เลือด เป็นสื่อกลางในร่างกายที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการหายใจ
การขับถ่ายของสียออกจากร่างกาย การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน
รักษาสมดุลกรด-เบส สมดุลน้ำ และการติดต่อสื่อสารภายในเซลล์
ในเลือดมีสารอาหารที่ส่งไปเลี้ยงเซลล์ เลือดเป็น Connective tissue ชนิดหนึ่ง
เลือด
ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) มี 55% โดยปริมาตร
ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91% นอกนั้นเป็นสารอื่นๆ ได้แก่ สารอาหารต่างๆ เอนไซม์
และแก๊ส น้ำเลือดจะทำหน้าที่ ลำเลียงอาหารไปยังเซลล์
และนำของเสียรวมทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ ไปยังอวัยวะขับถ่าย
เพื่อกำจัดออกนอกร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม ฮาร์วีย์
เป็นผู้ที่พบการค้นพบการหมุนเวียนของเลือด และอธิบายว่า
เลือดมีการไหลไปในทิศทางเดียวกัน
2. เม็ดเลือด มี 45% โดยปริมาตร ได้แก่
– เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red
blood cell) รูปร่างค่อนข้างกลมแบน
ตรงกลางบุ๋ม ไม่มีนิวเคลียส
มีรงควีตถุสีแดง เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก มีอายุอยู่ประมาณ 110 – 120 วัน
หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
– เซลล์เม็ดเลือดขาว (White
blood cell) รูปร่างกลม
มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มีจำนวนน้อยกว่า ไม่มีสี มีนิวเคลียส
แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่
ทำลายเชื้อโรค มีอายุประมาณ 7 – 14 วัน
– เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (Blood
platelet) ไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์
มีรูปร่างกลม ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 4 วัน
ทำหน้าที่ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
เม็ดเลือดขาว
ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันคอยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ให้แก่ร่างกาย
เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่ภาพแสดงเม็ดเลือดขาวมีฮีโมโกลบินแต่มีนิวเคลียสอยู่ด้วย
เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 2-3 วัน
เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของเม็ดเล็กๆ (granule)
ที่อยู่ในเซลล์ คือ
1) แกรนูโลไซต์ (granulocytes)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในเซลล์ด้วย
สร้างมาจากไขกระดูกแบ่งตามลักษณะของนิวเคลียสและการย้อมติดสีได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.1 นิวโทรฟิล (neutrophil) แกรนูลย้อมติดสีน้ำเงินม่วงและแดงคละกัน
ทำให้เห็นเป็นสีเทาๆ มีนิวเคลียสหลายพู ทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยการกินแบบฟาโกไซโทซิส
แล้วจึงปล่อยน้ำย่อยจากไลโซโซมออกมาย่อย นิวโทรฟิลมีประมาณร้อยละ 65-75 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
นิวโทรฟิลมักกินสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กจึงเรียกว่าไมโครเฟก (macrophages)
ซากของแบคทีเรียที่นิวโทรฟิลกินและนิวโทรฟิลที่ตายจะกลายเป็นหนอง (pus)
และกลายเป็นฝีได้
1.2 อีโอซิโนฟิล (eosinophils) หรือแอซิโดฟิล (acidophiles)
แกรนูลย้อมติดสีชมพู มีนิวเคลียส 2 พู
ทำหน้าที่เช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและช่วยในการป้องกันการแพ้พิษต่างๆ
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ทำลายพยาธิที่เข้าสู่ร่างกายได้ด้วย อีโอซิโนฟิลมีประมาณร้อยละ
2-5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
1.3 เบโซฟิล (basophils) แกรนูลย้อมติดสีม่วงหรือน้ำเงินทำหน้าที่ปล่อยสารเฮพาริน
(heparin)ซึ่งเป็นสารพวกพอลิแซ็กคาไรด์ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดและ
สร้างฮิสทามีนซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้หรืออักเสบ เบโซฟิลมีประมาณร่อยละ 0.5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
2) อะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte)
เป็นพวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลเล็กๆ ในเซลล์ สร้างมากจากม้ามและต่อมน้ำเหลือง
แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1 ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีนิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์
สามารถสร้างแอนติบอดี (antibody) ขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม
หรือเชื้อโรคได้ ลิมโฟไซต์มีประมาณร้อยละ 20-25ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
ลิมโฟไซต์แบ่งออกเป็นหลายชนิด คือ ลืมโฟไซต์ชนิดบี (B-lymphocyte) หรือ เซลล์บี (B-cell) ซึ่งเจริญพัฒนาที่ไขกระดูก
หรือไปเจริญพัฒนาที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองบริเวณลำไส้
ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte) หรือ
เซลล์ที (T-cell) ซึ่งจะเจริญและพัฒนาที่ต่อมไทมัส (thymus
gland)
2.2 มอโนไซต์ (monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีนิวเคลียสใหญ่ รูปเกือกม้าอยู่ที่บริเวณกลางเซลล์ มอโนไซต์มีประมาณร้อยละ 2-6
ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
มอโนไซต์กินแบคทีเรียแบบฟาโกไซโทซิสเช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและมักกินของโตๆ
ทที่เม็ดเลือดขาวอื่นกินไม่ได้จึงถูกเรียกแมโครเฟก (macrophages)
ความผิดปกติของเลือดแดง
Polycythemia คือ ภาวะที่มีเมล็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
Primary
Polycythemia สาเหตุเกิดจากขาดน้ำทำให้เลือดข้น สาเหตุอื่นๆ
ที่พบร่วมได้แก่สูบบุหรี่ อาหารเป็นพิษ ถุงลมโป่งพอง
อยู่ในที่ที่มีความกดดันอากาศสูง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ผลเสียของภาวะเลือดข้นคือ
ความดันโลหิตสูง เลือดมีความหนืด ภาวะเลือดข้นเรื้อรัง ทำให้เกิด embolism,
stroke และ heart failure
ภาวะโลหิตจาง (Anemia) คือภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ผลของโลหิตจาง
เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
เหนื่อยง่ายหายใจหอบ ผิวหนังซีด เนื่องจากฮีโมโกลบินต่ำ โลหิตจางที่รุนแรงทำให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจน
ไม่เพียงพอ เนื้อเยื่อสมอง เนื้อเยื่อหัวใจ และไตขาดออกซิเจน ทำให้เสียชีวิต
ความเข้มข้นของเลือดลดลง
(Osmolarity
of th blood) น้ำออกจากหลอดเลือดเข้ามาในช่องว่างระหว่างเซลล์เพิ่มขึ้น
ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ(edema)
ความดันเลือดลดลง
เนื่องจากปริมาตรและความหนืดของเลือดลดลง แรงต้านทานการไหลของเลือดลดลง
สาเหตุการเกิดโลหิตจาง
เสียเลือด (Bleeding hemolytic anemia)
เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย (Rapid
hemolytic anemia)
ขาด Erythropoiesis ขาดปัจจัยในการสร้างเม็ดเลือด
เช่น ขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 กรดโฟลิก
การแข็งตัวของเลือด
ตามปกติเลือดในหลอดเลือดจะไม่แข็งตัว
แต่เวลาออกมาจากหลอดเลือดจะแข็งตัว
การเกิดการแข็งตัวของเลือดมีประโยชน์ป้องกันการเสียเลือดมาก
กลไกการแข็งตัวของเลือด
(Blood
cloting) กระบวนการแข็งตัวของเลือดเกิดการจากการเปลี่ยนแปลง fibrinogen
ซึ่งเป็น soluble blood protein ให้กลายเป็น fibrin
ซึ่งเป็นเส้นใยเล็กๆ การเปลี่ยนแปลงของ fibrinogen ให้เป็น fibrin เป็นสิ่งสำคัญในการแข็งตัวของเลือด
กระบวนการแข็งตัวของเลือด แบ่งได้เป็น 3 รระยะ
ระยะที่ 1 การเกิด Thromboplastin
ระยะที่ 2 การเกิด Thrombin
ระยะที่ 3 การเกิด Fibrin
การเกิด thromboplastin ได้มาจากการที่เลือดไหลออกจากเส้นเลือด เลือดที่มเกล็ดเลือดสะสมอยู่
เกล็ดเลือดจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมและโปรตีนในเลือดทำให้เกิด plasma
thromboplastin
การเกิด
thrombin
เกิดจากการเปลี่ยน prothrombin ให้เป็น thrombin
โดย prothrombin รวมกับ thromboplastin blood protein และแคลเซียม
ทำให้เกิด thrombin prothromnin สร้างจากตับ
โดยมีวิตามินเคเป็นตัวสำคัญในการสร้าง prothrombin ถ้าร่างกายขาดวิตามินเค
จะทำให้ตับไม่สามารถผลิต prothrombin ได้เพียงพอ
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการตกเลือดได้
โปรตีนในเลือดอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดคือ fibrinogen
ซึ่งเป็น Soluble protein , thrombin ที่เกิดในระยะที่
2 จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ fibrinogen เปลี่ยนเป็น fibrin มีลักษณะแข็งไม่ละลายและเป็นเส้นใยเล็กๆ
เป็นที่ยึดเกาะของเม็ดเลือด และทำให้เลือดแข็งตัว เหลือส่วนที่เป็นน้ำเหลืองใส คือ
blood serum ซึ่งมีลักษณะคล้ายพลาสมา แต่ไม่มี fibrinogen
และสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
หมู่โลหิต
หมู่โลหิต
หมายถึง สารชีวเคมีพวกกลัยโคโปรตีน หรือกลัยโคไลปิค ที่ร่างกายสร้างขึ้นและปรากฏบนผิวเม็ดโลหิต
ต่าง ๆ โดยเฉพาะเม็ดโลหิตแดง
อาจพบบนเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผม ผิวหนัง ในโลหิตบางหมู่ เช่น ABO หรืออาจพบในพลาสมาหรือน้ำคัดหลั่งในโลหิตบางหมู่
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป
Rh-ve
ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น
แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve
รับเลือดจาก Rh+veอาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
ในครั้งถัดๆไป)
คนเลือดกรุ๊ป
O
รับได้จาก O เท่านั้น
แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป
AB
รับได้จากทุกกรุ๊ป
แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป
A
รับได้จาก A,O ให้ได้กับ A,AB
คนเลือดกรุ๊ป
B
รับได้จาก B,O ให้ได้กับ B,AB
และคนที่ได้รับเลือดจากกรุ๊ปอื่น
จะสามารถรับได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะถ้าเกิดมีครั้งที่สอง จะทำให้เลือดตกตะกอน
และจะมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น
หัวใจ(Heart)
หัวใจอยู่ในช่องอกเยื้องไปทางด้านซ้าย
และยึดอยู่ในช่องอกโดยหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านป้านเป็นส่วนฐาน (base)
ชี้ไปทางด้านแครนิโอ-ดอร์ซอล ด้านตรงกันข้ามเป็นปลายแหลม เรียกว่า เอเพ็กซ์ (apex) ชี้ไปทางด้านเวนโทร-คัวดอล หัวใจมีโครงสร้างหลายส่วนได้แก่ ผนังหัวใจ
ห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจ
ผนังของหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ได้แก่
ผนังหัวใจชั้นนอก
(Epicardium)
เป็นชั้นที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (Visceral layer
of pericardium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรง
ผนังหัวใจชั้นกลาง
(Myocardium)
เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุด
และประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด
ผนังหัวใจชั้นใน
(Endocardium)
เป็นชั้นบางๆที่เจริญมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด
ห้องหัวใจ
หัวใจจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ห้อง
(heart
chambers) และทิศทางการไหลของเลือดเข้าสู่แต่ละห้องจะถูกควบคุมโดยลิ้นหัวใจ
(cardiac valves) ทำให้เลือดไม่ไหลย้อนเมื่อมีการบีบตัวและคลายตัว
ในที่นี้จะกล่าวถึงห้องของหัวใจตามลำดับของการไหลของเลือดภายในหัวใจ
หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) มีหน้าที่รับเลือดที่มาจากหลอดเลือดดำใหญ่ซุพีเรียเวนาคาวา
(superior
vena cava) ซึ่งรับเลือดมาจากร่างกายส่วนบน
และหลอดเลือดดำใหญ่อินฟีเรียร์เวนาคาวา (Inferior vena cava) รับเลือดมาจากร่างกายช่วงล่าง ผนังของหัวใจห้องนี้ค่อนข้างบาง
โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับหัวใจห้องบนซ้าย จะมีรอยบุ๋มที่เรียกว่า ฟอซซา โอวาเล (Fossa
ovale) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนทั้งสองห้องระหว่างที่อยู่ในครรภ์
โดยปกติจะไม่มีช่องเปิดใดๆ แต่ในกรณีที่รอยบุ๋มดังกล่าวนี้ยังคงเหลือช่องเปิดอยู่
อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจผิดปกติได้ เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา
ผ่านทางลิ้นหัวใจไทรคัสปิด (Tricuspid valve)
หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) จะอยู่ทางด้านหน้าสุดของหัวใจ
และพื้นผิวทางด้านหลังของหัวใจห้องนี้จะติดกับกะบังลม หัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา
แล้วส่งออกไปยังปอด ผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี (pulmonary valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries) ที่ผนังของหัวใจห้องที่จะมีแนวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สานต่อกัน
และมีเอ็นเล็กๆที่ควบคุมลิ้นหัวใจไทรคัสปิด ซึ่งเรียกว่า คอร์ดี เท็นดินี (chordae
tendinae) ซึ่งทำหน้าที่ยึดลิ้นหัวใจไทรคัสปิดไม่ให้ตลบขึ้นไปทางหัวใจห้องบนขวาระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง
ดังนั้นจึงป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium) มีขนาดเล็กที่สุดในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง และวางตัวอยู่ทางด้านหลังสุด
โดยหัวใจห้องนี้จะรับเลือดที่ได้รับออกซิเจนจากปอดผ่านทางหลอดเลือดดำพัลโมนารี (pulmonary
veins) และจึงส่งผ่านให้หัวใจห้องล่างซ้ายทางลิ้นไมทรัล (Mitral
valve)
หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle) จัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุด
ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทางลิ้นหัวใจเอออร์ติก(Aortic
valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)
ลิ้นหัวใจ
เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งแรงที่ยื่นออกมาจากผนังของหัวใจ
เพื่อควบคุมทิศทางการไหลของเลือดภายในหัวใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียว
โดยอาศัยความแตกต่างของความดันโลหิตในแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจที่สำคัญได้แก่
ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด
(Tricuspid
valve) มีสามกลีบ (cusps) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
ลิ้นไมตรัล
(Mitral
valve) มีสองกลีบ บางครั้งจึงเรียกว่า ลิ้นหัวใจไบคัสปิด (bicuspid
valve) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย
ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่เซมิลูนาร์
(pulmonary
semilunar valve) มีสามกลีบ อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างขวาและหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์
(Aortic
semilunar valve) มีสามกลีบ
อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่
ใกล้ๆกับโคนของลิ้นหัวใจนี้จะมีรูเปิดเล็กๆ
ซึ่งเป็นทางเข้าของเลือดที่จะเข้าสู่ระบบหลอดเลือดหัวใจ
หลอดเลือด
มีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย มีหน้าที่นำสารอาหาร และก๊าซออกซิเจนที่ลำเลียงไปกับเลือด
เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
เมื่อไปถึงเซลล์จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารและก๊าซต่างๆ
ถ้านำหลอดเลือดในร่างกายมาต่อกันจะมีความยาวประมาณ 100,000
ไมล์
หลอดเลือดในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
หลอดเลือดแดง
( Artery
)
หลอดเลือดดำ
( Vein
)
หลอดเลือดฝอย
( Capillary
)
หลอดเลือดแดง ( Artery ) หมายถึง
หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ
ซึ่งจะเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด
ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary
artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด
)
ลักษณะของหลอดเลือดแดง
– มีผนังหนา
โดยจะมีลักษณะเป็นชั้นกล้ามเนื้อที่หนาและยืดหยุ่น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือเนื้อเยื่อด้านในสุดเป็นเนื้อเยื่อบุผิว
ชั้นกลางเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่นได้
เนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้
หลอดเลือดแดงมี 3 ขนาด
เรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ
– เอออร์ตา ( aorta ) หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่สุด
ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแดงที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายโค้งไปทางด้านหลัง
ทอดผ่านช่องอกและช่องท้อง ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
– อาร์เทอรี ( artery ) หลอดเลือดแดง
ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยวส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดมีผนังกล้ามเนื้อหนาเพื่อให้ทนต่อแรงดันเลือด
– อาร์เทอริโอล ( arteriole ) หลอดเลือดแดงเล็ก ซึ่งสามารถจะขยายตัวหรือหดตัวได้
เพื่อบังคับการไหลของเลือด
หลอดเลือดดำ
( Vein ) หมายถึง
หลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ( เลือดดำ )
ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา ( Right
atrium ) เพื่อนำกลับไปฟอกที่ปอด ( ยกเว้นหลอดเลือดดำปอดที่ชื่อ pulmonary
vein ซึ่งจะนำเลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วนำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย
) ภายในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำ ถ้าหลอดเลือดดำฉีกขาด เลือดที่ไหลออกมาจะไหลรินๆคงที่
และสม่ำเสมอ ห้ามเลือดหยุดได้ง่ายกว่าหลอดเลือดแดงฉีกขาด
ลักษณะของเส้นเลือดดำ
– มีผนังบาง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงแต่บางกว่า
– ผนังมีความยืดหยุ่นได้น้อย
เพราะมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อย
– มีลิ้นกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
หลอดเลือดฝอย ( Capillary ) หมายถึง หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก
ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง
กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย
ลักษณะของเส้นเลือดฝอย
– หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดในร่างกายมีทั้งเส้นเลือดแดงฝอย
และเส้นเลือดดำฝอย
– มีเนื้อเยื่อบางมาก
มีจำนวนมากเพราะเป็นส่วนที่ต้องแยกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย มีผนังบาง
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 ไมโครเมตร
– ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว
มีหน้าที่เป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
และสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกายโดยวิธีการแพร่
ระบบนำไฟฟ้าของหัวใจ
คุณสมบัติประการหนึ่งที่น่าสนใจของหัวใจ
คือการที่กล้ามเนื้อหัวใจสามารถกระตุ้นการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบนำไฟฟ้า
(conduction
system) ภายในผนังของหัวใจ
โครงสร้างที่สำคัญของระบบนำไฟฟ้าของหัวใจได้แก่
ไซโนเอเตรียลโนด
(Sinaoatrial
node) หรือเอสเอโนด (SA node) เป็นกลุ่มของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่มีการเปลี่ยนรูปไปเป็นเซลล์ของระบบนำไฟฟ้า
โดยอยู่ในผนังของหัวใจห้องบนขวา
เอสเอโนดทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นในการส่งกระแสไฟฟ้าไปตามกล้ามเนื้อหัวใจห้องบน
ด้วยความถี่ประมาณ 60-70 ครั้งต่อนาที
เอตริโอเวนตริคิวลาร์โนด
(Atrioventricular
node) หรือเอวีโนด (AV node) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง
โดยจะรับกระแสไฟฟ้าที่ส่งมาตามหัวใจห้องบน
แล้วจึงนำกระแสไฟฟ้าส่งลงไปยังหัวใจห้องล่างผ่านทางเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ในผนังกั้นหัวใจห้องล่างขวาและล่างซ้าย
ซึ่งเรียกว่า บันเดิล ออฟ ฮิส (Bundle of His) และนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจห้องล่างทางเส้นใยปัวคินเจ
(Purkinje fiber) นอกจากนี้ในกรณีที่เอสเอโนดไม่สามารถกระตุ้นหัวใจได้
เอวีโนดจะทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นแทน
เสียงที่เกิดจากการทำงานของหัวใจ
เสียงแรก กล้ามเนื้อ ventricles บีบตัว ลิ้น AV valves ปิด ความดันในVentricles
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลิ้น
Semilunar valves เปิด เลือดไหลออกจาก ventricle เสียงที่เกิดส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้
ลิ้น AV valves และกล้ามเนื้อผนังหัวใจเกร็ง
ส่วนปลายของเสียงแรก อาจเกิดจากการไหลของเลือดผ่าน Semilunar valves สู่หลอดเลือดแดงใหญ่
เสียงสอง
Semilunar
valves ปิดทำให้เกิดการสั่นของชั้น
เสียงสาม
Ventricle
คลายตัว ลิ้น AV Valves เปิด
เสียงสี่
Atrium
บีบตัวดันเลือดไป Ventricles ไม่ค่อยได้ยินเสียง กรณีเมื่อ Atrium บีบตัวแรง
ความดันใน Atrium เพิ่มขึ้นจะได้ยินเสียง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่ายและได้ผลดี
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว
โดยเริ่มต้นที่จุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เอง
เราเรียกจุดนี้ว่า Sinus node กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อหัวห้องบน
เกิดกระแสไฟฟ้าที่เราตรวจได้เรียก P wave กระแสจะมาหยุดที่รอยต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างเรียกว่า
AV Node หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า
QRS complex ดูตัวอย่างกราฟไฟฟ้าหัวใจของคนปกติ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
1.Limb Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยวัดที่แขนและขา
การวัดนี้มี 6 ชื่อคือ Lead 1 , Lead2, Lead3,
avr,avl,avf
2.Chest Leads หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยการตามกระแสไฟฟ้าหัวใจที่บริเวณหน้าอก
มี 6 แนวได้แก่ V1,V2,V3,V4,V5,V6
วงจรการทำงานของหัวใจ
หมายถึง วงจรการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในช่วงการทำงานของหัวใจ เช่น การหดตัวและคลายตัวที่เกิดต่อเนื่องกัน
การปิด – เปิดของลิ้นหัวใจ การเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของเลือดภายในหัวใจ
ในช่วงระยะคลายตัว
หัวใจห้องบนจะคลายตัวก่อนหัวใจห้องล่าง
ดังนั้น เลือดดำจากส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายจะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา
และเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดก็จะไหลเข้าสู่ห้องบนซ้าย
เมื่อเลือดไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนทั้งสองแล้วลิ้นของหัวใจที่กั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่างซ้ายและขวาเปิดออก
ทำให้เลือดไหลลงสู่ห้องล่างได้
เมื่อสิ้นสุดระยะคลายตัวของ หัวใจห้องบนแล้ว หัวใจห้องบนก็จะเริ่มหดตัว
แต่หัวใจห้องล่างยังคลายตัวอยู่ ดังนั้น จึงเป็นการไล่เลือดจากหัวใจห้องบนไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างเพิ่มขึ้น
เมื่อสิ้นสุดการหดตัวของหัวใจห้องบน หัวใจห้องล่างก็จะเริ่มหดตัว
เมื่อหัวใจห้องล่างหดตัว ก็จะทำให้ความดันภายในหัวใจห้องล่างสูง
ทำให้ลิ้นของหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างปิดทันที
ซึ่งการปิดของลิ้นหัวใจทำให้เกิดการสั่นสะเทือนออกสู่ภายนอก
หัวใจห้องล่างจะทำการหดตัวต่อไป เพื่อเป็นการเพิ่มความดันภายในให้สูงขึ้น
เมื่อความดันภายในหัวใจห้องล่างสูงขึ้นมาก ๆ
ก็จะดันเลือดให้ไหลออกไปจากห้องล่างขวาเลือดจะไหลออกไปตาม Pulmonary
Artery และห้องล่างซ้ายก็จะดันเลือดให้ไหลไปตาม Aorta ซึ่งตอนนี้ Pulmonary Valve และ Aortic Valve
จะเปิดให้เลือดไหลผ่านออกไป
เมื่อสิ้นสุดการหดตัวของหัวใจห้องล่างแล้ว หัวใจห้องล่างก็จะเริ่มคลายตัว
ในขณะนี้ความดันในหัวใจห้องล่างจะต่ำลง เมื่อความดันต่ำลงจะทำให้เลือดใน Pulmonary
Valve และ Aorta ไหลกลับเข้าไปในห้องล่างอีกในตอนนี้
Pulmonary Valve และ Aortic Valve จะปิดทำให้เกิดเสียงอีกครั้ง
เมื่อหัวใจห้องล่างเริ่มคลายตัวเลือดจากหัวใจห้องบนก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างอีกเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อย
ๆ
ปริมาณเลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจ
อัตราการไหลของเลือดออกจากหัวใจ
(Cardiac
Output : CO) จะมากหรือน้อยขึ้นกับอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart
Rate : HR) และปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อการบีบตัวแต่ละครั้ง (Stroke
Volume : SV)
ดังนั้น
CO = HR X S V
( มล. หรือลิตร/ นาที) ( ครั้ง/ นาที) (มล. หรือลิตร/ ครั้ง)
-ผู้ใหญ่ปกติขณะพักมี CO = 5 – 6 ลิตร/ นาที ขณะออกกำลังกายจะเพิ่มได้ถึง 20
ลิตรต่อนาที นักกีฬาที่ฝึกฝนอย่างดี อาจมีถึง 40 ลิตรต่อนาที
– ปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกแต่ละครั้ง หรือ SV
คือ ผลต่างระหว่างปริมาณเลือดในหัวใจก่อนบีบตัวและหลังบีบตัว
– อัตราเต้นของหัวใจปกติขณะพัก = 70 ครั้งต่อนาที เด็ก = 130 ครั้ง/ นาที
อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยต่าง ๆ
ความดันเลือด
ความดันโลหิต
หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด
ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรง ลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า)
ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดัน (Sphygmomano
meter) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ
ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ
ความดันช่วงบนในคน ๆ เดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง
ความดันช่วงบน
ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท (ทอรร์)
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มม.ปรอท
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159 มม.ปรอท
ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป
ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic
blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน
ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิต และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง
สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยการวัดในท่านั่ง
วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย)
ความดันช่วงล่าง
ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท
ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป
ระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่าง
ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก
ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ( Lymph
) ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) และอวัยวะน้ำเหลือง
( Lymphatic organ )
น้ำเหลือง
( Lymph
) ส่วนประกอบของน้ำเหลืองคล้ายกับในเลือดแต่ไม่มีเม็ดเลือดแดง
เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบ ๆ เซลล์
เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีน โมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน
และสารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส
ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่าง ๆ กัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน
คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง
น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง
โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ
– การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง
– ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก
ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ
–
การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว
ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่มี
2 ท่อที่สำคัญคือ
– ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct
) เป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับ
น้ำเหลืองจากส่วนต่างๆของร่างกาย ยกเว้นทรวงอกขวาแขนขวาและส่วนขวาของหัวกับ คอ
เข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวาก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว
– ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว ( Right
lymphatic duct ) รับน้ำเหลืองจากทรวง อกขวาแขนขวา
และส่วนขวาของหัวกับคอเข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวา เข้าสู่หัวใจ
จากนั้นน้ำเหลืองที่ อยู่ในท่อน้ำเหลือง
จะเข้าหัวใจปนกับเลือดเพื่อลำเลียงสารต่างๆต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น