วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

ทุนทางสังคมกับการพัฒนา (วิชาเอก ทุนทางสังคม)

ทุนทางสังคมกับการพัฒนา
ความหมายของ ทุนทางสังคม  
ปรีดี พนมยงค์ นักวิชาการไทยท่านแรกที่ให้ความหมายของทุนทางสังคมว่า ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย ทั้งในส่วนที่เป็นหลักการ และที่เป็นวิถีของคนไทย โดยทั้งสองส่วนที่ถูกนำเสนอสามารถพิจารณาได้ในรูปของกระบวนการทางสังคม อาทิ ในส่วนที่เป็นหลักของสหกรณ์ โดยท่านได้นำเสนอให้เห็นถึงขั้นตอนของระบบความคิด ที่เป็นเรื่องของแนวคิดสหกรณ์ที่เน้นรวมคนมากกว่าการรวมเงิน เน้นความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน ซึ่งระบบคิดนี้จะมีผลต่อขั้นตอนการปฏิบัติ ทำให้เกิดกลุ่มสหกรณ์ เกิดการร่วมมือกันทำกิจกรรมของสมาชิก และส่งผลลัพธ์อันได้แก่ ความเป็นปึกแผ่นของสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม ในส่วนที่เป็นวิถีชีวิต ก็ได้นำเสนอถึงขั้นตอนที่เป็นระบบความคิดที่เกี่ยวกับค่านิยมอันเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพชน ที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธืแบบพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และส่งผลต่อผลลัพธ์ คือทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
เอนก นาคบุตร ( 2545 ) กล่าวถึงทุนทางสังคมในลักษณะของความเข้มแข็งของชุมชนว่า ทุนทางสังคม คือพลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนต่างๆให้มีความสามารถในการเพิ่มมูลค่า และทุนทางสังคมให้กับชุมชนตนเองมากขึ้น มีความเม่ามันต่อปัญหา และมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาได่มากขึ้น และท้ายสุดจะสามารถพึ่งพาตนเองได้จริงในระยะยาว
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2542) อธิบายว่า ทุนทางสังคมเป็นนามธรรม หมายถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ความสามัคคี รวมพลัง การมีองค์กร มีหน่วยที่จะจัดการ จัดระบบต่างๆในชุมชน มีศิลปวัฒนธรรม มีจุดรวมใจ มีศีลธรรม มีความรักสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้เรียกว่า เป็นทุนทางสังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในท้องถิ่น และชุมชนให้มีการพัฒนาที่เข้มแข็ง
ประเวศ วะสี (2542) มองว่าทุนทางสังคมเป็นพลังทางสังคมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของสังคมได้ โดยให้ความหมายทุนทางสังคมว่า การที่คนมารวมกัน เอาความดี ความรู้ มารวมกัน  เพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม
อานันท์ กาญจพันธุ์ (2541) กล่าวถึงทุนทางสังคม คือ วิธีคิด และระบบความรู้ในการจัดการวิถีของความเป็นชุมชน เช้น การจัดการทรัพยากร ระบบความสัมพันธ์ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ หรือมนุษย์กับระบบความรู้ ภูมิปัญญา อีทั้งต้องอาศัยหลักกฎเกณฑ์มากำกับการใช้ความรู้นั้น และนอกขากนี้ยังกล่าวถึงทุนทางสังคมที่เป็นเสมือนทุนทางสังคมเดิมของไทย โดยมิติทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ชุมชนพยายามจะรื้อฟื้นขึ้นมาเพราะมีนัยสำคัญทางสังคม เพื่อประโยชน์ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการปลูกจิตสำนึก หรือรักษาสำนึกของชุมชน และทรัพยากรที่ชุมชนต้องอิงอาศัย ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง ป่าต้นน้ำ              
          ส่วนแนวคิดทุนทางสังคมที่ได้ถูกนำมากล่าวถึงอย่างจริงจังนั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 โดยได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม หรือ SIF โครงการของกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมดังกล่าวพยามและทำให้สังคมไทยได้หันกลับไปมองคุณค่าที่เคยมีอยู่ ที่เป็นทุนเดิม แต่อาจถูกมองข้ามไป รวมทั้งสิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคล เช่นความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นต้น นอกจากนั้น กองทุนฯ ยังพิจจารณาสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพชน เช่น ภูมิปัญญา ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งสิ่งที่เคยเป็นศักยภาพในการพัฒนาของชุมชน เช่น ผู้นำ กลุ่ม องค์กรประชาชน เครือข่าย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้เกิดการฟื้นฟูทุนทางสังคมที่มีอยู่ และเริ่มสูญหายให้มีการนำกลับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ในระดับชุมชน และหลังจากนั้น คำว่าทุนทางสังคมในประเทศไทยก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
            กล่าวโดยสรุป การเข้าใจในทุนทางสังคมมีส่วนช่วยในการคาดคะเนถึงความเป็นไปได้ในรูปแบบของสังคมในอนาคต การก่อให้เกิดทุนทางสังคมมีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามรถเริ่มได้ทุกระดับ เช่น ระดับบุคคล ครอบครัว เครือญาติ กลุ่ม องค์กร สถาบัน ชุมชน หรือเครือข่าย ทุนทางสังคมสามารถต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่  เช่น ค่านิยม วัฒนธรรม หรือเป็นการเรียนรู้จากสิ่งใหม่ การเกิดทุนทางสังคมแม้จะเริ่มจากปัจจัยภายใน แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธปัจจัยภายนอก ที่สำคัญทุนทางสังคมเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบความคิด และวิธีปฏิบัติของบุคคล หรือกลุ่มคนบนหลักแห่งศีลธรรม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การจัดสรร และการกระจาย ทรัพยากรในหมู่สมาชิก เป็นธรรม อันจะนำไปสู่การสร้างพลังในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนให้ลุล่วงไปได้
                และอยากจะยกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนา คือแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ ในการจัดการทุนทางสังคม มีความต้องการองค์ความรู้ และมุมมองใหม่ๆมากขึ้น ซึ่งได้ประยุกต์แนวคิดบางส่วนเกี่ยวกับทฤษฎีการบูรณาการของ เคน วิลเบอร์ มาช่วยในการวิเคราะห์ และอธิบาย
แนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ
                ในมิติของการบูรณาการทำให้เห็นธรรมชาติของทุนทางสังคมากขึ้น และทำใหมีความเข้าใจถึงสถานภาพต่างๆ ของทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการเกิด การคงอยู่ และการสูญหายไปของภาวะที่เป็นทุนทางสังคมได้ชัดเจนมากขึ้น
            จากทฤษฎีบูรณาการ ( Integral Theory) ของเคน วิลเบอร์ ได้ให้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์จากปัจเจก “ I ” ไปสู่กลุ่ม “ WE ” ซึ่งเป็นการพัฒนาจากภายใน ในขณะเดียวกัน ทฤษฎีดังกล่าวยังให้ภาพการพัฒนามนุษย์ทางด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาจากกลุ่ม ไปสู่ความเป็นชาติ และความเป็นสากล อันเป็นการพัฒนาจากภายนอกตัวบุคคล พัฒนาการดังกล่าวทำให้การอธิบายทุนทางสังคม ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างคน กับคน คนกับสถาบันทและคนกับสิ่งแวดล้อม มีความเป็นระบบและความชัดเจนมากขึ้น ข้อค้นพบเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่า การจัดการทุนทางสังคมมีความเป็นรูปธรรม และเป็นไปได้มากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับระบบความคิด และวิธีปฏิบัติของบุคคลจาการมุ่งประโยชน์ส่วนตน ไปสู่การมุ่งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม การพัฒนาด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวทำให้เห็นถึงพลังของจิตที่สามารถรับรู้ และเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และสามารถพัฒนายกระดับจิตใจให้สูงขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงระบบความคิด และวิธีปฏิบัติจากความเห็นแก่ตัว มาเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่มุ่งไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันของคนในสังคม
             ทุนทางสังคมกับการพัฒนา
จะเห็นได้ว่าทุนทางสังคมเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในสังคมเป็นทุนทรัพยกร ที่ช่วยให้เกิดเครือข่ายทางสังคม เช่นกลุ่มอาชีพ กลุ่มเลี้ยงปลาในกระซัง กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเกษตรกร ซึ่งสมาชิกในกลุ่มที่ร่วมใจกันทำงานจะทำให้งานมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และลดต้นทุน ช่วยทำให้เกิดจารีพประเพณีที่ดี เช่น งานแห่เรือ งานบวชต้นไม้ ที่ช่วยให้ชุมชนมีพลังเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น ทุนทางสังคมช่วยให้บุคคลมีทางเลือกมากขึ้น ในการพัฒนาชีวิตส่วนบุคคล หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ
            นอกจากนี้ยังมีการมีการถ่ายทอด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ในชุมชน หรือจากผู้ที่มีความรู้ มีส่วนร่วมการใช้ทุนทางสังคมเป็นตัวเชื่อมกับกิจกรรมการพัฒนาชุมชน จะทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ ร่วมกันเกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชนทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
            ทุนทางสังคมจากมุมมองของทฤษฎีบูรณาการทำให้เห็นการพัฒนาที่เกิดขึ้น และเป็นไปในสองทิศทาง คือการพัฒนาภายใน ด้วยการยกระดับจิตใจ ให้หลุดพ้นจาก ตัวกู ไปสู่ความเป็นกลุ่ม และการพัฒนาภายนอก โดยสานต่อจากกลุ่มไปสู่ความเป็นชาติ และความเป็นสากล กรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาดังกล่าว เพื่อช่วยให้คำอธิบาย ทุนทางสังคม ในวิถีตะวันออกมีความเป็นระบบ และรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการปรับเปลี่ยนความคิด และวิธีปฏิบัติของบุคคล ที่เปลี่ยนจากการมุ่งประโยชน์ส่วนตน ไปสู่การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทร


ทุนทางสังคมกับการพัฒนา
ความหมายของ ทุนทางสังคม  
ปรีดี พนมยงค์ นักวิชาการไทยท่านแรกที่ให้ความหมายของทุนทางสังคมว่า ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย ทั้งในส่วนที่เป็นหลักการ และที่เป็นวิถีของคนไทย โดยทั้งสองส่วนที่ถูกนำเสนอสามารถพิจารณาได้ในรูปของกระบวนการทางสังคม อาทิ ในส่วนที่เป็นหลักของสหกรณ์ โดยท่านได้นำเสนอให้เห็นถึงขั้นตอนของระบบความคิด ที่เป็นเรื่องของแนวคิดสหกรณ์ที่เน้นรวมคนมากกว่าการรวมเงิน เน้นความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน ซึ่งระบบคิดนี้จะมีผลต่อขั้นตอนการปฏิบัติ ทำให้เกิดกลุ่มสหกรณ์ เกิดการร่วมมือกันทำกิจกรรมของสมาชิก และส่งผลลัพธ์อันได้แก่ ความเป็นปึกแผ่นของสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม ในส่วนที่เป็นวิถีชีวิต ก็ได้นำเสนอถึงขั้นตอนที่เป็นระบบความคิดที่เกี่ยวกับค่านิยมอันเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพชน ที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธืแบบพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และส่งผลต่อผลลัพธ์ คือทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
เอนก นาคบุตร ( 2545 ) กล่าวถึงทุนทางสังคมในลักษณะของความเข้มแข็งของชุมชนว่า ทุนทางสังคม คือพลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนชุมชนต่างๆให้มีความสามารถในการเพิ่มมูลค่า และทุนทางสังคมให้กับชุมชนตนเองมากขึ้น มีความเม่ามันต่อปัญหา และมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาได่มากขึ้น และท้ายสุดจะสามารถพึ่งพาตนเองได้จริงในระยะยาว
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2542) อธิบายว่า ทุนทางสังคมเป็นนามธรรม หมายถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ความสามัคคี รวมพลัง การมีองค์กร มีหน่วยที่จะจัดการ จัดระบบต่างๆในชุมชน มีศิลปวัฒนธรรม มีจุดรวมใจ มีศีลธรรม มีความรักสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกัน สิ่งต่างๆเหล่านี้เรียกว่า เป็นทุนทางสังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในท้องถิ่น และชุมชนให้มีการพัฒนาที่เข้มแข็ง
ประเวศ วะสี (2542) มองว่าทุนทางสังคมเป็นพลังทางสังคมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตของสังคมได้ โดยให้ความหมายทุนทางสังคมว่า การที่คนมารวมกัน เอาความดี ความรู้ มารวมกัน  เพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม
อานันท์ กาญจพันธุ์ (2541) กล่าวถึงทุนทางสังคม คือ วิธีคิด และระบบความรู้ในการจัดการวิถีของความเป็นชุมชน เช้น การจัดการทรัพยากร ระบบความสัมพันธ์ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ หรือมนุษย์กับระบบความรู้ ภูมิปัญญา อีทั้งต้องอาศัยหลักกฎเกณฑ์มากำกับการใช้ความรู้นั้น และนอกขากนี้ยังกล่าวถึงทุนทางสังคมที่เป็นเสมือนทุนทางสังคมเดิมของไทย โดยมิติทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ชุมชนพยายามจะรื้อฟื้นขึ้นมาเพราะมีนัยสำคัญทางสังคม เพื่อประโยชน์ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการปลูกจิตสำนึก หรือรักษาสำนึกของชุมชน และทรัพยากรที่ชุมชนต้องอิงอาศัย ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง ป่าต้นน้ำ              
          ส่วนแนวคิดทุนทางสังคมที่ได้ถูกนำมากล่าวถึงอย่างจริงจังนั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 โดยได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม หรือ SIF โครงการของกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมดังกล่าวพยามและทำให้สังคมไทยได้หันกลับไปมองคุณค่าที่เคยมีอยู่ ที่เป็นทุนเดิม แต่อาจถูกมองข้ามไป รวมทั้งสิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคล เช่นความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นต้น นอกจากนั้น กองทุนฯ ยังพิจจารณาสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพชน เช่น ภูมิปัญญา ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งสิ่งที่เคยเป็นศักยภาพในการพัฒนาของชุมชน เช่น ผู้นำ กลุ่ม องค์กรประชาชน เครือข่าย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้เกิดการฟื้นฟูทุนทางสังคมที่มีอยู่ และเริ่มสูญหายให้มีการนำกลับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ในระดับชุมชน และหลังจากนั้น คำว่าทุนทางสังคมในประเทศไทยก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
            กล่าวโดยสรุป การเข้าใจในทุนทางสังคมมีส่วนช่วยในการคาดคะเนถึงความเป็นไปได้ในรูปแบบของสังคมในอนาคต การก่อให้เกิดทุนทางสังคมมีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามรถเริ่มได้ทุกระดับ เช่น ระดับบุคคล ครอบครัว เครือญาติ กลุ่ม องค์กร สถาบัน ชุมชน หรือเครือข่าย ทุนทางสังคมสามารถต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่  เช่น ค่านิยม วัฒนธรรม หรือเป็นการเรียนรู้จากสิ่งใหม่ การเกิดทุนทางสังคมแม้จะเริ่มจากปัจจัยภายใน แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธปัจจัยภายนอก ที่สำคัญทุนทางสังคมเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบความคิด และวิธีปฏิบัติของบุคคล หรือกลุ่มคนบนหลักแห่งศีลธรรม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การจัดสรร และการกระจาย ทรัพยากรในหมู่สมาชิก เป็นธรรม อันจะนำไปสู่การสร้างพลังในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนให้ลุล่วงไปได้

ทุนทางสังคมกับการพัฒนา
จะเห็นได้ว่าทุนทางสังคมเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในสังคมเป็นทุนทรัพยกร ที่ช่วยให้เกิดเครือข่ายทางสังคม เช่นกลุ่มอาชีพ กลุ่มเลี้ยงปลาในกระซัง กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเกษตรกร ซึ่งสมาชิกในกลุ่มที่ร่วมใจกันทำงานจะทำให้งานมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และลดต้นทุน ช่วยทำให้เกิดจารีพประเพณีที่ดี เช่น งานแห่เรือ งานบวชต้นไม้ ที่ช่วยให้ชุมชนมีพลังเข้มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น ทุนทางสังคมช่วยให้บุคคลมีทางเลือกมากขึ้น ในการพัฒนาชีวิตส่วนบุคคล หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ
            นอกจากนี้ยังมีการมีการถ่ายทอด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ในชุมชน หรือจากผู้ที่มีความรู้ มีส่วนร่วมการใช้ทุนทางสังคมเป็นตัวเชื่อมกับกิจกรรมการพัฒนาชุมชน จะทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ ร่วมกันเกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชนทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
                และอยากจะยกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนา คือแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ ในการจัดการทุนทางสังคม มีความต้องการองค์ความรู้ และมุมมองใหม่ๆมากขึ้น ซึ่งได้ประยุกต์แนวคิดบางส่วนเกี่ยวกับทฤษฎีการบูรณาการของ เคน วิลเบอร์ มาช่วยในการวิเคราะห์ และอธิบาย

แนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ
                ในมิติของการบูรณาการทำให้เห็นธรรมชาติของทุนทางสังคมากขึ้น และทำใหมีความเข้าใจถึงสถานภาพต่างๆ ของทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการเกิด การคงอยู่ และการสูญหายไปของภาวะที่เป็นทุนทางสังคมได้ชัดเจนมากขึ้น
            จากทฤษฎีบูรณาการ ( Integral Theory) ของเคน วิลเบอร์ ได้ให้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์จากปัจเจก “ I ” ไปสู่กลุ่ม “ WE ” ซึ่งเป็นการพัฒนาจากภายใน ในขณะเดียวกัน ทฤษฎีดังกล่าวยังให้ภาพการพัฒนามนุษย์ทางด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาจากกลุ่ม ไปสู่ความเป็นชาติ และความเป็นสากล อันเป็นการพัฒนาจากภายนอกตัวบุคคล พัฒนาการดังกล่าวทำให้การอธิบายทุนทางสังคม ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างคน กับคน คนกับสถาบันทและคนกับสิ่งแวดล้อม มีความเป็นระบบและความชัดเจนมากขึ้น ข้อค้นพบเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่า การจัดการทุนทางสังคมมีความเป็นรูปธรรม และเป็นไปได้มากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับระบบความคิด และวิธีปฏิบัติของบุคคลจาการมุ่งประโยชน์ส่วนตน ไปสู่การมุ่งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม การพัฒนาด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวทำให้เห็นถึงพลังของจิตที่สามารถรับรู้ และเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และสามารถพัฒนายกระดับจิตใจให้สูงขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงระบบความคิด และวิธีปฏิบัติจากความเห็นแก่ตัว มาเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่มุ่งไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันของคนในสังคม 























 อ้างอิง

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์.2548. ทุนทางสังคม.กรุงเทพมหานคร.เดือนตุลา

ทุนสถาบัน (วิชาเอก ทุนทางสังคม)

ทุนสถาบัน
สถาบันครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่สําคัญที่สุด เป็นหน่วยของสังคมที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิด เป็นสถาบันที่มีความคงทนที่สุด และยังไม่เคยปรากฏว่าสังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ เพราะมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู ในสถาบันนี้ เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่เราจะต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดเติบโตในครอบครัว ครอบครัวจะให้ตําแหน่ง ชื่อและสกุล ซึ่งเป็นเครื่องบอกสถานภาพ และบทบาทในสังคมที่เรามีส่วนร่วมด้วย ตลอดจนกําหนดสิทธิและหน้าที่ที่สมาชิกมีต่อกันและต่อสังคม ซึ่งสถาบันครอบครัวมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. สร้างสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม ด้วยการให้กําเนิดบุตร ทําให้สังคมสามารถดํารงอยู่และสืบต่อไปได้อย่างมั่นคงถาวร
2. ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในสังคมให้เหมาะสม ในรูปของการสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของแต่ละฝ่าย คือ สามี – ภรรยาตามที่สังคมกําหนด ทําให้ปัญหาทางเพศในสังคมลดลง
3. เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ของสังคม คือ บุตรของตนให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆและเจริญเติบโตอย่างงมีคุณภาพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
4. การให้ความรัก ความอบอุ่น ความหวังและกําลังใจให้แก่สมาชิก ทําให้สมาชิกมีขวัญกําลังใจ และมีความมั่นคงทางจิตใจ ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
5. การขัดเกลาทางสังคม โดยการอบรมสั่งสอนให้บุตรปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
สถาบันศาสนา
สถาบันศาสนา หมายถึง แบบแผนของความคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับ จิตใจ ความเชื่อทางสังคม ทางศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประการ คือ ความเชื่อ การแสดงออก ความรู้สึกทางอารมณ์ และหน้าที่ของสถาบันทางศาสนานั้น มีทั้งสนองความต้องการเฉพาะบุคคลและต่อสังคม หน้าที่ของศาสนาที่มีต่อเฉพาะบุคคล เน้นที่ให้ความมั่นคงในชีวิตและมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
1.  เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจและนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี อันจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย
2.  ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากความกลัวและปลอดจากความวิตกกังวล
3.  ให้พลังใจ เพราะเชื่อว่า มีสิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดกิจกรรมทั้งปวง ทำให้มีโอกาสเอาชนะความลำบาก อุปสรรคต่าง ๆ ได้
4.  เป็นปัจจัยช่วยให้คนจัดระเบียบชีวิตและมีโอกาสประสบความสำเร็จและความสุขสูงสุดได้

สถาบันการศึกษา
            สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และฝึกทักษะอาชีพ เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
            1. อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม สอนให้สมาชิกในสังคมได้พัฒนาบุคลิกภาพ มีกิริยามรรยาท มีจริยธรรม คุณธรรม เคารพในสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
            2. อบรมให้สมาชิกได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตเพื่อเพิ่ม ผลผลิตในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบริการ นอกจากสอนให้ผู้คนได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพแล้ว สถาบันการศึกษายังมีหน้าที่ในการพัฒนาอาชีพ ริเริ่มสร้างสรรค์อาชีพ เพื่อผลผลิตใหม่ที่จะสนองความต้องการของสังคม
3. จัดสรรตำแหน่งและกำหนดหน้าที่การงานให้แก่บุคคล เพื่อบุคคลได้เรียนรู้ในอาชีพใด มีความสามารถในทางใด ก็จะไปทำงานในอาชีพนั้น
4. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสังคม เมื่อการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้น ก่อให้เกิดความรู้ แนวคิด เทคนิคใหม่ ๆ การค้นพบต่าง ๆ ทำให้เกิดการประดิษฐ์สิ่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ และมีการพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผลจากการศึกษาอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผน วัฒนธรรมเดียวกัน ยิ่งถ้ามีการใช้ภาษาเดียวกันในการติดต่อสื่อสาร จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันกันดีขึ้น
สถาบันเศรษฐกิจ
สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการของบุคคลในสังคมทั้งในด้านสิ่งบริโภคและอุปโภค ในสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีระเบียบแบบแผนในการผลิต การจำหน่ายการบริโภคอุปโภคที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสังคม เช่น สังคมที่มีประชากรมากและมีทรัพยากรจำกัด อาจต้องใช้วิธีการแบ่งปันทรัพยากรกันกินและใช้ ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.       ผลิตสินค้าละบริการต่างๆแก่สมาชิกในสังคม
2.       สร้างงานและสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในสังคม

ทุนวัฒนธรรม
            ชาวบ้านหนองคูรักษาประเพณีวัฒนธรรมตามฮีตสิบสองคลองสิบสี่
            ฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสอง ฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงาม ชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสองในหนึ่งปี
คองสิบสี่ หมายถึง ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกันของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองพระสงฆ์และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของบ้านเมือง
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานที่ดำรงชีพอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แห้งแล้งกันดารนั้น ในความเชื่อต่อการดำเนินชีวิตที่มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นแก่ครอบครัวและบ้านเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรม มีการเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และร่วม ทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาด้วยทุกๆเดือนในรอบปีนั้นมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีพื้นเมืองกันเป็นประจำ จึงได้ถือเป็นประเพณี 12 เดือนเรียกกันว่า ฮีตสิบสอง ถือกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อการดำรงชีวิต ชาวอีสานจึงมีงานบุญพื้นบ้านมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีงานประเพณีพื้นบ้านมากที่สุดในประเทศ   ฮีตสิบสองเดือนหรือประเพณีสิบสองเดือนนั้น ชาวอีสานร่วมกันประกอบพิธีนับแต่ต้นปี คือ
เดือนอ้าย หรือเดือนเจียง งานบุญเข้ากรรม มีงานบุญดอกผ้า (นำผ้าห่มหนาวไปถวายสงฆ์) ประเพณี เส็งกลอง ทำลานตี(ลานนวดข้าว)ทำปลาแดก (ทำปลาร้าไว้เป็นอาหาร) เกี่ยวข้าวในนา เล่นว่าว ชักว่าวสนู  นิมนต์พระสงฆ์เข้าประวาสกรรม
ตามประเพณีนั้นมีการทำบุญทางศาสนา เพื่ออนิสงฆ์ทดแทนบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน ผีบรรพบุรุษ มีการตระเตรียมเก็บสะสมข้าวปลาอาหารไว้กินในยามแล้ง
เดือนยี่ งานบุญคูนลาน ทำบุญที่วัด พระสงฆ์เทศน์เรื่องแม่โพสพ ทำพิธีปลงข้าวในลอมและฟาดข้าวในลาน ขนข้าวเหลือกขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) นับเป็นความเชื่อในการบำรุงขวัญและสิริมงคลทางเกษตรกรรม มีทั้งทำบุญที่วัดและบางครั้งทกบุญที่ลานนวดข้าว เมื่อขนข้าวใส่ยุ้งแล้วมักไปทำบุญที่วัด
เดือนสาม บุญข้าวจี่ มีพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว งานเอิ้นขวัญข้าวหรือกู่ขวัญข้าว เพ็ญเดือนสามทำบุญข้าวจี่ตอนเย็นทำมาฆบูชา ลงเข็นฝ้ายหาหลัวฟืน (ไม้เชื้อเพลิงลำไม้ไผ่ตายหลัว กิ่งไม้แห้ง-ฟืน)
ตามประเพณีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งแล้ว มีการทำบุญเซ่นสรวงบูชาเจ้าที่นา ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าตาแฮก และทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้ผีปู่ย่าตายาย อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยการทำข้าวจี่(ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนสอดไส้น้ำตาลหรือน้ำอ้อยชุบไข่ปิ้งจนเหลือง) นำไปถวายพระพร้อมอาหารคาวหวานอื่นๆ
เดือนสี่ บุญพระเวส (อ่านออกเสียงพระ-เหวด) มีงานบุญพระเวส (ฟังเทศน์มหาชาติ) แห่พระอุปคุตตั้งศาลเพียงตา ทำบุญแจกข้าวอุทิศให้ผู้ตาย (บุญเปตพลี) ประเพณีเทศน์มหาชาติเหมือนกับประเพณีภาคอื่นๆ ด้วย เป็นงานบุญทางพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติทำบุญถวายภัตตาหารแล้วตอนบ่ายฟังเทศน์ เรื่องเวสสันดรชาดก ตามประเพณีวัดติดต่อกัน 2-3 วันแล้วแต่กำหนดในช่วงที่จัดงานมีการแห่พระอุปคุตเพื่อขอให้บันดาลให้ฝนตกด้วย
เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือเทศกาลสงกรานต์ ชาวอีสานเรียกกันว่า สังขานต์
ตามประเพณีจัดงานสงกรานต์นั้น บางแห่งจัดกัน 3 วัน บางแห่ง 7 วัน แล้วแต่กำหนดมีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพลตลอดเทศกาล ตอนบ่ายมีสรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ผู้เฒ่าก่อเจดีย์ทราย

เดือนหก บุญบั้งไฟ บางแห่งเรียก บุญวิสาขบูชา มีงานบุญบั้งไฟ (บุญขอฝน) บุญวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก
เกือบตลอดเดือนหกนี้ ชาวอีสานจัดงานบุญบั้งไฟ จัดวันใดแล้วแต่คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดถือเป็นการทำบุญบูชาแถน (เทวดา) เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารในปีต่อไปครั้นวันเพ็ญหก เป็นงานบุญวิสาขบูชาประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา มีการทำบุญฟังเทศน์และเวียนเทียนเพื่อผลแห่งอานิสงส์ในภพหน้า
เดือนเจ็ด บุญชำฮะ มีพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค
คติความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางงอกงาม บ้านที่กุลบุตรมีงานอุปสบททดแทนบุญคุณบิดามารดาและเตรียมเข้ากรรมในพรรษา
เดือนแปด งานบุญเข้าพรรษา มีพิธีหล่อเทียนพรรษางานบุญเทศกาลเข้าพรรษา
แต่ละหมู่บ้านช่วยกันหล่อเทียนพรรษา ประดับให้สวยงาม จัดขบวนแห่เพื่อนนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการทำบุญถวายภัตตหาร เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน เพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช้ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน จัดงานวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 นับแต่เช้ามืด ชาวบ้านจัดอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ใส่กระทงเล็กๆ นำไปวางไว้ตามลานบ้าน ใต้ต้นไม้ ข้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นการให้ทานแก่เปรตหรือวิญญาณที่ตกทุกข์ได้ยากตอนสายมีการทำบุญที่วัด ฟังเทศน์เป็นอานิสงส์
เดือนสิบ บุญข้าวสาก ข้าวสากหมายถึงการกวนกระยาสารท คล้ายงานบุญสลากภัตในภาคกลาง จัดงานวันเพ็ญเดือน 10 นำสำรับคาวหวานพร้อมกับข้าวสาก(กระยาสารท) ไปทำบุญที่วัดถวายผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องไทยทาน แต่ก่อนที่จะถวายนั้นจะทำสลากติดไว้ พระสงฆ์องค์ใดจับสลากใดได้ก็รับถวายจากเจ้าของสำรับนั้น ตอนบ่ายฟังเทศน์เป็นอานิสงส์
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา มีพิธีถวายผ้าห่มหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ พิธีลอยเรือไฟ
นับเป็นช่วงที่จัดงานใหญ่กันเกือบตลอดเดือน นับแต่วันเพ็ญ มีการถวายผ้าห่มหนาวแต่พระพุทธพระสงฆ์ วันแรม 1 ค่ำ งานบุญตักบาตรเทโว ตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ มีพิธีกวนข้าวทิพย์ มีงานช่วงเฮือ (แข่งเรือ) ในวันเพ็ญมีงานแห่ปราสาทผึ้ง พิธีลอย เฮือไฟ (ไหลเรือไฟ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีทั้งงานบุญกุศลและสนุกสนานรื่นเริง
เดือนสิบสอง บุญกฐิน ทำบุญข้าวเม่าพิธีถวายกฐินเมื่อถึงวันเพ็ญจัดทำข้าวเม่า(ข้าวใหม่)นำไปถวายพระ พร้อมสำรับคาวหวานขึ้นตอนบ่ายฟ้งเทศน์เป็นอานิสงส์จัด พิธีทอดกฐินตามวัดที่ จองกฐินไว้ งานบุญในฮีตสิบสองนั้น ตามหมู่ที่เคร่งประเพณียังคงจัดกันอย่างครบถ้วน

คลองสิบสี่
คลองสิบสี่ หมายถึง ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง คลองสิบสี่มีหลายแบบหลายประเภท พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
คองสิบสี่แบบที่ 1 - กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวในสังคมตลอดจนผู้มี่หน้าที่ปกครองบ้านเมือง  
คองสิบสี่แบบที่ 2 - กล่าวถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกคลองบ้านเมือง และข้อ ที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์ และจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบสุข
คองสิบสี่แบบที่ 3 - กล่าวถึงธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติ และเน้นหนักให้ประชาชนปฏิบัติตาม จารีตประเพณี และข้อที่คนในครอบครัวพึงปฏิบัติต่อกัน
คองสิบสี่แบบที่ 4 - กล่าวถึงไปแนวทางฮีตบ้านคลองเมือง คือการดำเนินการปกครองบ้านเมืองเพื่อ ให้บ้านเมืองอยู่เป็นสุขและปฏิบัติตามประเพณี
คองสิบสี่สำหรับพระสงฆ์  
คองสิบสี่สำหรับนักปกครอง  
คองสิบสี่สำหรับประชาชน
คลอง (ครรลอง) คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า "Way of life" แต่คลองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" หรือว่า "เฮ็ดให้ถือฮีตถือคอง" เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตร มีคำฮีตนำหน้าด้วย คือ
ฮีตเจ้าคลองขุน
คือแบบแผน คำสอน ที่ผู้ปกครองระดับสูงพึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุข ปกครองด้วยความเท่าเทียมกันทุกคน มีความเสมอภาค
ฮีตท้างคลองเพีย
คือเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ปกครองปล่อยปะละเลยห่างจากทศธรรม ทำให้ประชาชนละเลยศีลธรรมปัญหาจึงเกิด
ฮีตไพร่คลองนาย
คือผู้ปกครองอย่าอวดอ้าง อย่าลืมตัว เจ้านายจะดีคนเดียวไม่ได้ ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เป็นใหญ่แล้วให้รักผู้น้อยและใครทำดี ได้ดีก็ให้เคารพ
ฮีตบ้านคลองเมือง
คือ มุ่งให้ทุกคนรู้จักอีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อทุกคนได้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีความ สุขและผู้ปกครองต้องมีใจเป็นธรรมและกล้าหาญ
ฮีตผัวคลองเมีย
มุ่งให้สามีภรรยาปฏิบัติดีต่อกัน
ฮีตพ่อคลองเมีย
มุ่งสอนพ่อแม่ให้อบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกทาง
ฮีตลูกคลองหลาน
สอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มีความยำเกรงต่อผู้ใหญ
ฮีตใภ้คลองเขย
มุ่งสอนลูกสะใภ้และลูกเขยให้ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ยายปู่ย่าตายายให้ถูกต้องตามคลองธรรม
ฮีตป้าคลองลุง
สอนให้ป้าลุงปฏิบัติต่อกันญาติพี่น้องให้ดี
ฮีตปู่คลองย่า
ฮีตตาคลองยาย สอนให้ปู่ยาตายายปฏิบัติเป็นปูชนียบุคคลที่ดี
ฮีตเฒ่าคลองแก่
มุ่งสอนคนแก่ทั่วไป
ฮีตปีคลองเดือน
สอนชาวอีสานรักษาฮีตสิบสองคลองสิบสี่
ฮีตไฮ่คลองนา
มุ่งสอนให้ชาวนารู้จักรักษาดูแลไร่นา
ฮีตวัดคลองสงฆ์
มุ่งสอนให้ปฏิบัติ วัตรฐาก ดูแลวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์

สรุปฮีตสิบสองคลองสิบสี่

            ฮีตสิบสอง คือประเพณี 12 เดือนของชาวอีสานที่ต่างจากประเพณี 12 เดือนของภาคอื่นหลายประเพณี คลองสิบสี่ คือแนววิถีที่ควรที่ต้องปฏิบัติ 14 ประการ เปรียบได้ว่าเป็นกฎหมายที่ต้องทำ ตามอย่างเข้มงวดซึ่งมีทั้งพิธีของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ พระภิกษุสงฆ์และประชาชนทั่วไป