กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm)
ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน
และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็น
3 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) กล้ามเนื้อเรียบ
(smooth muscle) และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
กล้ามเนื้อทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่
(motion)
รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน
กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น
การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร
การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย
และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps
muscle) ที่ต้นขา
หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ
คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย
(Maintain
Body Posture)
ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน
(Stabilize
Joints)
ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว
(Provide
Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical
Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain
Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
ประเภทของกล้ามเนื้อ
1.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)
พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย
และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) เพราะเราไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้
สมองและร่างกายขจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมันเอง เช่น ในกระเพาะ (Stomach)
และระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) กล้ามเนื้อเหล่านี้จะหดตัวแน่นขึ้นและขยายตัวออก
เพื่อให้อาหารเดินทางไปตามระบบย่อยอาหารส่วนอื่นๆของร่างกายได้
2.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)
กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ
(Voluntary
Muscle) ชนิดเดียวในร่างกาย
กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้
กล้ามเนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะทำงานร่วมกัน
ทำให้ร่างกายสามารถทำงาน กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย
จึงทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
การทำงานของกล้ามเนื้อ
เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว
ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน
แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว
กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว
การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle
เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors
คลายตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะหดตัว
ทำให้แขนเหยียดออก ส่วนเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors หดตัว
กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะคลายตัว ทำให้แขนงอเข้า
การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง
ออกกำลังกาย (Exercise)
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
(Aerobics
Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น
ส่วนการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า
การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobics Exercise)
โภชนาการที่เหมาะสม (Proper
Nutrition)
การรับประทานผัก
ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย
เส้นเยื่อไมโอไฟบริล
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ประกอบด้วยเส้นที่ประกอบด้วยโปรตีน (Protein
filament) 2 ชนิด
คือ
1.เส้นหนาประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียกว่าเส้นใยไมโอซิน
(Myosin filament)
2.เส้นบางประกอบด้วยโปรตีนหรือที่เรียบว่าเส้นใยแอ็คทิน
(Actin filament)
เส้นใยทั้ง 2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายนี้ จะรวมตัวกันเป็นหน่วยเรียกว่า ซาร์โคเมีย (Sarcomere) และเส้นใยทั้ง
2 เส้น ซึ่งมีจำนวนมากมายในแต่ละซาร์โคเมีย
จะทำให้กล้ามเนื้อลายมีลักษณะเป็นลายมืดและลายสว่างสลับกันไป
เส้นใยไมโอซินตั้งอยู่ในเขตที่มืดซึ่งเรียกว่า
เอแบนด์ หรือ อนิโวทรอปปิคแบนด์ (A-Band or Anisotropic Bands) อย่างไรก็ดี เส้นใยแอคทินจะยื่นเข้าไปในเขตเอแบนด์ด้วยและเมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อลายหดตัว
เส้นใยแอ็คทินจะเคลื่อนตัวไปซ้อนทับเส้นใยไมโอซินในเขตเอแบนด์มากขึ้น
เส้นใยแอ็คทินจะอยู่ติดกับเส้นซีไลน์ (Z-line) ซึ่งอยู่ที่ปลายซาร์โคเมียแต่ละข้าง
เนื่องจากเส้นซีไลน์ตั้งอยู่ตลอดความยาวของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย ฉะนั้น
ช่วงซาร์โคเมียมีเขตเอแบนด์และเขตไอแบนด์ (I-Band ) บรรจุอยู่
จึงเป็นเหตุที่ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อลายมีลักษณะปรากฏเป็นลาย
ถ้าเส้นใยกล้ามเนื้อลายถูกดึงออกจากกันแรงมากผิดปกติ
ปลายของเส้นใยแอ็คทินภายในเขตเอแบนด์จะถูกดึงออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เขตเอชโซน (H -zone) ปรากฏอยู่ตรงกลางของเขตเอแบนด์
กล้ามเนื้อลายจะหดตัวเมื่อเส้นใยไมโอซินและแอ็คทินเลื่อนเข้าหากัน
ในขณะที่กล้ามเนื้อลายหดตัว เนื่องจากเส้นใยแอ็คทินยึดแน่นอยู่กับเส้นซีไลน์
ดังนั้น
เมื่อเส้นซีไลน์ถูกดึงเข้าหากันก็จะทำให้ช่วงไอแบนด์และช่วงซาร์โคเมียหดตัวสั้นลงตามไปด้วย
ทฤษฎีการหดตัวของกล้ามเนื้อลายนี้เรียกว่า
ทฤษฎีเส้นใยเลื่อนเข้าหากัน (Sliding over the filaments theory)
ชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย
ในสมัยก่อนนักกายวิภาคและสรีรวิทยาได้จำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายออกเป็น
2 ชนิด คือ เส้นใยกล้ามเนื้อสีแดง และเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาว
การที่เส้นใยกล้ามเนื้อลายถูกจำแนกเป็นสีแดง และสีขาว
เนื่องจากการสังเกตสีที่ประกอบเป็นส่วนใหญ่ของเส้นใยกล้ามเนื้อลายในการจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายประเภทนี้
เส้นใยกล้ามเนื้อลายสีแดง ถูกพิจารณาว่าเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวช้า (Slow
twitch fiber) หรือที่เรียกย่อว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสที (ST
fiber) เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิดสีแดง
เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่เหมาะสมกับการทำงานระยะยาว
ซึ่งมักจะพบมากในกล้ามเนื้อลายที่ช่วยในการทรงรูปร่าง
และกล้ามเนื้อลายที่มีหน้าที่ต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ส่วนเส้นใยกล้ามเนื้อลายสีขาวถูกพิจารณาว่าเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวเร็ว
(Fast twitch fiber) หรือเรียกย่อๆ ว่า
เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟที (Ft fiber) เส้นใยสีขาวมักจะพบมากในกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เกี่ยวการงอ
ในปัจจุบันการจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลาย
จึงได้เปลี่ยนแปลงไปจากระบบเก่า
ซึ่งจำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายตามสีเป็นการจำแนกออกตามลักษณะการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อลาย
มีการค้นพบว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายสีขาว ซึ่งเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อลายที่หดตัวเร็ว
ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ชนิด
ซึ่งเส้นใยกล้ามเนื้อสีขาวทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่างกันในด้านการทำงานทางแง่สรีรวิทยา
ปีเตอร์
และคณะ (Peter
et al., 1972) ได้จำแนกเส้นใยกล้ามเนื้อลายตามลักษณะการทำงานให้เห็นได้ชัดเจน
3 ชนิด คือ
เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวช้าและต้องใช้ออกซิเจนช่วยในการหดตัว (Slow, Oxidative fiber) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสโอ (SO Fiber)
เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวเร็ว
และต้องใช้ออกซิเจนตลอดจนกลูโคสช่วยในการหดตัว (Fast, Oxidative,
Glycolytic fiber) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า
เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟโอจี (FOG fiber)
เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบหดตัวเร็ว
และต้องใช้กลูโคสช่วยในการหดตัวเพียงชนิดเดียว (Fast glycolytic fiber)
หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟจี (FG
fiber)
ดูโบวิทซ์และบรู๊ค
(Dubowitz
and Brooke, 1973) ได้เรียกเส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอสโอว่า
เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิดที่ 1 (Type I) และได้เรียกเส้นใยกล้ามเนื้อลายแบบเอฟโอจีและแบบเอฟจีว่า
เส้นใยกล้ามเนื้อลายชนิด 2 เอ และชนิด 2 บี (Type IIaและ Type IIb) ตามลำดับ
กล้ามเนื้อใบหน้า
กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น
คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า
อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ
เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้
เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่
Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่
ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก
เวลาดมกลิ่น
Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว
ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่
ปิดตา หรือหลับตา
Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม –
ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่
หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก
ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว (Muscle of mastication) มี 4 มัด คือTempolaris muscle อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า
หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหารMasseter muscle อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหารPterigiod
muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง
มี 2 คู่ คือ External และ Internal
pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง
กล้ามเนื้อคอ (Muscle
of the neck)
กล้ามเนื้อคอ (Muscle of the neck) ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด คือ
1.Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideusเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะพาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก
Mastoid และกระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ
2.Splenius capitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ
มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (thoracic spine) อันที่
3 และ 4
ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
3.Semispinaliscapitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ
จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine) อันที่
4 และ 5
ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle
of the trunk)
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle
of the trunk) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง
ดังนี้
1.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้ากล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าที่เห็นเด่นชัด
และมัดใหญ่ มีดังนี้
1.1 Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis
major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid
process ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง
และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน
1.2 Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่บนกล้ามเนื้อ
Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไปยังกระดูกต้นแขน
เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำหน้าที่หุบ
งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย
การหายใจเข้ารั้งแขนให้มาทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่
1.3 Rectus abdominisเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ
เมื่อออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า (Pubic bone) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้างขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid
และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7
ทำหน้าที่เกร็งช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร
1.4 Oblique externusหรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจากกระดูกที่
4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ
Rectus abdominis
1.5 Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็นแฉก ๆ
ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบัก
ทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบักให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid
เวลายกแขน
2.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง
มีกล้ามเนื้อที่สำคัญดังนี้
2.1 Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลังโดยยึดเกาะจากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา
ทำหน้าที่รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น
ส่วนกลางหดตัวจะดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะทำให้ไหล่ถูกดึงลง
2.2 Latissimusdorsiเป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง
คลุมอยู่ตอนล่างของแผ่นหลังและบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก
ทำหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดลำตัวดึง แขน ลงมาข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน
กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้ำ และกรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีในขณะที่จาม
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle
of the upper limb)
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle
of the upper limb) ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขนที่สำคัญ คือ
1.กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่
1.1 Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ
อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนารูปสามเหลี่ยมจุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก
แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ยกไหล่และยกต้นแขน
เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน
1.2 Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน
ทำหน้าที่ช่วยกล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน
1.3 Infraspinatusเริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน
ทำหน้าที่หมุนต้นแขนออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง
1.4 Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูกต้นแขนโดย Teres minor ทำหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ทำหน้าที่หมุนแขนเข้าด้านใน
1.5 Subscapularisมีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน
ทำหน้าที่หมุนต้นแขนเข้าด้านใน
2.กล้ามเนื้อแขนส่วนต้นที่สำคัญได้แก่
2.1 Biceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน
มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid
process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity
ของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน
หมุนแขนเข้าและดึงออก
2.2 Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง
เกาะจากกระดูกต้นแขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน
(Ulna) ทำหน้าที่งอข้อศอก
2.3 Coracobrachialisเกาะจาก Coracoid
process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลางของกระดูกต้นแขน
ทำหน้าที่งอต้นแขน
2.4 Triceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน
ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna)
กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps
brachiiคือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน
3.กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
3.1 Brachioradialisเป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน
มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของกระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius)
ทำหน้าที่งอปลายแขน
3.2 Flexor carpi radialisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน
มีจุดเกาะที่กระดูกต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2
และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ
3.3 Palmaris longusเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน
จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น (Tendon)
ไปเกาะที่ฝ่ามือทำหน้าที่งอข้อมือ
3.4 Flexor carpi ulnarisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน
(Ulna) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ
3.5 Extensor carpi radialislongusเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขนแล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง
ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ
3.6 Extensor digitorumเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขน
และมีปลายเป็นเอ็น 4 อัน ไปเกาะยังกระดูกนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือและข้อมือ
4.กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว
กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้วมือ
เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น
ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง
ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้งช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น
ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ
ได้แก่
4.1 Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ
โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือจะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
4.2 Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย
มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้วก้อย
4.3 Dorsal interosseusเป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่
1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้
ทำหน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ
4.4 Abductor pollicisเกาะอยู่ที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ
ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle
of the lower limb)
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา (Muscle
of the lower limb) ที่สำคัญ ดังนี้
1.กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ
1.1 Gluteus maximusเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่
และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum
ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา
กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง
1.2 Tensor fasciae lataeเป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก
เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน
2.กล้ามเนื้อส่วนโคนขา
กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของต้นขาเรียกว่า Flexor
surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง(Hamstring
group) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ (Adductor
group) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior
group) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 Biceps femorisเป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่าง
จุดเกาะเริ่มจากกระดูก Ischium และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก
(Fibula)ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่า
2.2 Rectus femorisเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา
(Anterior group)เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา
จุดเกาะเริ่มจากกระดูก lliumไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia)
ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา
2.3 Satoriusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา
มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่
(Tibia)ทำหน้าที่งอต้นขา และปลายขา
3.กล้ามเนื้อส่วนปลายขา
กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา(Anterior compartment) กลุ่มด้านข้างของปลายขา (Lateral compartment) และกลุ่มด้านหลังของปลายขา
(Posterior compartment) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ
ได้แก่
3.1 Tibialisanticusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา
เกาะจากด้านข้างของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) และจากผังผืด
ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก
และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
3.2 Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา
เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจากส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน
ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า(Achillis tendon) ทำหน้าที่งอหลังเท้า
เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย
3.3 Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่
รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า
4.
ล้ามเนื้อส่วนเท้ากเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะคล้ายบริเวณมีข้อมือแตกต่างกันตรงที่เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมส้นเท้าระหว่างการเดิน
กล้ามเนื้อส่วนเท้าที่สำคัญ มีดังนี้
4.1 Flexor hallucislongusเกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง
ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า
ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และบิดเท้าเข้าด้านใน
4.2 Extensor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้วเท้าทั้ง 4
ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4
4.3 Adductor hallucisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า
4.4 Flexor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเท้า ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว
เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าเวลาเดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น