวณใต้ถุนบ้านจะถูกปล่อยไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่อาจเป็นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์การกสิกรรม
หรือเป็นที่ทำหัตถกรรมนอกฤดูเก็บเกี่ยว แต่โดยมากมักจะถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์
ทั้งนี้การเลือกบริเวณที่อยู่อาศัยให้มีน้ำท่วมถึง ร้ายที่อาจมากับน้า เช่น งู
ตะขาบ ได้อีกด้วย
เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนขยายคือจะมีการขยายโครงสร้างเรือนไทยใหม่ที่อยู่ในบริเวณเรือนเก่าโดยเชื่อมต่อโดยใช้
“นอกชาน”เชื่อมเรือนไทยแต่ละเรือนไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น เมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่ก็จะสร้างเรือนใหม่ไว้ใกล้เรือนเก่าของพ่อแม่โดยจะรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน
การยึดเรือนใหม่ไว้ด้วยกันจะไม่ใช้ตะปูแต่จะใช้เทคนิคการเข้าเดือยไม้
ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของเรือนไทยเครื่องสับ (enjoy, 2009 : ไม่มีเลขหน้า)
สภาพแวดล้อมในการตั้งถิ่นฐานภาคเหนือ
นับตั้งแต่บริเวณเหนือเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตาก
เพชรบูรณ์ ขึ้นไป
เป็นเขตที่ภูมิประเทศเปลี่ยนเป็นบริเวณที่มีภูเขาทอดกันลงมาคล้ายกับนิ้วมือที่แผ่อยู่บนฝ่ามือในลักษณะจากเหนือลงใต้และช่องว่างระหว่างเชิงเขาหรือระหว่างนิ้วมือนั้นคือบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขาที่มีลำน้ำไหลผ่านอาจแบ่งบริเวณหุบเขาใหญ่ๆ
ออกได้ตามลำน้ำสำคัญๆ โดยเริ่มทางด้านตะวันตกไปตะวันออกได้แก่
บริเวณลุ่มน้ำปิงที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ลุ่มน้ำวังในเขตจังหวัดลำปาง ลุ่มน้ำยมในเขตจังหวัดแพร่
และลุ่มน้ำน่านในเขตจังหวัดน่าน ถัดมาทางด้านตะวันออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำของลำน้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำโขง
ได้แก่ที่ราบลุ่มน้ำแม่ลาว แม่กก และแม่วัง
ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบริเวณที่เป็นภาคเหนือทั้งหมด
มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยที่ราบลุ่มตามหุบเขา และบริเวณภูเขาที่เป็นที่สูงบริเวณหุบเขาเป็นที่ราบลุ่มมีลำน้ำไหลผ่าน
เป็นที่เหมาะแก่การกสิกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าวส่วนบริเวณที่สูงภูเขานั้นมีป่าไม้และพันธุ์ไม้ใหญ่ นานาชนิดขึ้นปกคลุม
โดยเฉพาะไม้สักซึ่งเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของภูมิภาค
การตั้งหลักแหล่งชุมชนของผู้คนในภาคเหนือนี้ มีทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
และสมัยหลังๆ ลงมาในยุคประวัติศาสตร์
ปัจจุบันนักโบราณคดีสำรวจและขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว
มีผู้คนอาศัยอยู่ตามถ้ำใกล้ธารน้ำตามภูเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ผู้คนเหล่า นี้นอกจากหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บผลหมากรากไม้ของป่า
และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ ยังน่าจะรู้จักทำการเพาะปลูกพอสมควร
มีความรู้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างหยาบๆ ขึ้นมาใช้ และในสมัยหลังๆ
ลงมาก็รู้จักใช้ต้นไม้มาขุดทำเป็นที่บรรจุศพคนตายไว้ตามถ้ำต่างๆ
แต่ว่าเครื่องมือส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นหินกะเทาะแบบหยาบๆ
สมัยต่อมาในยุคที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือหินขัด และตามมาด้วยยุคโลหะ
พบโบราณวัตถุตามเนินเขาและที่ราบลุ่มบ้างเล็กน้อย
ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนในยุคนี้ผ่านเข้ามา แต่คงยังไม่มีการตั้งหลักแหล่งเป็นบ้านเมืองใหญ่โตกันเท่าใด
เพราะไม่พบหลักฐานอะไรมากไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม อาจกล่าว
ได้ว่ากลุ่มชนในภาคเหนือนั้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขาและที่สูงสืบเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ เกิดเป็นเผ่าพันธุ์หลายหมู่เหล่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 ก็มีผู้คนจากบริเวณอื่นที่อาจจะเคลื่อนย้ายมาจากบริเวณภาคกลางและบริเวณที่ราบลุ่มทางแม่น้ำโขงด้านตะวันออกและด้านเหนือ
เข้ามาตั้งหลักแหล่งและผสมผสานกับกลุ่มชนบางเผ่าบางเหล่าที่เคลื่อนย้ายลงมาจากภูเขาและที่สูง
มีการจัดตั้งบ้านเมืองขึ้นในที่ราบลุ่ม
ชุมชนในภาคเหนือส่วนใหญ่ตั้งเป็นกระจุกเล็กๆ
กระจายกันอยู่ตามริมลำน้ำ
โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางแต่ละแห่งไม่มีขนาดใหญ่เหมือนกับทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
แต่ มักกระจายอยู่ตามพื้นที่ซึ่งเหมาะสม
โดยทั่วไปแล้วในแต่ละหุบเขาหรือท้องถิ่นใหญ่ๆ ที่มีหลายชุมชนอยู่รวมกัน
มักจะสร้างวัดหรือสถูปเจดีย์ขึ้นตามไหล่เขาหรือบนเขามองเห็นแต่ไกล
เพื่อเป็นที่ผู้คนที่อยู่ต่างชุมชนกันมากราบไหว้ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
รวมทั้งมีงานประเพณีรื่นเริงกันเมื่อถึงเทศกาล
การสร้างวัดหรือพระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นดังกล่าวนี้เป็นประเพณีที่มีมาแล้วแต่โบราณ
จึงมักพบซากวัดร้าง หรือพระสถูปเจดีย์ร้างบนภูเขาบน ดอยอยู่ทั่วไป
ยิ่งกว่านั้นผู้ครองบ้านเมืองในอดีต ยังได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นตามภูเขาหรือดอยที่เป็นประธานของบ้านเมือง
พระมหาธาตุเจดีย์เหล่านี้ เป็นส่วนมากทีเดียวที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญของบ้านเมืองสืบมาจนทุกวันนี้
อย่างเช่น ที่เมืองพะเยามีพระธาตุจอมทองเมืองแพร่มีพระธาตุช่อแฮ
และเมืองน่านมีพระธาตุแช่แห้ง เป็นต้น(พิสิฐ เจริญวงศ์ ,
2525 : 105-107)
บทที่ 2
ลักษณะและองค์ประกอบของเรือนไทยภาคเหนือ
ลักษณะเรือนไทยภาคเหนือ
การตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือ
เริ่มตั้งแต่เรือนหลังเดียวในเนื้อที่หุบเขาแคบ จนถึงระดับหมู่บ้านและเมือง ซึ่งการขนานนามหมู่บ้านนั้นขึ้นอยู่กับสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เช่น หมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วย “ปง”คือบริเวณที่มีน้ำซับ “สัน” คือบริเวณสันเนินหรือมีดอน “หนอง”หมายถึงบึงกว้าง “แม่” คือที่ตั้งที่มีลำธารไหลผ่าน ดังนั้นชื่อเดิมของหมู่บ้านจึงเป็นการบอกลักษณะการตั้งถิ่นฐานแต่แรกเริ่มจากสภาพการตั้งถิ่นฐานของชุมชนภาคเหนือ
ทำให้เกิดเรือนประเภทต่างๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งเรือนพักอาศัยออกเป็นประเภทใหญ่ๆ
ดังนี้

รูปภาพที่
2.1 เรือนเครื่องผูก
1. เรือนเครื่องผูกเป็นเรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่ ตัวเรือนขนาดเล็ก
ดังจะเห็นรูปแบบของเรือนเครื่องผูกนี้ได้ตามภาพจิตกรรมฝาผนังของล้านนา
มีรูปแบบเป็นเรือนจั่วเดียวยกพื้นสูง ในอดีตเรือนเครื่องผูกเป็นเรือนของชาวบ้านทั่วไป
ที่สร้างขึ้นกันเองโดยการตัดไม้ไผ่มาประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างของตัวเรือน
แล้วใช้ตอกหรือหวายยึดให้ติดกันอาจมีการใช้เสาเรือนด้วยไม้จริงบ้าง
แต่โดยรวมแล้วองค์ประกอบของเรือนส่วนใหญ่จะทำมาจากไม้ไผ่ เช่น โครงสร้างหลังคา ฝาและพื้นเรือนที่ทำมาจากไม้สับฟาก
นอกจากนั้นเรือนเครื่องผูกยังเหมาะสำหรับคู่แต่งงานที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัวใหม่
มักจะสร้างเป็นเรือนเครื่องผูกแบบชั่วคราวก่อนที่จะเก็บเงินและไม้ได้พอเพียงสำหรับขยายเรือนต่อไป(ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์, 2552 : ไม่มีเลขหน้า)

รูปภาพที่ 2.2 เรือนไม้จริง
2. เรือนไม้จริง
เป็นเรือนที่สร้างขึ้นจากไม้เนื้อแข็งทั้งหมด
ชาวล้านนานิยมใช้ไม้สักเพราะหาได้ง่าย
มีอายุการใช้งานนานอีกทั้งเนื้อไม้ไม่แข็งมากนัก
จึงสามารถเจาะหรือแต่งรูปไม้ได้ง่ายขนาดของเรือนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าของเรือน
ซึ่งมักทำเป็นเรือนที่มีจั่วเดียวและสองจั่ว
โดนเรือนที่มีจั่วเดียวมักจะมีโครงสร้างเช่นเดียวกับเรือนเครื่องผูก
เพียงแต่สร้างขึ้นมาจากไม้จริง
ตั้งแต่โครงสร้างหลังคาไปจนถึงฝาและพื้นเรือนที่ทำด้วยไม้กระดาน
ด้านหน้าเรือนนิยมทำเป็นชานโล่ง แล้วเชื่อมต่อตัวชานกับเรือนด้วยเติ๋น
ส่วนเรือนที่สร้างแบบสองจั่วหรือจั่วแฝด ทางล้านนาเรียกว่า “เรือนสองหลังฮ่วมกัน”มีการแบ่งพื้นที่การใช้สอยเป็นระเบียบมากขึ้น
โดยจั่วที่มีขนาดใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกเป็นเรือนนอน
อีกจั่วที่มีขนาดเล็กลงมาอยู่ทางด้านตะวันตกเป็นส่วนของเรือนครัวหรือเรือนไฟ ใช้เป็นที่ประกอบอาหารและเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ระหว่างชายหลังคาของเรือนทั้งสองที่มาจรดกันจะสร้าง “ฮ่อมริน”หรือรางรินสำหรับระบายน้ำฝนส่วนชานก็จะสร้างทั้งด้านหน้าเรือนและหลังเรือน
ทั้งนี้หากสมาชิกในครอบคัรวมีจำนวนมากก็จะขยายห้องให้กว้างขึ้น โดยใช้พื้นที่ใต้ชายคาของจั่วแฝดทั้งสองเป็นห้องโถงใหญ่
เพื่อเพิ่มบริเวณใช้สอยสำหรับนอนและอยู่อาศัยของสมาชิกทั้งหมด
แล้วสร้างครัวแยกออกมาจากตัวเรือนนอน
โดยสร้างระเบียงหรือชานเชื่อมเรือทั้งหมดเข้าด้วยกัน (ชลวรรษ
ธนะวาสน์, ม.ป.ป :
ไม่มีเลขหน้า)

รูปภาพที่
2.3 เรือนกาแล
3. เรือนกาแลเรือนกาแลนี้ในยุคก่อนนิยมเรียกว่า
เรือนเชียงแสน นับว่าเป็นเรือนทรงโบราณของล้านนา ซึ่งปัจจุบันถือว่า
เข้าข่ายของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
เรือนกาแลเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว ส่วนใหญ่ปลูกคู่ชิดกันอย่างน้อย 2 หลัง
หลังหนึ่งอาจมีขนาดเล็กกว่าเป็นลักษณะเรือนแฝดอย่างที่เรียกกันว่า
เรือนสองหลังรวมพื้นที่ มีลักษณะเด่นชัด คือ มี กาแล (อ่าน “ ก๋าแล ” ) ซึ่งเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันบนสันหลังคาด้านสกัดซึ่งเป็น
ด้านหน้าของเรือนมีบริเวณเปิดโล่งเรียกว่า เติน (อ่าน “ เติ๋น”
) ซึ่งใช้เป็นที่อเนกประสงค์ เช่น พักผ่อน รับแขก และใช้นอน ฯลฯ
ส่วนที่ต่อจากเดิมเป็นชาน มีบันไดขึ้นเรือนทางด้านหน้า 1
แห่งหรืออาจมีเพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่บริเวณหลังเรือน (เจ้าน้อยมหาอิททร์
ณ เชียงใหม่, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
รูปทรงของกาแล
เมื่อมองจากภายนอกมีลักษณะป้อมส่วนบน
ของเรือนผายออก หลังคาลาดชันคลุมต่ำและดูเตี้ยกว่าเรือนฝาปะกนของภาคกลาง
ไม่มีหลังคากันสาด เรือนกาแลมีหน้าต่างน้อยมาก
และเรือนกาแลขนาดเล็กบางหลังไม่มีหน้าต่างเลย
นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือมี หำยนต์ ซึ่งเป็นไม้แกะสลักติดด้านบนของประตูห้องนอน
หำยนต์มักจะทำขึ้นพร้อมๆ กับการปลูกเรือนใหม่
เมื่อเจ้าของบ้านได้แผ่นไม้ที่จะทำหำยนต์
อาจารย์หรือพระผู้มีวิชาจะนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสาเอกเพื่อทำพิธีถอน
ทั้งนี้เพราะคนเมืองล้านนานั้นเมื่อจะประกอบพิธีกรรมใดๆ จะต้องทำพิธีสูตรถอนก่อนทุกครั้งและก่อนที่แกะสลักลวดลายหำยนต์
เจ้าของบ้านจะต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนมาอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่หำยนต์
เมื่อทำการแกะสลักหำยนต์แล้วจงนำมาประดับไว้ที่บริเวณเหนือประตูทางเข้า
ห้องนอนของเจ้าของบ้าน โดยจะมีการทำพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน
หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหารให้อาจารย์กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์
ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขรูปทรงของกาแลแยกได้
3 ประเภท ตามลักษณะการอ่อนโค้งของตัวกาแล คือ
1.ทรงตรง
มีลักษณะตรงต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกับส่วนอื่นของปั้นลม
ไม่ลักษณะอ่อนโค้งที่เห็นชัด
2.ทรง
อ่อนโค้ง คล้ายเขาควาย มีลักษณะสำคัญคือ
ส่วนโคนของกาแลจะโค้งงอออกเล็กน้อยทั้ง 2 ข้างและวกเข้าด้านในเล็กน้อย
โดยปลายบนกลับโค้งออกด้านนอกอีก
3.ทรงคล้ายกากบาท ปลายบนมีลักษณะเศียรนาคผงาดหน้าเข้าหากัน
ส่วนปลายล่างมนกลม และมักมีการฉลุโปร่ง (ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา, ม.ป.ป : ไม่มีเลขหน้า)
ลวดลายแกะสลัก
กาแลที่พบทุกชนิดมีการแกะสลักเป็นลวดลายที่มีความงดงามแตกต่างกันไป
ลักษณะลวดลายอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. ลายกนก
3 ตัว ซึ่งเป็นต้นแบบของลายไทย
สามารถผูกเป็นลวดลายแยบยลต่างๆ ลวดลายเริ่มที่โคนของกาแล ประกอบด้วยโคนช่อกนก
ซึ่งมีกาบหุ้มก้านซ้อนกันหลายๆ ชั้น ก้านกนกก็แตกออกเป็นช่อตามระบบกนก 3 ตัว
ซึ่งสลับหัวกันคนละข้างจนถึงยอดกนกจนหรือกาแล
กาบก้านก็สะบัดโค้งและเรียวแหลมสุดที่ยอด
2. ลายเถาไม้หรือลายเครือ เถา
เป็นลวดลายที่ซึ่งมีรูปแบบของลายกนกอยู่บ้าง
ลายเริ่มที่โคนกาแลประกอบด้วยก้านและกาบหุ้มหลายชั้น
ส่วนนอกของกาบเมื่อใกล้ยอดจะกลายเป็นใบซึ่งปลายของใบขมวดงอเหมือนลายผักกูด
การโค้งงอของช่อใบสลับกันคนละข้าง จนถึงยอด
3.ลายเมฆไหล
ลายเมฆไหลเป็นลักษณะลายชนิดหนึ่งของล้านนา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
ซึ่งเป็นจินตนาการของศิลปินที่มีต่อเมฆ มีองค์ประกอบของลายกนก หรือลายเครือเถาอยู่
ประกอบด้วยก้านกนกเป็นกาบหลายชั้นแล้วแตกเป็นก้านและช่อตามระบบกนก 3 ตัว
แต่ตัวกนกแต่ละตัวมีลักษณะเหมือนลายเมฆ(สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ม.เชียงใหม่, 2558 :ไม่มีเลขหน้า)
ลักษณะของเรือนกาแล
ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของล้านนา
เนื่องจากเป็นเรือนที่นิยมสร้างกันมากในกลุ่มคนยวลล้านนาโดยมีพื้นที่ใช้สอยสัมพันธ์กับวิถีชีวิตประจำวันและคติความเชื่อ
ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
1. เรือนนอน
อยู่ด้านตะวันออก เป็นห้องนอนขนาดใหญ่ห้องเดียวยาวตลอดตัวเรือน
แต่จะแบ่งออกเป็นห้องเล็กๆให้กับลูก โดยใช้ผ้ากั้งหรือผ้าม่านขึงไว้ตามช่วงสา
การนอนต้องหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกบริเวณฝาผนังด้านปลายเท้าเป็นที่วางหีบซ้าสำหรับใส่เสื้อผ้าหรือของใช้ส่วนตัว
และมี “แป้นต้อง”ที่ทำจากไม้กระดานวางเป็นแนวยาวตลอดตัวเรือน
เพื่อเป็นทางเดินออกไปด้านนอกห้องนอนโดยเกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น
บริเวณหัวเสาเอกหรือเสาพญามี “หิ้งผีเรือน” เป็นชั้นไม้ใช้วางของสักการะ
2. เรือนไฟหรือเรือนครัว
ใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหาร
และเก็บของใช้ต่างๆ ในอดีตมีเตาไฟเป็นก้อนหินสามเส้าวางบนกระบะสี่เหลี่ยม
ต่อมาจึงใช้เตาอังโล่แทน เหนือเตาไฟมีชั้นวางของทำมาจากไม้ไผ่สานโปร่งๆ
ใช้วางประเภทงานจักสาน และเก็บเครื่องปรุงจำพวกหอม กระเทียม ฯลฯ จะช่วยป้องกันมด
แมลงต่างๆได้ ฝาผนังของเรือนครัวจะทำแบบห่างๆ
หรือทำเป็นไม้ระแนงเพื่อช่วยระบายอากาศจากควันไฟ
3. เติ๋นเชื่อมต่อกับชานด้านหน้าของตัวเรือนโดยยกพื้นสูงขึ้นจากระดับพื้นชานให้พอนั่งพักเท้าได้
เป็นพื้นที่กึ่งเอนกประสงค์มีผนังปิดเพียงด้านที่ติดกับห้องนอน
ใช้สำหรับอยู่อาศัยในช่วงกลางวัน เช่น ทำงานจักสาน นั่งเล่น
รวมถึงใช้เป็นที่รับแขก บริเวณฝาเรือนด้านตะวันออกมีหิ้งพระสำหรับสักการบูชา
4. ชาน เป็นพื้นที่เปิดโล่งอยู่ทางด้านหน้าเรือนเชื่อมกับบันไดทางขึ้นบริเวณขอบชานด้านที่ติดกับเติ๋นมี
“ฮ้านน้ำ” สร้างเป็นชั้นไว้เป็นที่วางหม้อน้ำดื่มหากเป็นที่ซักล้างและวางภาชนะต่างๆ
5.
ใต้ถุนเรือน ชาวล้านนาจะไม่นิยมอยู่อาศัยใต้ถุนเรือน
เพราะบริเวณนี้เป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์
ส่วนห้องน้ำก็จะสร้างแยกออกมาจากตัวเรือน
มักอยู่ด้านหลังเรือนใกล้กับทางขึ้นบันไดหลัง (ฐาปนีย์ เครือระยา, 2554
: 41-44)
องค์ประกอบเรือนไทยภาคเหนือ
(ล้านนา)
1.ขื่อ เป็นโครงสร้างหลังคายาวตามขนาดความกว้างของเรือนช่วยถ่ายเทน้ำหนักจากหลังคาลงมายังเสา
โดยขึ้นรูปเป็นไม้เหลี่ยมหนาพอสมควร การประกอบขื่อกับเสา จะเจาะรูส่วนปลายทั้งสองของขื่อเพื่อเอาไปร้อยกับหัวเสาที่เตรียมทำหัวเทียน(เดือย)
ไว้แล้วโดยสอดรูที่ปลายขื่อทั้งสองด้านให้สวมรับกับหัวเทียนเสาได้พอดีทั้งนี้ส่วนปลายสุดของขื่อ
ก็ต้องบากกร่องไว้เพื่อรับแปหัวเสา
2.แป๋(ป้าง) เป็นไม้ที่วางในแนวยาวตลอดตัวเรือนมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักหลังคา
ซึ่งโครงสร้างของเรือนไม้มีแป๋อยู่หลายตำแหน่ง เรียกตามการใช้งาน เช่น แป๋หัวเสา
แป๋ลอย เป็น
3 แป๋หัวเสา
เป็นไม้หนามีความยาว
ทำหน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องและรับน้ำหนักของหลังคาโดยวางบนเสาในแนวยาวตลอดตัวเรือนซ้อนทับกับขื่อ
ส่วนที่ซ้อนกันจะบากไม้ออกเพื่อให้เข้ากับขื่อได้พอดี
ขณะเดียวกันก็เจาะรูตรงกลางให้หัวเทียนเสาลอดผ่านได้ ดังนั้นแปหัวเสาจึงต้องเจาะรู
และบากเป็นระยะๆ ตรังตำแหน่งของเสา
4. ดั้ง หรือใบดั้งเป็นไม้เหลี่ยมแบนที่ตั้งฉากกับขื่อ
เพื่อยกจั่วหลังคาขึ้น ด้านปลายล่างจะเข้าเดือยยึดติดกับกึ่งกลางขื่อ
ส่วนปลายบนแต่งให้มีขนาดเล็กลงเสียบเข้าอกไก่เพื่อยึดและรับน้ำหนักอกไก่
เรือนกาแลบางหลังจะใช้เสากลางเป็น “เสาดั้ง” หรือ“เสาดั้งตั้งดิน”
5. ตั้งโย (จันทัน)หรือขาโย เป็นโครงสร้างไม้สองชิ้น
ประกอบกันเป็นด้านข้างรูปสามเหลี่ยมของโครงหลังคาวางในแนวลาดจากปลายบนประกอบยันเข้ายึดติดกับเสาดั้งและแป๋จ๋อง
ส่วนปลายล่างถ่ายน้ำหนักลงแป๋
6. แปจ๋อง (อกไก่) อยู่บนยอดสุดของโครงหลังคา วางยึดไว้กับเสาดั้ง
หน้าจั่ว และตั้งโย ทอดยาวตามความยาวของหลังคายื่นหัวท้ายออกเลยหน้าจั่วหน้าเรือนและจั่วเรือนทั้งสองด้าน
การวางแป๋จ๋องต้องทแยงเอาเหลี่ยมขึ้น
โดยเจาะรูแป๋จ๋องให้เสียบเข้ากับยอดเสาดั้งได้พอดี
7.ขัวหย้างมีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยมแบนหรือใช้ไม้ไผ่ทั้งลำต้นวางคู่ขนานยึดประกบส่วนของดั้งร้อยผ่านจั่วเรือนช่วยยึดดั้งให้ตั้งฉาก
ทำให้โครงหลังคามั่นคง และสะดวกในการจะขึ้นไปซ่อมหลังคา
8. แหนบ หรือหน้าแหนบ
เป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมใช้ปิดหน้าจั่วของเรือน
9. ป้านลม
มีหน้าที่กั้นลมที่จะตีกระเบื้อง จะวางติดอยู่บนแป๋หัวเสาพาดบนแป๋ลาไปบรรจบกันดหนืออกไก่
หากเป็นเรือนกาแลก็จะกลับติด “กาแล” ไว้ที่ปลายบนสุดของป้านลม
10. หลังคา
เป็นส่วนที่กันแดดและฝน ในล้านนานิยมใช้หลังคาหลายแบบ
คือแป้นเกล็ดทำมาจากไม้สับเป็นแผ่น ดินขอทำมาจากดินเผาเนื้อละเอียด
กระเบื้องวาวหรือกระเบื้องซีเมนต์ เป็นหลังคาที่นิยมในช่วง 50-70 ปีที่แล้ว
มีทั้งแบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและสี่เหลี่ยมผืนผ้า
11. ก้าบ
หรือ
แปลน
เป็นไม้เหลี่ยมพาดตามความยาวตลอดเรือนวางทับบนสันจั่วและตั้งโย้ยื่นหัวท้ายออกมาเช่นเดียวกับแป๋จ๋อง
12. ก๋อน(กอน)
เป็นไม้เหลี่ยมแป้นขนาดเล็กเหมือนไม้ระแนง วางพาดยึดติดกับแป๋
ลาดตามแนวดิ่งของโครงหลังคา ปลายยึดติดกับแป๋จ๋อง
ช่วยรองรับน้ำหนักกระเบื้องมุงหลังคา
13. ไม้กั้นฝ้า
เป็นไม้ซี่ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
เพื่อนำกระเบื้องดินขอมาเกาะไว้โดยวางทับก๋อนตามความยาวของหลังคาในระยะที่พอดีกับกระเบื้อง
14. แป้นน้ำย้อย(เชิงชาย)
เป็นไม้เหลี่ยมแป้นยาวๆ
ที่ยึดติดกับปลายล่างของก่อนช่วยปิดชายหลังคาเรือนบางหลังก็มีการตกแต่งแป้นน้ำย้อยให้สวยงามด้วยลายฉลุ
15. ฮางลิน(รางริน)
เป็นรางรับและระบายน้ำฝน
โดยขุดท่อไม้ให้เป็นร่องตรงกลางวางอยู่ระหว่างชายหลังคาเรือนทั้งสองหลัง
16. ยาง หรือยางค้ำ
เป็นไม้เหลี่ยมแบนยื่นออกไปในแนวเฉียง
ทำหน้าที่ค้ำรับน้ำหนักโครงหลังคาบริเวณแป้นน้ำย้อย ส่วนบนรับน้ำหนักแป๋ลอย
17. แป๋ลอย
เป็นไม้ขนาดเล็กที่วางตลอดแนวยาวของเรือน ตั้งอยู่บนตั้งโย้ในตำแหน่งเชิงชายหลังคา
มีลักษณะลอยตัวซ้อนรับก๋อนแต่เรือนบางหลังทำ “ปีกยาง” หรือ
“เต้า” ยื่นออกมาจากเสามารับน้ำหนักแป๋ลอยอีกต่อหนึ่งส่วนล่างของยางจะทำเดือยไว้เพื่อสอดเข้าไปในรูของเสาที่เจาะไว้แล้ว
18. ไม้ตะเฆ้
หรือไม้สันตะเฆ้ เป็นตัวไม้ที่มีขนาดเท่าๆกับแป๋แป
ยื่นทะแยงจากเสาเพื่อไปรับโครงหลังคาส่วนล่างที่ตรงมุมบรรจบของชายคา
ระหว่างชายหลังคาหน้าจั่วและหลังคาด้านข้าง
19. เสาเรือน
ทำด้วยไม้ซุงที่มีลำต้นตรง เสาที่สำคัญคือ “เสาเอก” และ
“เสานาง” โยตำแหน่งของทั้งสองเสานี้จะต้องอยู่คู่กันเสมอ
20. หูกระต่าย
เป็นเสาฐานของเสาไม้ที่ฝังลงในดินซีเมนต์ช่วยป้องกันไม่ให้ปลวก
และความชื้นขึ้นเสาเรือน
21. ต๋ง(ตง)
เป็นไม้เหลี่ยมขนาดเล็กกว่าแวง ช่วยรองรับน้ำหนักพื้นเรือนวาง
พาดซ้อนแวงอยู่ตามแนวยางของเรือน
ซึ่งเรือนล้านนาจะมีต๋งมากและวางถี่ระยะห่างกันประมาณ 20 ซนติเมตร
ตำแหน่งของต๋งจะวางตามแนวความยาวของเรือน จึงมีขนาดความยาวเท่ากับตัวเรือน
22.แวง(รอด)
เป็นไม้ที่รองรับน้ำหนักพื้นเรือนและช่วยยึดเสาด้านล่างเพื่อป้องกันเรือนโยก
วางในแนวขวางรับกับตำแหน่งต๋ง
มีลักษณะเป็นไม้เหลี่ยมประกอบเข้ากับเสาโดยการบากเสาให้เป็นบ่า เพื่อรับแวง
แต่การสร้างเรือนโบราณจะเจาะเสาให้เป็นช่องแล้วลอดแวงร้อยเข้ากับเสา
23. ไม้แป้น
คือพื้นเรือนเป็นไม้กระดานขนาดยาว
ส่วนใหญ่เป็นไม้สักและไม้เนื้อแข็งปูพื้นวางตามแนวยาว ของเรือนตามแนวขวางของต๋ง
24. ไม้แป้นต้อง
เป็นไม้แผ่นเดียวขนาดกว้างและหนากว่าไม้ปูพื้นเรือน
วางพาดอยู่แผ่นเดียวตามแนวต๋งบนหัวเสาเฉพาะกึ่งกลางห้องนอน
เพื่อป้องกันพื้นเรือนสะเทือนขณะเดินเข้าห้องนอนและยังช่วยแบ่งห้องนอนเป็นสองส่วนอีกด้วย
25.ฝาเรือน
คือไม้กระดานผนังฝาเรือน เรือนโบราณนิยมทำเป็นแผงไม้ต่อกันตามขนาดของเรือน
แล้วยกผนังทั้งแผงมายึดติดกับเสาทีเดียว (ฐาปนีย์ เครือระยะ,
2554: 49 -51 )
บทที่ 3
ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการสร้างบ้านเรือน
“เรือนไทย” เรือนของบรรพบุรุษไทยแต่ครั้งโบราณกาล สถาปัตยกรรมที่เน้นความเรียบง่าย
ใช้วัสดุที่หาได้จากรอบข้าง ปลูกสร้างอย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และแฝงไว้ด้วยคุณค่าเชิงศิลปะอันเป็นเสน่ห์อย่างไทยๆ
เรือนที่ปลูกสร้างด้วยรายละเอียดที่อ่อนช้อย ตอบสนองทั้งประโยชน์ใช้สอย
และสร้างความสุขใจแก่ผู้อยู่อาศัย เรือนไทยจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ศิลปะ วัฒนธรรม
วิถีความเป็นอยู่ ที่ทุกชีวิตล้วนเริ่มต้นและเติบโต จากภายใต้ร่มเงาชายคา “เรือนไทย”ทุกครัวเรือนไทย เป็นหน่วยเล็กๆ ที่มีความสำคัญสูงยิ่งบนผืนแผ่นดินไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล
และสร้างความสุขใจแก่ผู้อยู่อาศัย เรือนไทยจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ศิลปะ วัฒนธรรม
วิถีความเป็นอยู่ ที่ทุกชีวิตล้วนเริ่มต้นและเติบโต จากภายใต้ร่มเงาชายคา “เรือนไทย”ทุกครัวเรือนไทย เป็นหน่วยเล็กๆ ที่มีความสำคัญสูงยิ่งบนผืนแผ่นดินไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล
“บ้านเรือน”
ความหมายที่หลากหลายคำที่มีความหมายว่าที่พักอาศัยหรือบ้านแบ่งเป็นระดับตามสถานะของผู้อยู่อาศัย
อาทิที่อยู่ของพระมหากษัตริย์ เจ้านาย คือ
1.
ปราสาท เรือนชั้น
เรือนมียอดเฉพาะเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน
2.
มณเฑียร เรือนหลวง
3.
พระบรมมหาราชวัง วัง พระบรมราชวัง ที่อยู่ของพระมหาอุปราช
4.
ตำหนักเรือนของเจ้านาย
5.
เรือนยอดเรือนที่มียอดต่อจากหลังคาขึ้นไป
(เรือนยอดทรงมณฑปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท)
6.
กุฎาคาร
7.
เรือนต้น
ยังมีคำที่เกี่ยวกับเรือนอีกมาก อาทิ
ยังมีคำที่เกี่ยวกับเรือนอีกมาก อาทิ
เรือนแก้วสิ่งที่ทำเป็นกรอบล้อมตามรูปนอกของพระพุทธรูป
เรือนจำที่ขังนักโทษ
เรือนเบี้ยทาสที่เป็นลูกทาสน้ำเงินเรียกทาสเรือนเบี้ย
เรือนไฟกระจกตะเกียงหรือโคม ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ
เรือนหอเรือนปลูกสำหรับคู่บ่าวสาวแต่งงานอยู่
เรือนเบี้ยทาสที่เป็นลูกทาสน้ำเงินเรียกทาสเรือนเบี้ย
เรือนไฟกระจกตะเกียงหรือโคม ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ
เรือนหอเรือนปลูกสำหรับคู่บ่าวสาวแต่งงานอยู่
ส่วนเรือนสาม น้ำสี่ ราศีสาม
คนโบราณหมายถึง
เรือนสามคือเรือนผม เรือนที่อยู่ เรือนใกล้เคียง ทั้งสามนี้ต้องจัดการให้ดีอยู่เสมอ
น้ำสี่คือ น้ำมันตะเกียง น้ำล้างหน้า น้ำใช้สอย น้ำใจ ทั้งสี่นี้อย่าให้บกพร่อง
ราศีสามคือ ตื่นนอนให้ล้างหน้า กลางวันให้อาบน้ำ สามอย่างนี้จะทำให้มีราศี คือ ความสง่างาม
เรือนสามคือเรือนผม เรือนที่อยู่ เรือนใกล้เคียง ทั้งสามนี้ต้องจัดการให้ดีอยู่เสมอ
น้ำสี่คือ น้ำมันตะเกียง น้ำล้างหน้า น้ำใช้สอย น้ำใจ ทั้งสี่นี้อย่าให้บกพร่อง
ราศีสามคือ ตื่นนอนให้ล้างหน้า กลางวันให้อาบน้ำ สามอย่างนี้จะทำให้มีราศี คือ ความสง่างาม
การปลูกสร้างบ้านเรือนตามคติความเชื่อ
1.เรือนไม้บั่ว หรือ เรีอนเครื่องผูกของชาวเหนือปลูกสร้างอย่างง่ายๆ
ด้วยภูมิปัญญาไทย
ที่ดัดแปลงหยิบจับวัสดุหาง่ายจากธรรมชาติมาสร้างเรือนพักคุ้มกันแดดฝน
ให้เกิดสุขอย่างพอเพียงตามอัตภาพ
2.เรือนเครื่องผูก :เรือนเครื่องผูกในภาคเหนือ ชาวล้านนาเรียกว่า "เรือนไม้บั่ว"หรือ
"เรือนมัดขื่อมัดแป" ถือเป็นเรือนแบบดั้งเดิม โครงสร้างหลังคา
เสา ตง พื้น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็ง
สามารถก่อสร้างกันได้เองโดยไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญงาน
2.1ดูลักษณะที่ดิน ตามคติความเชื่อแล้วก่อนสร้างเรือนจะต้องหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกบ้านให้ตรงตามตำราดูลักษณะที่ดิน
โดยดูถึงความสูงต่ำของระดับดินบริเวณปลูกสร้างรูปทรงที่ดิน
ตลอดจนเนื้อที่ทั้งหมดรวมทั้งสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอีกด้วย
2.2มื้อจั๋นวันดี สำหรับชาวเหนือก่อนจะปลูกเรือน ฤกษ์งามยามดีเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเชื่อกันว่า หากปลูกเรือนใน "มื้อจั๋น วันดี" คือฤกษ์ที่เหมาะสมแล้วผู้อยู่อาศัยย่อมมีความสุขความเจริญและอยู่เย็นเป็นสุขและยังครอบคลุมถึงการหาฤกษ์ยามดีในขั้นตอนการปลูกเรือนอื่น ๆ เช่น เข้าป่าหาไม้มาทำเสาเรือน ขุดหลุมฝังเสา ยกเสา เป็นต้น
2.3 การเข้าป่าตัดไม้ทำเสา ตามคติโบราณจะกำหนดช่วงเวลาที่เป็นมงคลเอาไว้ว่าควรจะตัดไม้ในเดือนใด เมื่อตัดไม้แล้ว หากไม้ล้มไปในทิศใดจะมีข้อความทำนายว่าควรนำเอามาทำเป็นเสาเรือนหรือไม่ และหากไม้ไปพาดกับต้นไม้อื่น ไม่ควรนำมาสร้างเรือน
2.4พิธีเสี่ยงทายในการตั้งบ้านใหม่ เพื่อหาบริเวณปลูกเรือนที่เป็นมงคล โดยวิธีเสี่ยงทาย ใช้ใบฝาแป้ง 8 ใบห่อของ8 อย่าง จัดพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน นำไปยังที่ที่ต้องการจะปลูกบ้านตั้งเรือนเสี่ยงทายจับห่อสิ่งของ 1 ห่อ เมื่อทำพิธีในบริเวณนั้นได้ห่อที่ไม่ดีก็ย้ายเสี่ยงทายในบริเวณอื่น สิ่งของเสี่ยงทายนั้นเป็นของที่มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น และมีความหมายถึงการดำเนินชีวิตภายหลังจากเข้าไปอยู่ในเรือนที่ปลูกในบริเวณที่เสี่ยงทายแล้ว อาทิ ถ้าหากได้ห่อดิน กระทำสิ่งใดจะสัมฤทธิ์ผล ได้ห่อข้าวเปลือก จักอยู่สุขสวัสดิ์ ได้ห่อลูกหิน จักอยู่ดีมีสุข ได้ห่อดอกไม้ จักมีชื่อเสียงได้เกียรติยศ เป็นต้น
2.5 โฉลกเสาเรือน เมื่อหาเสาเรือนครบ ช่างไม้จะเป็นผู้ปรุงเครื่องเรือน โดยจะกำหนดความสูงและขนาดของเรือน ขณะตัดเสาก็กล่าวคำโฉลกให้ได้คำที่ดีเป็นสิริมงคล
2.6 พิธีขุดหลุมเสาเรือน ก่อนจะขุดหลุมเสาเรือนต้องทำพิธีขอที่ดินกับพญานาคเพราะมีความเชื่อกันว่าพญานาคเป็นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์เป็นเจ้าแผ่นดิน อำนวยความสุขหรือภัยพิบัติให้มนุษย์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะทำการอันเป็นมงคลเกี่ยวกับการสร้างบ้านปลูกเรือน จะต้องบูชาเซ่นสรวงผู้ที่เป็นเจ้าที่ดินเสียก่อนแล้วจึงทำพิธีขุดหลุมเสาเรือนตามทิศที่เหมาะกับวัน
2.7 พิธีตัดเสาข่มนางไม้ การตัดไม้เสามาทำเป็น "เสามงคล" หรือ "เสานาง" นั้น เพื่อจะให้เสามงคลเป็นเสาที่มีอาถรรพ์ และศักดิ์สิทธิ์เป็นมงคลสำหรับตัวเรือนจริง ๆ และกันมิให้เสาตกมัน จึงมีการทำพิธีตัดและเกลาเสา การทำพิธีตัดเสานั้น ต้องหา "สล่า" หรือช่างไม้ที่มีความเข้าใจชำนาญในทางศาสตรเภท คือ การแก้เสนียดจัญไร อันจะเกิดจากไม้เสานั้น ต้องมีการตั้งขันคือการยกครูของภาคกลาง เมื่อตั้งขันแล้ว สล่าหรือปู่อาจารย์ก็ทำพิธีตัดเสาตามตำรา คือเสกขวานหรือมีดที่จะใช้ฟันและขณะฟันก็ว่าคาถากำกับด้วยเป็นการข่มนางไม้ เมื่อเสร็จพิธีก็เอาไม้นั้นมาทำเป็นเสามงคลหรือเสาเอก
2.8 พิธีปกเฮือน ครั้นได้ฤกษ์จะลงมือปลูกบ้านวันใด จึงทำพิธีปลูกบ้านหรือ "ปกเฮือน" การปลูกเรือนมักเริ่มทำกันแต่เช้าตรู่ ทำพิธียกเสามงคลและเสานางตลอดจนเสาอื่น ๆ ที่ได้เตรียมไว้ตรงปากหลุมแล้วช่างหรืออาจารย์ จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เพื่อให้การทำงานครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี
2.9 พิธีทำขวัญเสามงคล เมื่อทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เสร็จเรียบร้อยจึงทำ " พิธีทำขวัญเสามงคล" ตามตำราโบราณถือว่าเสามงคลเป็นพญาของเสาทั้งปวง เสามงคลเป็นเสาพ่อ เสานางเป็นเสาแม่อยู่คู่กัน จึงมีพิธีเรียกร้องขวัญไว้ คำเชิญขวัญนิยมเลือกหาผู้ที่จะว่าเชิญขวัญได้ไพเราะ เตรียมเครื่องเพื่อประพรมและผูกเสามงคลเมื่อถึงฤกษ์ยกเสามงคลเป็นเสาแรกและยกเสานางเป็นเสาที่สอง
2.10 พิธีฝังเสามงคลหรือเสานาง ให้คนที่มีชื่อ "แก้ว คำ เงิน ทอง มั่น แก่น"มาเป็นผู้ช่วยหามเสาและยกเสาลงหลุม เพื่อจะได้ เป็นมงคลแก่เจ้าของบ้าน ก่อนที่จะฝังหาใบเต๊า ใบหนุน ใบดอกแก้ว ใบตัน มารองหลุมทุกหลุมเพื่อเป็นคติว่าจะได้ช่วยค้ำจุนให้บ้านเรือนหลังนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง เสามงคลและเสานางนี้ คนโบราณถือมากในเรื่องการปรนนิบัติรักษา และเชื่อว่าจะต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอผู้ใดจะปัสสาวะรดหรือทำสกปรกไม่ได้ บางแห่งจะมีหิ้งติดไว้ทางหัวนอนและมีดอกไม้ธูปเทียนบูชาด้วยเมื่อเสร็จพิธีปลูกเรือนแล้วจากนั้นสัก 3 หรือ 7 วัน จึงทำการมุงหลังคาและส่วนอื่น ๆ และดูฤกษ์ยามเพื่อขึ้นบ้านใหม่ (กิมเล้ง, 2556 : ไม่มีเลขหน้า)
2.2มื้อจั๋นวันดี สำหรับชาวเหนือก่อนจะปลูกเรือน ฤกษ์งามยามดีเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเชื่อกันว่า หากปลูกเรือนใน "มื้อจั๋น วันดี" คือฤกษ์ที่เหมาะสมแล้วผู้อยู่อาศัยย่อมมีความสุขความเจริญและอยู่เย็นเป็นสุขและยังครอบคลุมถึงการหาฤกษ์ยามดีในขั้นตอนการปลูกเรือนอื่น ๆ เช่น เข้าป่าหาไม้มาทำเสาเรือน ขุดหลุมฝังเสา ยกเสา เป็นต้น
2.3 การเข้าป่าตัดไม้ทำเสา ตามคติโบราณจะกำหนดช่วงเวลาที่เป็นมงคลเอาไว้ว่าควรจะตัดไม้ในเดือนใด เมื่อตัดไม้แล้ว หากไม้ล้มไปในทิศใดจะมีข้อความทำนายว่าควรนำเอามาทำเป็นเสาเรือนหรือไม่ และหากไม้ไปพาดกับต้นไม้อื่น ไม่ควรนำมาสร้างเรือน
2.4พิธีเสี่ยงทายในการตั้งบ้านใหม่ เพื่อหาบริเวณปลูกเรือนที่เป็นมงคล โดยวิธีเสี่ยงทาย ใช้ใบฝาแป้ง 8 ใบห่อของ8 อย่าง จัดพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน นำไปยังที่ที่ต้องการจะปลูกบ้านตั้งเรือนเสี่ยงทายจับห่อสิ่งของ 1 ห่อ เมื่อทำพิธีในบริเวณนั้นได้ห่อที่ไม่ดีก็ย้ายเสี่ยงทายในบริเวณอื่น สิ่งของเสี่ยงทายนั้นเป็นของที่มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น และมีความหมายถึงการดำเนินชีวิตภายหลังจากเข้าไปอยู่ในเรือนที่ปลูกในบริเวณที่เสี่ยงทายแล้ว อาทิ ถ้าหากได้ห่อดิน กระทำสิ่งใดจะสัมฤทธิ์ผล ได้ห่อข้าวเปลือก จักอยู่สุขสวัสดิ์ ได้ห่อลูกหิน จักอยู่ดีมีสุข ได้ห่อดอกไม้ จักมีชื่อเสียงได้เกียรติยศ เป็นต้น
2.5 โฉลกเสาเรือน เมื่อหาเสาเรือนครบ ช่างไม้จะเป็นผู้ปรุงเครื่องเรือน โดยจะกำหนดความสูงและขนาดของเรือน ขณะตัดเสาก็กล่าวคำโฉลกให้ได้คำที่ดีเป็นสิริมงคล
2.6 พิธีขุดหลุมเสาเรือน ก่อนจะขุดหลุมเสาเรือนต้องทำพิธีขอที่ดินกับพญานาคเพราะมีความเชื่อกันว่าพญานาคเป็นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์เป็นเจ้าแผ่นดิน อำนวยความสุขหรือภัยพิบัติให้มนุษย์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะทำการอันเป็นมงคลเกี่ยวกับการสร้างบ้านปลูกเรือน จะต้องบูชาเซ่นสรวงผู้ที่เป็นเจ้าที่ดินเสียก่อนแล้วจึงทำพิธีขุดหลุมเสาเรือนตามทิศที่เหมาะกับวัน
2.7 พิธีตัดเสาข่มนางไม้ การตัดไม้เสามาทำเป็น "เสามงคล" หรือ "เสานาง" นั้น เพื่อจะให้เสามงคลเป็นเสาที่มีอาถรรพ์ และศักดิ์สิทธิ์เป็นมงคลสำหรับตัวเรือนจริง ๆ และกันมิให้เสาตกมัน จึงมีการทำพิธีตัดและเกลาเสา การทำพิธีตัดเสานั้น ต้องหา "สล่า" หรือช่างไม้ที่มีความเข้าใจชำนาญในทางศาสตรเภท คือ การแก้เสนียดจัญไร อันจะเกิดจากไม้เสานั้น ต้องมีการตั้งขันคือการยกครูของภาคกลาง เมื่อตั้งขันแล้ว สล่าหรือปู่อาจารย์ก็ทำพิธีตัดเสาตามตำรา คือเสกขวานหรือมีดที่จะใช้ฟันและขณะฟันก็ว่าคาถากำกับด้วยเป็นการข่มนางไม้ เมื่อเสร็จพิธีก็เอาไม้นั้นมาทำเป็นเสามงคลหรือเสาเอก
2.8 พิธีปกเฮือน ครั้นได้ฤกษ์จะลงมือปลูกบ้านวันใด จึงทำพิธีปลูกบ้านหรือ "ปกเฮือน" การปลูกเรือนมักเริ่มทำกันแต่เช้าตรู่ ทำพิธียกเสามงคลและเสานางตลอดจนเสาอื่น ๆ ที่ได้เตรียมไว้ตรงปากหลุมแล้วช่างหรืออาจารย์ จะทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เพื่อให้การทำงานครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี
2.9 พิธีทำขวัญเสามงคล เมื่อทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เสร็จเรียบร้อยจึงทำ " พิธีทำขวัญเสามงคล" ตามตำราโบราณถือว่าเสามงคลเป็นพญาของเสาทั้งปวง เสามงคลเป็นเสาพ่อ เสานางเป็นเสาแม่อยู่คู่กัน จึงมีพิธีเรียกร้องขวัญไว้ คำเชิญขวัญนิยมเลือกหาผู้ที่จะว่าเชิญขวัญได้ไพเราะ เตรียมเครื่องเพื่อประพรมและผูกเสามงคลเมื่อถึงฤกษ์ยกเสามงคลเป็นเสาแรกและยกเสานางเป็นเสาที่สอง
2.10 พิธีฝังเสามงคลหรือเสานาง ให้คนที่มีชื่อ "แก้ว คำ เงิน ทอง มั่น แก่น"มาเป็นผู้ช่วยหามเสาและยกเสาลงหลุม เพื่อจะได้ เป็นมงคลแก่เจ้าของบ้าน ก่อนที่จะฝังหาใบเต๊า ใบหนุน ใบดอกแก้ว ใบตัน มารองหลุมทุกหลุมเพื่อเป็นคติว่าจะได้ช่วยค้ำจุนให้บ้านเรือนหลังนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง เสามงคลและเสานางนี้ คนโบราณถือมากในเรื่องการปรนนิบัติรักษา และเชื่อว่าจะต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอผู้ใดจะปัสสาวะรดหรือทำสกปรกไม่ได้ บางแห่งจะมีหิ้งติดไว้ทางหัวนอนและมีดอกไม้ธูปเทียนบูชาด้วยเมื่อเสร็จพิธีปลูกเรือนแล้วจากนั้นสัก 3 หรือ 7 วัน จึงทำการมุงหลังคาและส่วนอื่น ๆ และดูฤกษ์ยามเพื่อขึ้นบ้านใหม่ (กิมเล้ง, 2556 : ไม่มีเลขหน้า)
บทที่ 4
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

รูปภาพที่ 4.1 เรือนทรงอาณานิคม
(ลุงคิว)
เรือนทรงอาณานิคม (ลุงคิว)
เป็นอาคารที่มีรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก
เรียกว่าแบบโคโลเนียล (Colonial) หรือเรือนในยุคอาณานิคม
ได้รับการอนุรักษ์ไว้จากบ้านที่เคยเป็นของนายอาเธอร์ไลออนแนล คิวริเปอล์ (Mr.
Arther Lionel Queripel) สร้างไว้ในราว พ.ศ. 2465 ลักษณะของเรือนสร้างตามแบบตะวันตก
เป็นอาคารทรงตึกสองชั้นใช้อิฐและปูนเป็นโครงสร้างส่วนพื้นและเพดานเรือนใช้ไม้แทน
ด้านหน้าอาคารมีระเบียงยาวตลอดทั้งแนว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเรือนในยุคนี้
ภายในเรือนแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเป็นสัดส่วน มีห้องต่างๆ ตามการใช้สอย เช่น
ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ฯลฯ ทางเข้าเรือนชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้างและมีเตาผิงไว้สำหรับให้ความอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว
ในปี พ.ศ. 2506 ที่ดินผืนนี้เป็นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จึงทำการอนุรักษ์เรือนไว้ให้คงสภาพเดิม
กระทั่งปัจจุบันตัวอาคารถูกปรับใช้เป็นที่ทำการของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
จึงถูกขนานนามอย่างง่ายๆ จากเจ้าหน้าที่ว่า “เรือนลุงคิว”

รูปภาพที่
4.2 เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา)
เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา)
1.เรือนพญาปงลังกาตั้งตามชื่อของผู้เป็นต้นตระกูล
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2439 โดย พ่อน้อยถาและแม่หน้อย
ซึ่งเป็นลูกเขยและลูกสาวของ พญาปงลังกา ต่อมาเรือนหลังนี้กลายเป็นมรดกตกทอดไปยัง
แม่อุ๊ยคำใส ถาวร ลูกสาวพ่อน้อยถาและแม่หน้อย จนถึงรุ่นหลานในยุคปัจจุบัน คือ
คุณจรัส มณีสอน ทายาทรุ่นโหลนของพญาปงลังกา เรือนหลังนี้สร้างเมื่อ แม่อุ๊ยคำใส
ถาวร อายุประมาณ 3 ขวบ
เมื่อเวลาผ่านไปความทรุดโทรมของสภาพเรือนก็เพิ่มมากขึ้น คุณพูนสวัสดิ์ ทองประดี
และคุณจรัส มณีสอน ทราบว่าสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์เรือนโบราณ
จึงตัดสินใจมอบเรือนหลังนี้ให้ โดยมีมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเรือน จากบ้านเลขที่ 769 หมู่
4 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
แล้วนำมาปลูกสร้างใหม่ตามแบบพิธีกรรมทางล้านนา เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเรือนที่สร้างจากไม้เนื้อแข็งทั้งหลังมุงหลังคาด้วย
“ดินขอ”มีขนาดใหญ่ปานกลาง
ถือเป็นเรือนของผู้มีฐานะ รูปแบบของเรือนคลี่คลายมาจากเรือนกาแลดั้งเดิม
แต่ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังคงไม่แตกต่างไปจากเรือนรุ่นก่อนมากนัก
โดยสร้างเป็นเรือนขนาดสองจั่วยกพื้นสูง เรือนใหญ่เป็น “เฮือนนอน”และมี “เติ๋น”เป็นพื้นที่โล่งกว้างเปิดฝาผนังด้านเดียวอยู่ด้านหน้าเรือน
สำหรับนั่งทำงาน รับรองรับแขกและใช้พักผ่อนในเวลากลางวัน
ส่วนเรือนเล็กทางด้านตะวันออกคือ “เฮือนไฟ”หรือห้องครัว มีประตูด้านหน้าออกไปยังชานระเบียงขนาดเล็ก
ที่เชื่อมกับบันไดทางขึ้นเรือน
2.เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)เป็นของ
อุ๊ยผัด โพธิทา อยู่ที่ตำบลป่าพลู อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
สันนิษฐานว่าตัวเรือนสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2460 โดยทาง
มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และ อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ
เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เรือนนี้
จึงได้สนับสนุนการรื้อย้ายจากอำเภอจอมทองมาปลูกไว้ในบริเวณที่ตั้งของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
เมื่อ พ.ศ. 2537ลักษณะเป็นเรือนกาแลขนาดเล็กยกพื้นสูง
ทำด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วย “แป้นเกล็ด”หรือ กระเบื้องไม้ ตัวเรือนมี 3 จั่ว คือ “เฮือนนอน”ทำเป็นจั่วขนาดใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออก
ส่วน
3. เฮือนไฟมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านตะวันตก
และจั่วขวางขนาดเล็กด้านหน้าเรือนเป็นที่วางหม้อน้ำดื่ม
มีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและหลังเรือน บันไดด้านหน้าเรือนเชื่อมต่อกับชาน
หรือที่คนเมืองเรียกว่า “ชานฮ่อม”ถัดจากชานเข้าไปด้านซ้ายมือมี
“ฮ้านน้ำ”ทำเป็นชั้นไม้ยกระดับติดกับข้างฝา
เป็นที่สำหรับตั้งหม้อน้ำไว้บริการแขกผู้มาเยือนและคนในเรือนถัดจากชานฮ่อม
เป็นบริเวณของ “เติ๋น”ซึ่งถูกยกระดับให้สูงกว่าพื้นชานฮ่อมราวหนึ่งคืบและอยู่ภายในชายคาเรือน
พื้นที่ส่วนนี้มีความกว้างมากพอสำหรับใช้ประโยชน์ได้ตามเอนกประสงค์
ด้านตะวันออกของเติ๋นจะตีฝาไม้คั่นระหว่างเติ๋นกับชานฮ่อมเพื่อกั้นเป็น “หิ้งพระ”โดยทำชั้นไม้ติดกับผนังฝั่งขวา
ตรงกลางเติ๋นเป็นทางเดินยาวทะลุไปถึงชานด้านหลังเรือน
ภายในเรือนถัดจากเติ๋นคือห้องนอน ภายในเป็นห้องโถงกว้างแบ่งเป็นห้องเล็กๆ โดยใช้ “ผ้ากั้ง”ตรงส่วนบนของกรอบประตูห้องนอนจะมีแผ่นไม้แกะสลักลวดลายต่างๆ
เรียกว่า “หัมยนต์”อันเป็นเครื่องรางป้องกันภูตผีปิศาจมารบกวน

รูปภาพที่ 4.3 เรือนกาแล
(พญาวงศ์)
เรือนกาแล (พญาวงศ์)
เรือนพญาวงศ์
เป็นชื่อที่ได้มาจากเจ้าของเรือนคือ พญาวงศ์ นายแคว่นหรือกำนันแห่งบ้านสบทา
แขวงปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เรือนหลังนี้ปลูกสร้างโดยลูกเขยของพญาวงศ์
ชื่อว่า พญาอุด ซึ่งเป็นนายแคว่นบ้านริมปิง
ได้สร้างเรือนหลังนี้ให้กับพญาวงศ์เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440
เมื่อพญาวงศ์เสียชีวิตลงก็ไม่มีผู้สืบทอดหรืออาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ต่อ
จนกระทั่ง พระครูเวฬุวันพิทักษ์ (เขื่อนคำ อตฺตสนฺโต)
เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้าและเจ้าคณะอำเภอป่าซางในขณะนั้น ได้พบเห็น
จึงได้ติดต่อขอซื้อเรือนแล้วทำการรื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร
บ้านแม่อาว ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ซึ่งท่านก็เป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ด้วยอีกแห่งหนึ่ง จากนั้น นายแฮรี่ วอง
ชาวสิงค์โปร์ได้ซื้อไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 มูลนิธิ
ดร.วินิจ–คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้สนับสนุนการรื้อถอนและมอบเรือนหลังนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรือนพญาวงศ์
เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงมุงด้วย “ดินขอ”หลังคาทรงจั่วแฝด หรือ “สองหลังร่วมพื้น”ยอดจั่วมี “กาแล”เป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากป้านลมวางไขว้กันอยู่
จึงทำให้มีชื่อเรียกว่า “เรือนกาแล”ซึ่งเป็นเรือนล้านนาดั้งเดิมที่นิยมทำในช่วงประมาณ 100 ปีที่แล้ว
ทั้งนี้ฝาเรือนพญาวงศ์ก็เป็นแบบล้านนาโบราณที่ทำเป็นฝาผายออกเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาที่ป้านและลาดต่ำ
ลักษณะการแบ่งพื้นที่ใช้สอยประกอบด้วย 4 ส่วน คือ “ชาน”อยู่ด้านหน้าของเรือนพร้อมบันไดทางขึ้น
เป็นส่วนที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม มีขนาดพื้นที่ 1 ใน 3
ของตัวเรือนทั้งหมด ถัดจากชานเป็น “เฮือนนอน”มีอยู่ 2 หลังคู่กัน โดยเรือนด้านตะวันออกจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือนด้านตะวันตกเล็กน้อย
เพราะความเชื่อของชาวล้านนาจะไม่สร้างจั่วเรือนให้มีขนาดเท่ากัน
ดังนั้นเจ้าของเรือนจึงอาศัยอยู่ในเรือนใหญ่
ส่วนเรือนเล็กก็มักจะจัดให้เป็นห้องของลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เหนือประตูห้องนอนมี “หัมยนต์”ติดอยู่ ด้านหน้าเรือนนอนทั้งสองคือ “เติ๋น”ทำเป็นพื้นที่เปิดโล่งให้เชื่อมต่อกับชาน
แต่ยกพื้นขึ้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
ตรงกลางระหว่างเรือนแฝดมีทางเดินเชื่อมไปยังด้านหลังเรือน ซึ่งมี “เฮือนไฟ”เป็นเรือนเรือนขนาดเล็กวางแนวขวาง
ทำด้วยฝาไม่ไผ่สานขัดกัน และมีบันไดทางขึ้นต่อจากชานหลังเรือน
เดิมทีช่างได้สร้างเรือนพญาวงศ์ด้วยวิธีการเข้าลิ่มตอกสลักอย่างดีแทบไม่ปรากฏรอยตะปู
อันเป็นความสามารถเชิงช่างในอดีต
แต่ปัจจุบันผลจากการรื้อย้ายและการซ่อมแซมทำให้ปรากฏรอยตะปูให้เห็นบ้าง
ยกเว้นบางส่วนที่ยังคงสภาพดี จากรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนพญาวงศ์
จึงถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของเรือนกาแลล้านนาที่สมบูรณ์หลังหนึ่ง
ที่ควรค่าแก่การศึกษาทั้งในด้านเทคนิคการสร้างและพื้นที่ใช้สอยภายในเรือน

รูปภาพที่ 4.4 เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)
เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)
เรือนหม่อนตุด
เป็นเรือนของชาวไทลื้อ
ที่สร้างขึ้นจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบเรือนไทลื้อกับเรือนแบบไทยวน
โดยกลุ่มชาวไทลื้อจากมณฑลยูนาน
ตอนใต้ของจีนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ตั้งแต่อดีต
ซึ่งแต่เดิมเรือนหลังนี้เป็นของ นางตุด ใบสุขันธ์ ชาวไทลื้อบ้านเมืองลวง ตำบลลวงเหนือ
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเรือนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460
โดย พ่อน้อยหลวง สามีหม่อนตุดเป็นผู้สร้างขึ้นเอง
เริ่มจากการซื้อเรือนไม้เก่าจากบ้านป่าก้าง อำเภอดอยสะเก็ด แล้วใช้ช้างถึง 3
เชือก พร้อมวัวควายที่พ่อน้อยหลวงมีอยู่ไปชักลากมา
นำมาสร้างเป็นเรือนไม้ที่มีรูปทรงเรียบง่ายตามแบบเรือนสามัญชนปลายปี 2534 อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ
ได้ทราบเรื่องการประกาศขายเรือนของหม่อนตุดจาก ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง
อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงตัดสินใจซื้อไว้แล้วมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เพื่อเก็บรักษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่
จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้คนทั่วไปได้ศึกษา
เรือนหม่อนตุดเป็นเรือนไม้ขนาดกลางมุงหลังคา
“แป็นเกล็ด”ลักษณะเป็น
“เรือนสองหลังหน้าเปียง”หมายถึงมีเรือนจั่วสองหลังวางต่อกันในระนาบเดียวกัน
องค์ประกอบของเรือน 2 หลัง คือ ห้องด้านตะวันออกเป็น “เฮือนนอน”โล่งกว้าง
สำหรับสมาชิกในครัวเรือนจะนอนรวมกันในห้องนี้ โดยใช้ “ผ้ากั้ง”มีลักษณะเป็นเหมือนผ้าม่าน ใช้กั้นแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ตามช่วงเสา
ส่วนเรือนที่อยู่ทางด้านตะวันตกคือ “เฮือนไฟ”หรือห้องครัว อยู่ระดับเดียวกับพื้นเรือนนอน
ตรงกลางระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันทำเป็นรางน้ำฝน เรียกว่า “ฮ่อมริน”ด้านข้างเรือนไฟทำเป็นระเบียงยาวเชื่อมกับชานหลังบ้าน
มีบันได 2 ด้าน
คือที่ชานหน้าและชานหลังบ้านหน้าเรือนทั้งสองเป็นพื้นที่โล่งไม่มีผนังกั้นเรียกว่า
“เติ๋น”เป็นที่ทำงานบ้าน เช่น
ทอผ้า ปั่นฝ้าย จักสาน และเป็นที่นั่งพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน
ฝาเรือนด้านตะวันออกของเติ๋นมี “หิ้งพระ”ทำเป็นชั้นวางเพื่อสักการะบูชาพระพุทธรูปหรือเก็บรักษาเครื่องรางของขลัง
ถัดจากเติ๋นออกมานอกชายคาคือ “ชาน”เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาแล้วเชื่อมกับบันไดทางขึ้นเรือน ด้านข้างชานมี “ฮ้านน้ำ”วางหม้อน้ำสำหรับดื่ม
ด้านล่างเป็นใต้ถุนสูง สร้างคอกวัวควายและมีครกมองตำข้าว

รูปภาพที่ 4.5 เรือนพื้นถิ่นล้านนา (อ.แม่แตง
จ.เชียงใหม่)
เรือนพื้นถิ่นล้านนา (อ.แม่แตง
จ.เชียงใหม่)
เรือนพื้นถิ่นแม่แตงปลูกสร้างครั้งแรกประมาณปี
พ.ศ. 2460 ที่บ้านป่าไผ่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ. เชียงใหม่
เดิมเป็นเรือนของ พ่อน้อยปิง แล้วตกทอดมาถึง นางขาล ตาคำ
จากนั้นได้ย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2551รูปแบบเป็นเรือนพื้นถิ่นที่มีการจัดพื้นที่ใช้สอยตามการใช้งานของครอบครัวในชนบท
ตัวเรือนเป็นจั่วแฝดยกพื้นสูงสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง
โครงสร้างเป็นระบบเสาและคานใช้ประกอบแบบเจาะช่องสอดเข้าเดือย บาก
พาดผนังเรือนเป็นไม้แผ่นตีซ้อนแนว ส่วนพื้นเรือนปูด้วย “ไม้แป้น”
หรือไม้กระดาน โดยยกพื้นห้องนอนและเติ๋นขึ้นมาหนึ่งระดับเพื่อแบ่งส่วนพื้นที่ใช้สอย
อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์ในการนั่งตรงบริเวณจุดต่างระดับของพื้นอีกด้วย
ส่วนหลังคาสองจั่วหลักเชื่อมต่อกันโดยมุงกระเบื้องดินขอ มี “ฮ่อมลิน”
คือทางเดินระหว่างเรือนสองหลังเป็นแนวยาวระหว่างเรือนนอน จากพื้นที่เติ๋นไปยังด้านหลังเรือน
เหนือฮ่อมรินเป็น ฮางรินหรือรางระบายน้ำฝนวางในจุดเชื่อมต่อระหว่างชายคาสองจั่วชายคา
ด้านหน้าเรือนใกล้กับบันไดในส่วนของชานมี ฮ้านน้ำทำเป็นชั้นยื่นออกมา
พื้นที่ของเติ๋นและชานทำหลังคายื่นออกมาคลุมทั้งหมดไว้ แล้วกั้นด้านหน้าเรือนด้วย “ฝาไหล” เป็นเหมือนฝาที่สามารถเลื่อนเปิดหรือปิดช่องว่างระบายอากาศได้
รอบๆ เรือนทำระเบียงไม้ระแนงกั้นไว้
เพื่อให้ตัวเรือนดูมิดชิดขณะเดียวกันก็ช่วยถ่ายเทอากาศได้ด้วย
ซึ่งแตกต่างจากเรือนล้านนาโบราณที่เปิดโล่งในส่วนของเติ๋นและชาน

รูปภาพที่ 4.6 ยุ้งข้าวล้านนา (เลาหวัฒน์)
ยุ้งข้าวล้านนา (เลาหวัฒน์)
ยุ้งข้าวของเรือนกาแล
(พญาวงศ์) นำมาปลูกสร้างใหม่พร้อมกันกับเรือนโดยได้รับการสนับสนุนการอนุรักษ์จาก
คุณแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์ และครอบครัว และรื้อย้ายมาปลูกขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อ พ.ศ. 2542ยุ้งข้าวหรือหลองข้าวเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่คู่กับเรือนของชาวล้านนา
สร้างจากไม้ทั้งหลัง ใช้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินได้ตลอดปี
หลองข้าวของเรือนกาแลยกพื้นสูงจั่วเดียว ทำหลังคาซ้อนเป็นสองระนาบ
หลังคาส่วนบนเป็นจั่วสูงชันรองรับด้วยหลังคาปีกนกที่ยื่นออกมาคลุมตัวเรือนหลองข้าว
การตั้งเสาจะวางเรียงกันเป็นคู่แล้วสอบเข้าหากันเพื่อให้รับน้ำหนักได้ดี
โครงสร้างหลองข้าวเหมือนกับเรือนพักอาศัยแต่ไม่มีบันได หากต้องการข้าวก็จะใช้ “เกิ๋น”เป็น เหมือนบันไดลิงพาดกับหลองข้าวขึ้นไป
ผนังตีในแนวตั้งปิดทึบทุกด้าน ลักษณะพิเศษของตัวหลองนี้มีขนาดใหญ่และตกแต่งป้านลมอย่างสวยงาม
แสดงให้เห็นว่าเจ้าของบ้านมีฐานะ เพราะมีที่นามาก
ดังนั้นผลิตข้าวในแต่ละปีจึงมีมากเช่นกัน

รูปภาพที่ 4.7 ยุ้งข้าวล้านนา (อ.สารภี
จ.เชียงใหม่)
ยุ้งข้าวล้านนา (อ.สารภี จ.เชียงใหม่)
หลองข้างหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 2450 เจ้าของคือ พ่อโต (เศรษฐี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2551
Professor Dr. Hans Langholzและภรรยา Dr. Med. Dr. Phil
Agnes Langholzได้ให้การสนับสนุนในการเคลื่อนย้ายหลองข้าวหลังนี้มาไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมหลองข้าวสารภีเป็นอาคารไม้ขนาดกลาง
ใต้ถุนสูงพอประมาณ ใช้วิธีการสร้างแบบโบราณ
โดยทำโครงสร้างหลังคาใช้วิธีเจาะเพื่อเข้าเดือยปลายเสา
แล้วเจาะช่องกลางเสาสอดไม้แวง(รอด) ทะลุส่วนที่เป็นหลังคาจั่วลาดต่ำ
ตัวเรือนตีไม้ปิดทึบเป็นห้องเอาไว้เก็บข้าว ล้อมรอบด้วยระเบียง(สำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม, 2551 : ไม่มีเลขหน้า)

รูปภาพที่ 4.8 เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร)
เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร)
เดิมเป็นเรือนของ
หลวงอนุสารสุนทรและนางคำเที่ยง ชุติมา ที่สร้างให้กับบุตรชาย คือ นายแพทย์ยงค์
ชุติมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2467 เดิมตั้งอยู่บริเวณตลาดอนุสารสุนทร
ถนนช้างคลาน ในความครอบครองของบริษัทสุเทพ จำกัด
ต่อมาทายาทได้มอบเรือนให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2547มีลักษณะเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่จำนวนสองชั้น
เป็นรูปแบบเรือนของคหบดีหรือผู้มีฐานะนิยมสร้างขึ้นในช่วงสมัยที่ยังคงได้รับอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก
เกิดเป็นรูปแบบที่มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในยุคโคโลเนียลกับเรือนพื้นถิ่นล้านนา
จึงมีหลังคาทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัวผสมผสานกับหลังคาทรงจั่วที่ยังคงมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินขอ
ชั้นบนเป็นระเบียงมุขยื่นออกมาด้านหน้า เชื่อมด้วยระเบียงยาวที่ทำล้อมรอบตัวเรือน
ตั้งแต่โถงบันไดทางขึ้นด้านข้างยาวจนจรดด้านหลังเรือน
ภายในตัวเรือนชั้นบนเป็นห้องโถงที่มีบันไดลงสู่ชั้นล่าง พื้นที่ชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้างปิดผนังด้วยฝาไม้ทุกด้าน
ระหว่างผนังเจาะช่องหน้าต่างเพื่อระบายอากาศและให้แสงเข้าถึงในห้อง (สุจิตรา มาถาวร, 2537 : 152-153)

รูปภาพที่ 4.9 เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว)
เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว)
เรือนหลังนี้เดิมเป็นของอุ๊ยอิ่นและอุ๊ยแก้ว
ธาระปัญญา ตั้งอยู่ที่บ้านสันต๊กโต (สันติธรรม) หรือบริเวณแจ่งหัวลิน ใกล้ๆ
กับถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอาจารย์วิถี พานิชพันธ์
จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ซื้อเรือนหลังนี้ไว้ โดยมีมูลนิธิ มร.
ยาคาซากิ มหาวิทยาลัยเกียวโต เซกะ ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์
แล้วนำมาสร้างใหม่อีกครั้ง ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2540
เรือนพื้นถิ่นเมืองเหนือ
เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 มีรูปแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ก่อสร้างอย่างธรรมดาตามแบบชาวบ้านทั่วไป
มีขนาดเล็กกะทัดรัดสำหรับครอบครัวเดี่ยว
ตัวเรือนยกพื้นไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเรือนล้านนาในยุคก่อน
ถือเป็นรูปแบบที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปตามสังคมสมัยใหม่
หลังคาเรือนมีสองจั่ววางต่อกันเป็นผืนคลุมทั้งตัวเรือน จึงไม่มีชานโล่งด้านหน้าเรือน
แต่ทำฝาไม้ระแนงโปร่งปิดทุกด้านแทน
ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังคงมีความคล้ายคลึงกับเรือนยุคก่อน ซึ่งมี “เติ๋น”อยู่ส่วนกลางของเรือน
ทำเป็นพื้นยกระดับขึ้นมาจากทางขึ้นหน้าประตู ด้านตะวันออกของเติ๋นเป็น “หิ้งพระ”สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ถัดจากเติ๋นเข้าไปมีห้องนอน
2 ห้อง อยู่ทางด้านตะวันออกและตะวันตก
ตรงกลางเป็นทางเดินทะลุไปยัง “ครัวไฟ”หรือห้องครัวด้านหลังเรือน (ฐาปนีย์ เครือระยา,
2558 : 9-14)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น